พาส่องแนวคิด 3 ผู้บริหารแบรนด์ดัง ที่นำเอกลักษณ์ความเป็นไทยมายกระดับสินค้า
20 มี.ค. 65 22:51 น. /
ดู 12,138 ครั้ง /
2 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์
จากเนื้อหาบทความบนเว็บไซต์ The MOMENTUM ได้บอกถึงเนื้อหาแนวคิดการนำสินค้าไทยไปคิด วิเคราะห์ ดีไซน์ แล้วนำไปขายในช่องทางที่สร้างจุดสนใจกับชาวต่างชาติได้ เลยอยากนำมาให้อ่านกันถึงแนวคิดริเริ่มเป็นแบบไหนและน่าสนใจยังไง
โดยเริ่มความคิดทีว่า 'คนไทย เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก'
นิยามข้างต้นอาจฟังดูคล้ายไกลเกินเอื้อม แต่หากมองถึงความเป็นจริง ณ ปัจจุบันนี้แล้ว แทบจะไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป เมื่อคนไทยสามารถทลายขีดจำกัดต่างๆ จนก้าวไปสู่จุดที่ได้รับการยอมรับและเปล่งประกายเฉิดฉายบนเวทีระดับโลก เช่นเดียวกับ 'King Power' ที่ยึดถือนิยามนั้นเช่นกัน พร้อมลงมือผลักดันเหล่าคนไทยผู้มีศักยภาพทั้ง ด้านกีฬา (Sport Power) ด้านดนตรี (Music Power) และ ด้านชุมชน (Community Power) ภายใต้โครงการ 'KING POWER THAI POWER พลังคนไทย' คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย
และสำหรับในปีนี้ที่เป็นย่างก้าวสู่ปีที่ 6 ของโครงการ KING POWER THAI POWER พลังคนไทย ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขายังคงพร้อมให้การสนับสนุนคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฟากฝั่งธุรกิจที่ดูแล้วมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมีหลากหลายแบรนด์สินค้าที่หยิบจับเอาเอกลักษณ์ความเป็นไทยใส่ลงไปในตัวผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า ชนิดที่เรียกได้ว่ามาตรฐานเกินกว่าแค่เป็นสินค้า OTOP อาทิ THANIYA1988 แบรนด์เครื่องเบญจรงค์ที่จับคู่กับเทียนหอมได้อย่างลงตัว, ETHNICA แบรนด์กระเป๋าสไตล์ New-Boho โดยฝีมือชุมชนชาวกะเหรี่ยง, และ Horoscarf แบรนด์ผ้าพันคอ 12 นักษัตร เอาใจสายมูเตลู
The Momentum จับมือกับโครงการ KING POWER THAI POWER พลังคนไทย ชวนผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ ฐาณิญา เจนธุระกิจ, ชัยวัฒน์ เดชเกิด, และ ดร. ณัฐธิดา ภู่จีบ 3 ผู้บริหารแบรนด์ไทยดังกล่าว ถึงที่มาที่ไปและแนวคิดในการพาผลิตภัณฑ์ให้โด่งดังไปสู่เวทีระดับโลก

เผยเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านเครื่องเบญจรงค์ พร้อมสูดกลิ่นหอมจากเทียนไปกับแบรนด์ THANIYA1988
ถ้าจะยกตัวอย่างความสำเร็จของแบรนด์ 'THANIYA1988' ว่าถึงขั้นไหน คงต้องขอหยิบยกตัวอย่างเมื่อปี 2562 ที่ผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์และเทียนหอมจากแบรนด์ดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นของขวัญแด่แขกผู้มีเกียรติในงานแฟชั่นโชว์ CHANEL Cruise 2019 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และแฟชั่นวีกของ Louis Vuitton ที่มิลานและเซี่ยงไฮ้ ด้วยความพิถีพิถันผสมผสานระหว่าง งาน Art x Craft x Contemporary x Oriental x Elegance x Modern ให้เข้ากับความเป็นสากลและความเป็นไทย ตั้งแต่การออกแบบโลโก้โปรดักต์สินค้าที่ใช้ตัวเลขไทยเข้ามาเป็นกิมมิกหลัก จึงไม่น่าแปลกใจหากแบรนด์เครื่องหอมนี้จะดังไปไกลระดับโลก
ขอย้อนความกลับไปเมื่อปี 2555 ก่อนแบรนด์ THANIYA1988 จะถือกำเนิด 'แม็ทช์' ฐาณิญา เจนธุระกิจ ผู้ก่อตั้ง เพิ่งจะเรียนจบจาก University of Warwick ประเทศอังกฤษหมาดๆ และมุ่งหน้ากลับมายังบ้านเกิด ด้วยความตั้งใจอยากกลับมาสานต่องานกิจการของครอบครัว ที่ทำกิจการเครื่องหอม (OEM) อยู่ก่อนหน้าแล้ว โดยใช้วิชาความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้มา และมีอยู่แล้วจากการเรียนปริญญาโทวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทว่านั่นไม่ใช่แค่การสานต่อธรรมดา เพราะเธอต้องการสร้างแบรนด์ให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
"จริงๆ เราซึมซับงานหัตถกรรมมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นพี่ๆ ที่โรงงาน เห็นคุณแม่ทำมา ตัวแม็ทช์เองเรียนสายวิศวะ แต่ชอบด้านศิลปะ ชอบความเป็นไทย ก็เลยคิดว่าอยากทำแบรนด์ เพราะเรามีศักยภาพ มีทีมงานที่พร้อม มีองค์ความรู้ด้านเครื่องหอมมาพอสมควร เราน่าจะทำแบรนด์ของตัวเองที่นำความเป็นไทย งานคราฟต์ งานอาร์ตมาบวกกัน จนมาเป็นสินค้าที่คนไทยและคนต่างประเทศยอมรับ"

