พลังงานสะอาดความหวังสุดท้ายก่อนที่จะสายไป

28 ก.พ. 65 15:00 น. / ดู 4,075 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ปัจจุบันภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นปัญหาสำคัญที่ประชากรทั่วโลกให้ความสนใจและหันมาใส่ใจมากยิ่งขึ้น ทุกประเทศมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการลดคาร์บอนให้กลายเป็นศูนย์ สาเหตุส่วนใหญ่ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ การใช้ทรัพยากรและการผลิตพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงฟอสซิล และถ่านหิน ยิ่งประเทศใดที่มีประชากรเยอะ ความต้องการในสิ่งนี้ก็จะเยอะตาม การผลิตก็ย่อมมากขึ้นและเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และผลพวงที่ได้คือเกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า พายุ
ด้วยเหตุนี้ทำให้ในต่างประเทศ หันมาใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาด (Clean Energy) เป็นพลังงานหลัก ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น เพราะไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าอีกด้วย มาดูกันว่าประเทศไหนบ้างที่เริ่มใช้กันแล้ว…
ประเทศสวีเดน ประเทศที่มีพลังงานมาจากพลังงานหมุนเวียน 54% โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี ค.ศ.2040 และเป็นประเทศแรกในโลกที่จะเลิกใช้น้ำมันให้ได้ภายในปี 2020 รัฐบาลสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในประเทศ ลดการใช้น้ำมันหรือพลังงานถ่านหินลง  เช่น ลดภาษีรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ละเว้นค่าบริการทางด่วนให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ชนิดนี้ อีกทั้งรัฐบาลอัดงบประมาณเพิ่มให้รถไฟฟ้าและรถเมล์ในเมืองมากยิ่งขึ้น (เพื่อให้ประชาชนหันมาโดยสารแทนการใช้รถยนต์)

ประเทศเดนมาร์กผู้นำด้านพลังงานสะอาด ตั้งเป้าสู่การเป็นประเทศพลังานสะอาด 100% ภายในปี ค.ศ.2050 เนื่องจากเป็นประเทศที่ติดชายฝั่งทะเล มีลมพัดแรงตลอดปี ทำให้เหมาะแก่การติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และเหลือใช้จนต้องขายให้กับประเทศข้างเคียง อย่างนอร์เวย์ เยอรมันนี เป็นต้น รัฐบาลสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับพลังลมมาตั้งแต่ปลายศตรรษที่ 1970 และมีการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนเรื่องของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้ประชาชนในประเทศหันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น เดนมาร์ดจึงกลายเป็นเหมือนต้นแบบให้ประเทศรอบข้างว่าพลังงานลม สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จริง และเพียงพอต่อความต้องการของประชากรอีกด้วย

ประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกากับการผลักดันระบบ Net Metering คือ มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโซล่าห์รูฟท็อป โดยการหักลบกลบหน่วยอัติโนมัตจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เอง (โซลาห์เซลล์บนหลังคา) กับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า โดยผู้อาศัยจะชำระค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้วเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ถูกนำมาใช้ใน 41 รัฐ 4 พื้นที่ ประกอบด้วย กรุงวอชิงตัน ดีซี มอนทานา โคโลราโด แคลิฟอเนียร์ เป็นต้น แต่ละรัฐจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป โดยปัจจุบันประชากรในประเทศนี้มีการติดตั้งโซล่าห์รูฟท็อปกว่า 1.4 ล้านหลังคาเรื่อย และมีกำลังผลิตรวมกว่า 40,000 เมกะวัตต์
ในประเทศไทย มีการนำพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกมาใช้เช่นเดียวกัน หากรัฐสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้แก่ประชาชน เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยเลยที่หันมาใช้พลังงานทดแทน เพราะนอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#2 | Yvonne | 1 มี.ค. 65 15:42 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google