ผู้ประกอบการสั่นคลอนอีกครั้ง ถ้าโอมิครอนระบาดหนักอีก ภาครัฐจะเยียวยาหรือไม่

5 ม.ค. 65 16:43 น. / ดู 2,181 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ขอบคุณรูปประกอบจากเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

"โอมิครอน" เริ่มลามไปทั่วโลกกระทบเศรษฐกิจอีกครั้ง รวมถึงกระทบการท่องเที่ยวของไทย ที่เปิดประเทศมาได้เพียง 2 เดือน ความหวังเริ่มสั่นคลอนเหลือเพียงทางออกเดียวเท่านั้น คือภาครัฐต้องเป็นเรือช่วยชีพ เยียวยาผู้ประกอบการอย่างจริงจัง พาผู้ประกอบการฝ่ามรสุม ที่ธุรกิจอยู่ได้ภายใต้สภาวะเช่นนี้ เพื่อยืดระยะรอวันที่ท่องเที่ยวกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง
เหตุที่ต้องบอกว่าจริงจังก็เป็นเพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังไม่เคยได้รับการเยียวยาที่เป็นเม็ดเป็นหน่วยเลย พวกเขาควรได้รับ และสมควรได้รับเป็นอย่างยิ่งโดยไม่เกี่ยงกับขนาดธุรกิจ จะเล็กใหญ่ อยู่เมืองหลักหรือเมืองรอง ทุกคนควรได้รับเท่ากัน

สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลมาตลอดก็คือสถานการณ์การระบาดของโควิด ที่จะมาอีกกี่ระรอกก็ยังมิอาจทราบได้ และคาดเดาไม่ได้ ภายใต้ความไม่แน่นอนนี้ คนทำมาค้าขายวิตกเป็นอย่างมากครับ จาก 2 ปีที่ผ่านมากว่าจะเปิดประเทศได้เมื่อ 2 เดือนที่แล้วก็เลือดตาแทบกระเด็น กระทบหมดครับ เล็ก กลาง ใหญ่


ขอบคุณรูปประกอบจากเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวที่เราไม่ควรจะได้เห็นก็เห็น ไม่คิดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้น ตัวอย่างของเคสสายการบินก่อนหน้านี้ก็มีข่าวออกมาให้เห็นภาพความย่ำแย่แบบชัดอยู่  และเหมือนจะตอกย้ำความชัดเจนขึ้นไปอีก กับผลกระทบที่ธุรกิจขนาดใหญ่อย่างไมเนอร์ (MINT) เอง ก็ยังเจอตัวเลขการขาดทุนมาแล้ว 2 ปี และแก้ปัญหาด้วยการขายหุ้นบริษัทย่อย 40% เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และลดหนี้  โดยธุรกิจกลุ่มไมเนอร์จะมีธุรกิจที่เกี่ยวกับโรงแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงจำหน่ายและผลิตสินค้าต่างๆ  ซึ่งแน่นอนได้รับผลกระทบจากโควิดไปเต็มๆ ขนาดไม่ใช่ธุรกิจกลุ่มแรกที่ถูกปิด เหมือนสนามบิน ร้านขายของในสนามบิน ยังหนักขนาดนี้ ลองคืนย้อนกลับไปสิครับ คนที่เขาโดนกระทบแรกๆ ป่านนี้สภาพจะเป็นอย่างไร

อีกข่าวหนึ่งที่ผมได้นั่งอ่านข่าวของไทยรัฐ ที่เป็นความเห็นของ "ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข" ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผมขอเล่าย่อๆ แล้วกัน ว่ามุมมองของ ผศ.ดร. สันติ ได้มองว่า "หากโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ระบาดในไทยจะเกิดผลกระทบแน่นอนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการคาดหวังกับการท่องเที่ยวมากเกินไป ซึ่งต่อให้ไม่มีประเด็นโควิดสายพันธุ์นี้ ยังมองไม่เห็นจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก
โอมิครอน ยิ่งทำให้เกิดการระแวงในการเดินทาง สถานการณ์ไม่แน่นอนว่าจะระบาดหรือไม่ หากระบาดจริงๆ จะใช้มาตรการแบบเดิมไม่ได้แล้ว และการที่เศรษฐกิจโตก็เกิดจากเงินของรัฐเข้ามาในระบบเป็นล้านๆ มีแนวโน้มต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น ส่วนการขยายเพดานหนี้จาก 30% เป็น 35% ในงบประมาณรายปี

ในกรณีเลวร้ายหากโอมิครอน เข้ามาในไทย จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าไปอีก และช้ากว่าคนอื่น หากคุมโอมิครอนไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะไทย จะทำให้เปิดประเทศไม่ได้ 100% และคนไม่อยู่ในอารมณ์ในการท่องเที่ยว
เมื่อคนกังวลไม่เดินทางยิ่งทำให้ไทยรับผลกระทบ เพราะรอแต่ให้คนเดินทางเข้ามา เมื่อคนไม่เข้ามาจะทำให้คนจนเพิ่มมากขึ้น และรัฐจะทนไหวหรือไม่ ในการแจกเงินต่อไป ทั้งโครงการคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกัน ต้องใช้เงินเพิ่มเติมลงไปอีก และจากที่กู้ไป 5 แสนล้าน ไม่ได้รวมอยู่ในนี้ เพราะต้องไปช่วยเอสเอ็มอี แต่หากเจอปัญหาไปต่อไม่ไหว กลายเป็นว่าเติมเงินเท่าไรก็ไม่พอ"
ดังนั้นรัฐต้องวางแผนการใช้เงินที่กู้มาดีดี โดยความรอบคอบ และเน้นความยั่งยืน เมื่อจะนำเงินเข้าระบบจะต้องได้รับการเยียวยากันแบบถ้วนหน้าและเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ใช่การเอาเบตาดีนทาที่เนื้องอก นอกจากไม่หายและยังไม่เกิดประโยชน์ในระยะยาวด้วยซ้ำ
ผู้ประกอบการทุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเพื่อควบคุมดูแลการระบาด สมควรได้รับการเยียวยาและดูแลจากภาครัฐอย่างเหมาะสมครับ จะรอดตายได้ถ้าทุกองคาพยบขับเคลื่อนอย่างมั่นคงไปพร้อมๆ กัน

https://pantip.com/topic/41187687

#ผู้ประกอบการ
#ทางรอด
#โอมิครอน
#โอไมครอน
#กลุ่มการท่องเที่ยว
#กลุ่มไมเนอร์
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 7 ม.ค. 65 23:52 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | who369 | 9 ม.ค. 65 21:09 น.

ที่โดนผลกระทบ เคสแรกก็สายการบิน  เคสสองก็ธุรกิจโรงแรม ส่วนใหญ่ก็อยู่ในธุรกิจ ที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยว  รัฐต้องเร่งออกมาตราการพยุงธุรกิจกลุ่มนี้โดยเร็ว อะไรทำได้ทำก่อน
เลย

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google