ฐาณิญายังเล่าต่ออีกว่า ช่วงแรกที่กลับมาดูแลงานกิจการที่บ้าน นอกจากการลงมือทำเทียนแก้วและน้ำมันอโรมา เธอยังสังเกตเห็นว่า 'เซรามิก' เองก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรังสรรค์สืบต่อมาตั้งแต่รุ่นคุณยาย เธอจึงเดินหน้าศึกษาเรื่องของประวัติการทำเซรามิก ซึ่งดั้งเดิมแล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ก่อนจะตัดสินใจนำมาฟิวชันกับการทำเทียนหอม แตกไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งกิจการของครอบครัวที่มีชื่อว่า THANIYA1988
เมื่อไอเดียที่จะนำ 'เครื่องแก้วเซรามิก' กับ 'เทียนหอม' มาบรรจบกัน ฐาณิญาจึงเริ่มวางแผนขั้นตอนการสร้างแบรนด์ใหม่ของเธอ ตั้งแต่เรื่องหน้าร้านจนถึงเรื่องของการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ วางช่องทางสื่อสารกับลูกค้า โดยยึดหัวใจสำคัญคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นต้องใส่ใจทำด้วยมือ ไม่ว่าจะเป็นตัวเซรามิกที่ค่อยๆ บรรจงขึ้นรูป วาดลวดลาย และเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำเทียนแบบแฮนด์เมด โดยนำภูมิปัญญาและอัตลักษณ์พิเศษของไทยมาผสมผสานต่อยอดพัฒนา
"เราหยิบเอาลูกเล่นและเอกลักษณ์ของเครื่องลายครามที่ประเทศไทยมีมาช้านาน อย่างการเขียนสีฟ้าครามลงบนเครื่องแก้วก่อนเคลือบสีขาว มาออกแบบฟิวชันกับดีไซน์สมัยใหม่ โดยลดทอนลวดลายและลายเส้นประเพณีออกบ้าง เมื่อผนวกกับตัวรูปทรงเรขาคณิตของเครื่องแก้ว จะก่อให้เกิดลวดลายที่เป็นรูปแบบ Modern Contemporary ที่เข้ากับเทรนด์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มากขึ้น" ฐาณิญากล่าวถึงการนำเทคนิควาดเครื่องลายคราม สีฟ้าคราม-ขาว ที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีต มาปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าไม่ใช่แค่สีฟ้าครามและเบญจรงค์ เครื่องแก้วของแบรนด์ THANIYA1988 ยังหยิบเอาสีเขียวและดำ มาสลับเข้าคู่กับสีขาวแทนสีฟ้าครามเพื่อสร้างความดุดันสวยงาม และเมื่อมองภาพรวมกับลวดลายที่เกิดจากการวาดของช่างฝีมืออย่างประณีต เช่น ลายพญานาคหรือกระติ๊บข้าวเหนียว ที่มีความหมายอันดีและสื่อถึงความเป็นไทย ย่อมทำให้สัมผัสถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของตัวงานได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนั้นเธอยังพยายามตีโจทย์ความเป็น Luxury ด้วยการหยิบบริบทของยุคแกสบี้ ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของยุโรป รวมถึงลายพู่กันจีนมาใช้ในงาน เพื่อสร้างแรงดึงดูดความสนใจแก่ชาวต่างชาติทั้งยุโรปและเอเชีย

อีกหนึ่งจุดเด่นอย่างเทียนหอมเอง ก็ถูกหล่อหลอมด้วยความประณีตเช่นกัน โดยนอกจากการใช้กลิ่นจากดอกไม้และสมุนไพรไทย ยังมีการใช้วัตถุดิบอื่นๆ อีก เช่น ไขถั่วเหลือง ข้าวหอมมะลิไทย และน้ำมันรำข้าว ซึ่งแบรนด์จะคิดค้นกลิ่นใหม่ๆ ออกวางจำหน่ายทุก 3 เดือน เดือนละ 4-5 กลิ่น และด้วยความพิเศษที่ตัวเทียนทำจากสมุนไพร ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำน้ำตาเทียนที่เหลือมาละลายน้ำเพื่อนวดเพิ่มความชุ่มชื้นแก่สุขภาพผิว แถมเมื่อใช้เทียนจนหมดตลับยังสามารถนำไปล้างทำความสะอาด และเอาไปแลกซื้อกับทางร้านได้ใหม่ในราคาพิเศษ
ปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์และเทียนหอมของแบรนด์ THANIYA1988 โด่งดังและส่งออกไปยังหลายชาติ อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน คิง เพาเวอร์ ยังช่วยสนับสนุนโดยยกมาจำหน่ายที่ศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากมาย และได้รับรางวัล Thailand Top SME Award 2018 สมกับความพยายามอันแน่วแน่ตลอดมา แต่ถึงกระนั้นฐาณิญาก็ยังไม่ลืมที่จะทิ้งท้ายขอบคุณความสำเร็จนี้กับทุกคน ที่มีส่วนร่วมผลักดันให้แบรนด์ไทย ให้ประสบความสำเร็จไปถึงระดับโลก
"แม็ทช์โชคดีที่ครอบครัว และพี่ๆ ทีมงานที่โรงงาน ที่ช่วยซัพพอร์ตและช่วยออกความคิดเห็นเราในทุกๆ อย่าง รวมถึงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีส่วนช่วยพัฒนา แนะนำคอร์สที่ช่วยผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้เรื่องการบัญชีการตลาด และยังได้ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลีและฝรั่งเศสมาช่วยพัฒนาดีไซน์ให้ตอบโจทย์ตลาดยุโรปได้มากยิ่งขึ้น"
ETHNICA แบรนด์กระเป๋าสไตล์ New-Boho จากดินแดนล้านนา ที่เปี่ยมด้วยความตั้งใจทำ

"ต่อให้ใครเลียนแบบจนเหมือน ศิลปะก็ยังคงเป็นของเรา"
ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ แต่กลับสัมผัสได้ถึงคุณค่าความเป็นตัวเองนั้นเป็นคำพูดของ 'ทอม' ชัยวัฒน์ เดชเกิด หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ETHNICA ร่วมกับ ยุจเรศ สมนา และ เขมิยา สิงห์ลอ ที่ถึงแม้ทั้งสามจะจบการศึกษามาในสายที่แทบจะห่างไกลจากคำว่า 'ศิลปะ' มีเพียงยุจเรศเท่านั้นที่จบมากจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่พวกเขากลับมีความสนใจในเรื่องการพัฒนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเหมือนกัน
ย้อนความกลับไปราว 7 ปีก่อนจะมาทำแบรนด์ ETHNICA ชัยวัฒน์ยังง่วนอยู่กับการขายผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา ผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง eBay ก่อนที่ทางพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่จะชวนเขาเข้าไปสอนผู้ประกอบการรายอื่นเรื่องการตลาดออนไลน์สินค้า OTOP แต่การไปครั้งนั้นทำให้เขาตั้งคำถามขึ้นมาได้ว่า จะทำอย่างไรให้ศิลปวัฒนธรรมทางเหนือ 'แมส' หากหยิบนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์ เพราะที่ผ่านมาเขาสวมบทบาทเป็นเพียงพ่อค้าหน้าร้านเท่านั้น
ว่าแล้วชัยวัฒน์จึงไม่รอช้า ตัดสินใจลงมือคิดวางแผน หาข้อมูลศิลปะความเป็นล้านนาจากแต่ละกลุ่มเผ่าชาติพันธ์ุที่ขึ้นชื่อเรื่องการถักทอผ้าพื้นเมือง ก่อนจะค่อยๆ ตัดตัวเลือกว่าจะแปรรูปเป็นอะไรดี จนมาลงเอยที่ 'กระเป๋าผ้า' ซึ่งจัดการได้ง่ายและไม่ยุ่งยากเท่าการออกแบบเสื้อผ้าที่ต้องมีหลายไซส์หลายขนาด
ถึงตรงนี้ คงคิดว่ากระบวนการทุกอย่างน่าจะราบรื่น แต่พอเอาเข้าจริงชัยวัฒน์กลับต้องประสบปัญหาหลายอย่างระหว่างทาง ตั้งแต่เรื่องแรงงานฝีมือชาวกะเหรี่ยงมีไม่มากพอ ส่วนใหญ่ที่เหลือในหมู่บ้านคือแรงงานระดับอาวุโส เพราะรุ่นลูกที่เรี่ยวแรงกำลังดีกลับมุ่งหน้าเข้ากรุงเพื่อทำงานตามนิคมอุตสาหกรรม ปัญหาต่อมาคือสเปกผลผลิต ที่เมื่อทอออกมาลายผ้าอาจผิดเพี้ยนไปบ้างจากสเปก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเท่าการสร้างความเชื่อใจกับแหล่งผลิตว่าจะไม่ยกเลิกสัญญาจ้างง่ายๆ เหมือนกับที่พวกเขาเคยโดนนายจ้างรายอื่นๆ ทำมาก่อน ส่วนเรื่องงาน ถ้าร่วมมือกันย่อมออกมาดีแน่
"ชาวกะเหรี่ยงจะถนัดการทอผ้าแบบใช้กี่เอว แต่ละคนก็จะชำนาญไปคนละแบบ เนื่องจากเขาทอผ้าเพื่อทำชุดใส่เอง ก็เลยใช้ท่อนแขนวัดหน้ากว้างของผ้า ซึ่งจะพอดีกับแบบเสื้อที่เขาใส่ ไม่มีการนับการวัดอะไรชัดเจน ผมก็นำประสบการณ์จากการเป็น Process engineer ดูแลการผลิตมาปรับใช้กับงาน ต้องเปลี่ยนวิถีให้เป็นวิธี ต้องมีการชั่ง ตวง วัดอย่างมีมาตรฐาน ถึงจะขยายงานได้
"วิถีชาวกะเหรี่ยงทอผ้าด้วยวิธีคล้ายกัน แต่ไม่นับเส้นพุ่ง ไม่วัดขนาดหน้าผ้าเป็นระบบ ทอมาจากสามบ้านก็ได้มาสามขนาด แล้วแต่ว่าบ้านไหนแขนยาวเท่าไร ก็ทำการตกลงกันปรับวิธีวัดขนาด กำหนดจำนวนเส้นด้าย เพื่อเวลาไปสั่งทอที่หมู่บ้านไหนๆ จะได้ชิ้นงานที่มาตรฐานเดียวกัน บางครั้งยังต้องตัดแผ่นใสเป็นขนาดผ้าไปไว้ให้เขาทาบวัดขนาดกันเลย" ชัยวัฒน์เล่าถึงการทำงานทอผ้ากับคนจากหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง

เป็นเวลา 2 ปี ในการตระเวนเข้าออกหมู่บ้านกะเหรี่ยงทุกๆ สัปดาห์ ชัยวัฒน์ได้เรียนรู้กรรมวิธีการผลิตผ้าจากทั้งเผ่าอาข่า ม้ง และมูเซอ ซึมซับรายละเอียดตั้งแต่การทอ ย้อมสี เย็บกระดุม และปักลวดลายออกมาในสไตล์ นิว-โบโฮ (New-Boho) ขณะเดียวกันก็ต้องหาวัสดุอื่นๆ เช่นซิปกับหนังควบคู่ไปด้วย จนท้ายสุดความพยามยามนั้นได้ผลิดอกออกผลเป็น 'คอลเลกชันกระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์' ราคาใบละ 3,000 บาท โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติแวะเวียนมาอุดหนุน สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ แถมกลายเป็นอาชีพอันมั่นคงแก่ชาวกะเหรี่ยงได้ทำกินตลอดทั้งปี
อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนที่สูงจนเกินไป ทำให้ปีต่อมาแบรนด์ ETHNICA ต้องปรับลดความซับซ้อนของต้นทุนลง เลิกใช้วัสดุหนังในการทำลวดลาย และหันมาใช้การทอทั้งหมด โดยเว้นลวดลายเหลือเฉพาะด้านล่าง ที่เหลือเป็นสีพื้นตามปกติ ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้มีราคาถูกลง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนไทยสามารถจับต้องได้มากกว่าเดิม ทว่าก็ไม่ได้ลดคุณค่าลง เพราะกระเป๋าแต่ละใบทอออกมาแบบแฮนด์เมด จึงมีความพิเศษแบบลิมิเต็ดอิดิชันในตัว ดังนั้นหากใครแวะเวียนผ่านช็อปของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ตามโรงแรม หรือศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี เชื่อว่าน่าจะได้เห็นกระเป๋าทอผ้าของ ETHNICA วางขายอยู่ อีกทั้งล่าสุด ETHNICA ยังพยายามเจาะช่องทางตลาดออนไลน์ช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักอีกด้วย
ปัจจุบัน นอกจากการบริหารธุรกิจแบรนด์ ETHNICA ชัยวัฒน์ยังทำหน้าที่เป็นวิทยากร ครู และที่ปรึกษาให้กับผู้สนใจอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการหยิบเอาศิลปวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาความเป็นไทยใส่ลงไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการอบรมผู้ประกอบการของทาง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการ Lanna Essence Showcase ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีกระบวนการคิด นำอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และยังมีการสอนในสาขาการตลาดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงลงพื้นที่ไปสอนผู้ประกอบการเป็นแบบตัวต่อตัวชนิดไม่มีหมกเม็ด เพราะผลลัพธ์ต่างเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ไทยสู่ตลาดโลก และพิสูจน์ให้เห็นว่าทรัพยากรในบ้านเราต่างมีมูลค่ามากนัก
"มีโอกาสสอนผมก็จะสอน ใครอยากพัฒนาโปรดักต์ อยากรู้ว่าควรจะทำอะไร อยากได้ความรู้ อยากเข้าใจวิธีการทำงานกับชุมชน มาถามได้ อยากได้ที่ติดต่อหาวัตถุดิบ หาแหล่งช่างฝีมือ ก็ถามมาได้ ผมพยายามให้คนอื่นเดินตามมา อยากให้มาเลียนแบบวิธีการทำงานที่ผมไปทดลองมาแล้ว" ชัยวัฒน์ทิ้งท้าย
Horoscarf แบรนด์ผ้าพันคอ 12 นักษัตร เอาใจสายมูเตลู

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องราวความเชื่อโชคลาง หรือที่คนสมัยนี้นิยมเรียกว่า 'มูเตลู' คือ สิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจและเชื่อถือไม่มากก็น้อย เช่นเดียวกับ 'แนท' ดร.ณัฐธิดา ภู่จีบ อาจารย์สอนศิลปะ ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเจ้าของแบรนด์ 'Horoscarf' ผู้หยิบยกหลักความเชื่อโหราศาสตร์เกี่ยวกับปีนักษัตรมาละเลงผ่านปลายพู่กันลงบนผ้าผันคอ จนกลายเป็นงานศิลปะและผลิตภัณฑ์ชั้นยอดที่วางขายอยู่ในศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ท่ามกลางความสนใจจากทั้งคนไทยและต่างชาติ
ดร.แนทเล่าให้เราฟังถึงความตั้งใจด้านสายงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก โดยเธอมุ่งมั่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา (Art Education) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ตอนแรกครอบครัวจะตั้งใจให้ทำงานในสายราชการ หลังจากเรียนจบ ได้เริ่มต้นการเป็นครูสอนศิลปะ ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งควบคู่ไปกับเรียนปริญญาโทด้านการบริหารพร้อมกัน ทว่าชีวิตการทำงานในวัย 35 ปี ของเธอกลับไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เมื่อระบบโครงสร้างวิชาชีพครูไม่เอื้อต่อคนผลิตงานศิลปะ ทำให้สุดท้ายเธอตัดสินใจลาออกมาทำในสิ่งที่ตัวเองหลงรักด้วยการเป็นครีเอทีฟอาร์ต
"เพราะว่าปีต่อไปจะเป็นปีแพะ เราเลยตัดสินใจทำลายผ้าพันคอปีมะแมออกมา ตามคอนเซ็ปต์ที่เราอยากให้มันเป็นผ้าพันคอเสริมดวงด้วย สวยด้วย"
หลังตัดสินใจมุ่งสู่สายงานครีเอทีฟอาร์ต เวลาได้ล่วงเลยถึงปี 2557 ที่ตรงกับปีนักษัตรมะเมีย ขณะเดียวกันยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ผ้าพันคอ Horoscarf เมื่อดร.แนทต้องการหาของขวัญสักชิ้นให้กับญาติผู้ใหญ่และอาจารย์ที่นับถือ ก่อนจะมาลงเอยกับผ้าพันคอที่เธอใช้จินตนาการวาด 'แพะ' สัตว์ประจำปีนักษัตรมะเมียตามปีลงไป แต่ด้วยความบังเอิญที่โรงงานผลิตผ้าพันคอไม่สามารถผลิตได้ปริมาณน้อย ทำให้เธอตัดสินใจนำผ้าพันคอที่เหลือโพสต์ขายลงบนเฟซบุ๊ก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีและขายหมดเพียงแค่สองวัน สุดท้ายเธอจึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ผ้าพันคอ โดยความแตกต่างของเธอกับงานผ้าพันคอเจ้าอื่น คือทุกชิ้นใช้วิธีการวาดแฮนด์เมดอย่างประณีต

อย่างไรก็ดี เธอเผยเพิ่มเติมถึงจุดเริ่มต้นของการนำลายนักกษัตรมาใส่บนผ้าพันคอ Horoscarf ว่าเอาเข้าจริงเธอฉุกคิดได้มาสักพักก่อนจะเริ่มโปรเจ็กต์ลายมะเมียแล้ว
"ไอเดียที่เกิดขึ้น ตอนเราไปแก้ชงแล้วได้รับคำแนะนำให้ใส่สร้อยคอที่เป็นปีฮะกับเรา (ปีนักษัตรที่เกื้อหนุนกับปีเกิด) ตามความเชื่อของคนจีน แต่พอเราซื้อสร้อยเส้นนั้นมาเรากลับไม่หยิบมาใส่เลยเพราะว่ามันไม่แฟชั่น เราเลยฉุกคิดไอเดียว่าถ้ามันจะใส่แก้ชงมันก็ต้องใส่แล้วสวยควบคู่ด้วยสิ เราเลยลงมืออ่านหนังสือหาเคล็ดลับสีมงคลของแต่ละปี โดยทุกอย่างเราอิงตามหลักโหราศาสตร์ ส่วนลายสัตว์อื่นๆ ที่วาด นอกจะเป็นสัตว์มงคล เรายังอิงเรื่องของหลักฮวงจุ้ยทั้งหมด"
ล่าสุดนอกจากออกแบบลาย 12 นักษัตรลงบนผ้าพันคอ ดร.แนทยังมีสินค้าใหม่ เช่น เสื้อคลุม และหน้ากากอนามัยมาวางขาย ซึ่งยังคงยืนยันคอนเซ็ปต์สายมู นับได้ว่าเป็นสินค้ายอดฮิตของชาวต่างชาติที่เข้ามายัง คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี แถมความนิยมยังถึงขั้นส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิงคโปร์ จีน และไต้หวัน
สุดท้ายเรื่องราวของทั้ง 3 แบรนด์ อาจสะท้อนได้เป็นนัยๆ ว่า ความชอบ ความมุ่งมั่น และความเชื่อในสิ่งที่ทำ คือจุดเริ่มต้นที่ส่งไปถึงความสำเร็จในอนาคต ท่ามกลางโลกที่หมุนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความชอบของผู้คนที่มักให้ความสนใจกับการนำสิ่งรอบข้างมาประยุกต์ผสมผสาน ขณะเดียวกันเรื่องของการสนับสนุนชุมชน และส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านแบรนด์ธุรกิจ ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้แก่ประเทศไทยในระดับโลก เฉกเช่นเดียวกับที่ King Power ให้ความตั้งใจเสมอมา รวมถึงทำให้รับรู้ได้ว่า ฝีมือคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ ถ้าตั้งใจ
ขอบคุณเนื้อหาจากเว็บไซต์ THE MOMENTUM : https://themomentum.co/brandedcontent-king-power-thai-power/
นิยามข้างต้นอาจฟังดูคล้ายไกลเกินเอื้อม แต่หากมองถึงความเป็นจริง ณ ปัจจุบันนี้แล้ว แทบจะไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป เมื่อคนไทยสามารถทลายขีดจำกัดต่างๆ จนก้าวไปสู่จุดที่ได้รับการยอมรับและเปล่งประกายเฉิดฉายบนเวทีระดับโลก เช่นเดียวกับ 'King Power' ที่ยึดถือนิยามนั้นเช่นกัน พร้อมลงมือผลักดันเหล่าคนไทยผู้มีศักยภาพทั้ง ด้านกีฬา (Sport Power) ด้านดนตรี (Music Power) และ ด้านชุมชน (Community Power) ภายใต้โครงการ 'KING POWER THAI POWER พลังคนไทย' คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย
และสำหรับในปีนี้ที่เป็นย่างก้าวสู่ปีที่ 6 ของโครงการ KING POWER THAI POWER พลังคนไทย ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขายังคงพร้อมให้การสนับสนุนคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฟากฝั่งธุรกิจที่ดูแล้วมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมีหลากหลายแบรนด์สินค้าที่หยิบจับเอาเอกลักษณ์ความเป็นไทยใส่ลงไปในตัวผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า ชนิดที่เรียกได้ว่ามาตรฐานเกินกว่าแค่เป็นสินค้า OTOP อาทิ THANIYA1988 แบรนด์เครื่องเบญจรงค์ที่จับคู่กับเทียนหอมได้อย่างลงตัว, ETHNICA แบรนด์กระเป๋าสไตล์ New-Boho โดยฝีมือชุมชนชาวกะเหรี่ยง, และ Horoscarf แบรนด์ผ้าพันคอ 12 นักษัตร เอาใจสายมูเตลู
The Momentum จับมือกับโครงการ KING POWER THAI POWER พลังคนไทย ชวนผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ ฐาณิญา เจนธุระกิจ, ชัยวัฒน์ เดชเกิด, และ ดร. ณัฐธิดา ภู่จีบ 3 ผู้บริหารแบรนด์ไทยดังกล่าว ถึงที่มาที่ไปและแนวคิดในการพาผลิตภัณฑ์ให้โด่งดังไปสู่เวทีระดับโลก

เผยเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านเครื่องเบญจรงค์ พร้อมสูดกลิ่นหอมจากเทียนไปกับแบรนด์ THANIYA1988
ถ้าจะยกตัวอย่างความสำเร็จของแบรนด์ 'THANIYA1988' ว่าถึงขั้นไหน คงต้องขอหยิบยกตัวอย่างเมื่อปี 2562 ที่ผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์และเทียนหอมจากแบรนด์ดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นของขวัญแด่แขกผู้มีเกียรติในงานแฟชั่นโชว์ CHANEL Cruise 2019 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และแฟชั่นวีกของ Louis Vuitton ที่มิลานและเซี่ยงไฮ้ ด้วยความพิถีพิถันผสมผสานระหว่าง งาน Art x Craft x Contemporary x Oriental x Elegance x Modern ให้เข้ากับความเป็นสากลและความเป็นไทย ตั้งแต่การออกแบบโลโก้โปรดักต์สินค้าที่ใช้ตัวเลขไทยเข้ามาเป็นกิมมิกหลัก จึงไม่น่าแปลกใจหากแบรนด์เครื่องหอมนี้จะดังไปไกลระดับโลก
ขอย้อนความกลับไปเมื่อปี 2555 ก่อนแบรนด์ THANIYA1988 จะถือกำเนิด 'แม็ทช์' ฐาณิญา เจนธุระกิจ ผู้ก่อตั้ง เพิ่งจะเรียนจบจาก University of Warwick ประเทศอังกฤษหมาดๆ และมุ่งหน้ากลับมายังบ้านเกิด ด้วยความตั้งใจอยากกลับมาสานต่องานกิจการของครอบครัว ที่ทำกิจการเครื่องหอม (OEM) อยู่ก่อนหน้าแล้ว โดยใช้วิชาความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้มา และมีอยู่แล้วจากการเรียนปริญญาโทวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทว่านั่นไม่ใช่แค่การสานต่อธรรมดา เพราะเธอต้องการสร้างแบรนด์ให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
"จริงๆ เราซึมซับงานหัตถกรรมมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นพี่ๆ ที่โรงงาน เห็นคุณแม่ทำมา ตัวแม็ทช์เองเรียนสายวิศวะ แต่ชอบด้านศิลปะ ชอบความเป็นไทย ก็เลยคิดว่าอยากทำแบรนด์ เพราะเรามีศักยภาพ มีทีมงานที่พร้อม มีองค์ความรู้ด้านเครื่องหอมมาพอสมควร เราน่าจะทำแบรนด์ของตัวเองที่นำความเป็นไทย งานคราฟต์ งานอาร์ตมาบวกกัน จนมาเป็นสินค้าที่คนไทยและคนต่างประเทศยอมรับ"

ฐาณิญายังเล่าต่ออีกว่า ช่วงแรกที่กลับมาดูแลงานกิจการที่บ้าน นอกจากการลงมือทำเทียนแก้วและน้ำมันอโรมา เธอยังสังเกตเห็นว่า 'เซรามิก' เองก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรังสรรค์สืบต่อมาตั้งแต่รุ่นคุณยาย เธอจึงเดินหน้าศึกษาเรื่องของประวัติการทำเซรามิก ซึ่งดั้งเดิมแล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ก่อนจะตัดสินใจนำมาฟิวชันกับการทำเทียนหอม แตกไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งกิจการของครอบครัวที่มีชื่อว่า THANIYA1988
เมื่อไอเดียที่จะนำ 'เครื่องแก้วเซรามิก' กับ 'เทียนหอม' มาบรรจบกัน ฐาณิญาจึงเริ่มวางแผนขั้นตอนการสร้างแบรนด์ใหม่ของเธอ ตั้งแต่เรื่องหน้าร้านจนถึงเรื่องของการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ วางช่องทางสื่อสารกับลูกค้า โดยยึดหัวใจสำคัญคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นต้องใส่ใจทำด้วยมือ ไม่ว่าจะเป็นตัวเซรามิกที่ค่อยๆ บรรจงขึ้นรูป วาดลวดลาย และเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำเทียนแบบแฮนด์เมด โดยนำภูมิปัญญาและอัตลักษณ์พิเศษของไทยมาผสมผสานต่อยอดพัฒนา
"เราหยิบเอาลูกเล่นและเอกลักษณ์ของเครื่องลายครามที่ประเทศไทยมีมาช้านาน อย่างการเขียนสีฟ้าครามลงบนเครื่องแก้วก่อนเคลือบสีขาว มาออกแบบฟิวชันกับดีไซน์สมัยใหม่ โดยลดทอนลวดลายและลายเส้นประเพณีออกบ้าง เมื่อผนวกกับตัวรูปทรงเรขาคณิตของเครื่องแก้ว จะก่อให้เกิดลวดลายที่เป็นรูปแบบ Modern Contemporary ที่เข้ากับเทรนด์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มากขึ้น" ฐาณิญากล่าวถึงการนำเทคนิควาดเครื่องลายคราม สีฟ้าคราม-ขาว ที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีต มาปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าไม่ใช่แค่สีฟ้าครามและเบญจรงค์ เครื่องแก้วของแบรนด์ THANIYA1988 ยังหยิบเอาสีเขียวและดำ มาสลับเข้าคู่กับสีขาวแทนสีฟ้าครามเพื่อสร้างความดุดันสวยงาม และเมื่อมองภาพรวมกับลวดลายที่เกิดจากการวาดของช่างฝีมืออย่างประณีต เช่น ลายพญานาคหรือกระติ๊บข้าวเหนียว ที่มีความหมายอันดีและสื่อถึงความเป็นไทย ย่อมทำให้สัมผัสถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของตัวงานได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนั้นเธอยังพยายามตีโจทย์ความเป็น Luxury ด้วยการหยิบบริบทของยุคแกสบี้ ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของยุโรป รวมถึงลายพู่กันจีนมาใช้ในงาน เพื่อสร้างแรงดึงดูดความสนใจแก่ชาวต่างชาติทั้งยุโรปและเอเชีย

อีกหนึ่งจุดเด่นอย่างเทียนหอมเอง ก็ถูกหล่อหลอมด้วยความประณีตเช่นกัน โดยนอกจากการใช้กลิ่นจากดอกไม้และสมุนไพรไทย ยังมีการใช้วัตถุดิบอื่นๆ อีก เช่น ไขถั่วเหลือง ข้าวหอมมะลิไทย และน้ำมันรำข้าว ซึ่งแบรนด์จะคิดค้นกลิ่นใหม่ๆ ออกวางจำหน่ายทุก 3 เดือน เดือนละ 4-5 กลิ่น และด้วยความพิเศษที่ตัวเทียนทำจากสมุนไพร ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำน้ำตาเทียนที่เหลือมาละลายน้ำเพื่อนวดเพิ่มความชุ่มชื้นแก่สุขภาพผิว แถมเมื่อใช้เทียนจนหมดตลับยังสามารถนำไปล้างทำความสะอาด และเอาไปแลกซื้อกับทางร้านได้ใหม่ในราคาพิเศษ
ปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์และเทียนหอมของแบรนด์ THANIYA1988 โด่งดังและส่งออกไปยังหลายชาติ อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน คิง เพาเวอร์ ยังช่วยสนับสนุนโดยยกมาจำหน่ายที่ศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากมาย และได้รับรางวัล Thailand Top SME Award 2018 สมกับความพยายามอันแน่วแน่ตลอดมา แต่ถึงกระนั้นฐาณิญาก็ยังไม่ลืมที่จะทิ้งท้ายขอบคุณความสำเร็จนี้กับทุกคน ที่มีส่วนร่วมผลักดันให้แบรนด์ไทย ให้ประสบความสำเร็จไปถึงระดับโลก
"แม็ทช์โชคดีที่ครอบครัว และพี่ๆ ทีมงานที่โรงงาน ที่ช่วยซัพพอร์ตและช่วยออกความคิดเห็นเราในทุกๆ อย่าง รวมถึงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีส่วนช่วยพัฒนา แนะนำคอร์สที่ช่วยผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้เรื่องการบัญชีการตลาด และยังได้ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลีและฝรั่งเศสมาช่วยพัฒนาดีไซน์ให้ตอบโจทย์ตลาดยุโรปได้มากยิ่งขึ้น"
ETHNICA แบรนด์กระเป๋าสไตล์ New-Boho จากดินแดนล้านนา ที่เปี่ยมด้วยความตั้งใจทำ

"ต่อให้ใครเลียนแบบจนเหมือน ศิลปะก็ยังคงเป็นของเรา"
ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ แต่กลับสัมผัสได้ถึงคุณค่าความเป็นตัวเองนั้นเป็นคำพูดของ 'ทอม' ชัยวัฒน์ เดชเกิด หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ETHNICA ร่วมกับ ยุจเรศ สมนา และ เขมิยา สิงห์ลอ ที่ถึงแม้ทั้งสามจะจบการศึกษามาในสายที่แทบจะห่างไกลจากคำว่า 'ศิลปะ' มีเพียงยุจเรศเท่านั้นที่จบมากจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่พวกเขากลับมีความสนใจในเรื่องการพัฒนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเหมือนกัน
ย้อนความกลับไปราว 7 ปีก่อนจะมาทำแบรนด์ ETHNICA ชัยวัฒน์ยังง่วนอยู่กับการขายผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา ผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง eBay ก่อนที่ทางพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่จะชวนเขาเข้าไปสอนผู้ประกอบการรายอื่นเรื่องการตลาดออนไลน์สินค้า OTOP แต่การไปครั้งนั้นทำให้เขาตั้งคำถามขึ้นมาได้ว่า จะทำอย่างไรให้ศิลปวัฒนธรรมทางเหนือ 'แมส' หากหยิบนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์ เพราะที่ผ่านมาเขาสวมบทบาทเป็นเพียงพ่อค้าหน้าร้านเท่านั้น
ว่าแล้วชัยวัฒน์จึงไม่รอช้า ตัดสินใจลงมือคิดวางแผน หาข้อมูลศิลปะความเป็นล้านนาจากแต่ละกลุ่มเผ่าชาติพันธ์ุที่ขึ้นชื่อเรื่องการถักทอผ้าพื้นเมือง ก่อนจะค่อยๆ ตัดตัวเลือกว่าจะแปรรูปเป็นอะไรดี จนมาลงเอยที่ 'กระเป๋าผ้า' ซึ่งจัดการได้ง่ายและไม่ยุ่งยากเท่าการออกแบบเสื้อผ้าที่ต้องมีหลายไซส์หลายขนาด
ถึงตรงนี้ คงคิดว่ากระบวนการทุกอย่างน่าจะราบรื่น แต่พอเอาเข้าจริงชัยวัฒน์กลับต้องประสบปัญหาหลายอย่างระหว่างทาง ตั้งแต่เรื่องแรงงานฝีมือชาวกะเหรี่ยงมีไม่มากพอ ส่วนใหญ่ที่เหลือในหมู่บ้านคือแรงงานระดับอาวุโส เพราะรุ่นลูกที่เรี่ยวแรงกำลังดีกลับมุ่งหน้าเข้ากรุงเพื่อทำงานตามนิคมอุตสาหกรรม ปัญหาต่อมาคือสเปกผลผลิต ที่เมื่อทอออกมาลายผ้าอาจผิดเพี้ยนไปบ้างจากสเปก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเท่าการสร้างความเชื่อใจกับแหล่งผลิตว่าจะไม่ยกเลิกสัญญาจ้างง่ายๆ เหมือนกับที่พวกเขาเคยโดนนายจ้างรายอื่นๆ ทำมาก่อน ส่วนเรื่องงาน ถ้าร่วมมือกันย่อมออกมาดีแน่
"ชาวกะเหรี่ยงจะถนัดการทอผ้าแบบใช้กี่เอว แต่ละคนก็จะชำนาญไปคนละแบบ เนื่องจากเขาทอผ้าเพื่อทำชุดใส่เอง ก็เลยใช้ท่อนแขนวัดหน้ากว้างของผ้า ซึ่งจะพอดีกับแบบเสื้อที่เขาใส่ ไม่มีการนับการวัดอะไรชัดเจน ผมก็นำประสบการณ์จากการเป็น Process engineer ดูแลการผลิตมาปรับใช้กับงาน ต้องเปลี่ยนวิถีให้เป็นวิธี ต้องมีการชั่ง ตวง วัดอย่างมีมาตรฐาน ถึงจะขยายงานได้
"วิถีชาวกะเหรี่ยงทอผ้าด้วยวิธีคล้ายกัน แต่ไม่นับเส้นพุ่ง ไม่วัดขนาดหน้าผ้าเป็นระบบ ทอมาจากสามบ้านก็ได้มาสามขนาด แล้วแต่ว่าบ้านไหนแขนยาวเท่าไร ก็ทำการตกลงกันปรับวิธีวัดขนาด กำหนดจำนวนเส้นด้าย เพื่อเวลาไปสั่งทอที่หมู่บ้านไหนๆ จะได้ชิ้นงานที่มาตรฐานเดียวกัน บางครั้งยังต้องตัดแผ่นใสเป็นขนาดผ้าไปไว้ให้เขาทาบวัดขนาดกันเลย" ชัยวัฒน์เล่าถึงการทำงานทอผ้ากับคนจากหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง

เป็นเวลา 2 ปี ในการตระเวนเข้าออกหมู่บ้านกะเหรี่ยงทุกๆ สัปดาห์ ชัยวัฒน์ได้เรียนรู้กรรมวิธีการผลิตผ้าจากทั้งเผ่าอาข่า ม้ง และมูเซอ ซึมซับรายละเอียดตั้งแต่การทอ ย้อมสี เย็บกระดุม และปักลวดลายออกมาในสไตล์ นิว-โบโฮ (New-Boho) ขณะเดียวกันก็ต้องหาวัสดุอื่นๆ เช่นซิปกับหนังควบคู่ไปด้วย จนท้ายสุดความพยามยามนั้นได้ผลิดอกออกผลเป็น 'คอลเลกชันกระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์' ราคาใบละ 3,000 บาท โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติแวะเวียนมาอุดหนุน สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ แถมกลายเป็นอาชีพอันมั่นคงแก่ชาวกะเหรี่ยงได้ทำกินตลอดทั้งปี
อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนที่สูงจนเกินไป ทำให้ปีต่อมาแบรนด์ ETHNICA ต้องปรับลดความซับซ้อนของต้นทุนลง เลิกใช้วัสดุหนังในการทำลวดลาย และหันมาใช้การทอทั้งหมด โดยเว้นลวดลายเหลือเฉพาะด้านล่าง ที่เหลือเป็นสีพื้นตามปกติ ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้มีราคาถูกลง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนไทยสามารถจับต้องได้มากกว่าเดิม ทว่าก็ไม่ได้ลดคุณค่าลง เพราะกระเป๋าแต่ละใบทอออกมาแบบแฮนด์เมด จึงมีความพิเศษแบบลิมิเต็ดอิดิชันในตัว ดังนั้นหากใครแวะเวียนผ่านช็อปของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ตามโรงแรม หรือศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี เชื่อว่าน่าจะได้เห็นกระเป๋าทอผ้าของ ETHNICA วางขายอยู่ อีกทั้งล่าสุด ETHNICA ยังพยายามเจาะช่องทางตลาดออนไลน์ช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักอีกด้วย
ปัจจุบัน นอกจากการบริหารธุรกิจแบรนด์ ETHNICA ชัยวัฒน์ยังทำหน้าที่เป็นวิทยากร ครู และที่ปรึกษาให้กับผู้สนใจอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการหยิบเอาศิลปวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาความเป็นไทยใส่ลงไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการอบรมผู้ประกอบการของทาง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการ Lanna Essence Showcase ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีกระบวนการคิด นำอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และยังมีการสอนในสาขาการตลาดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงลงพื้นที่ไปสอนผู้ประกอบการเป็นแบบตัวต่อตัวชนิดไม่มีหมกเม็ด เพราะผลลัพธ์ต่างเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ไทยสู่ตลาดโลก และพิสูจน์ให้เห็นว่าทรัพยากรในบ้านเราต่างมีมูลค่ามากนัก
"มีโอกาสสอนผมก็จะสอน ใครอยากพัฒนาโปรดักต์ อยากรู้ว่าควรจะทำอะไร อยากได้ความรู้ อยากเข้าใจวิธีการทำงานกับชุมชน มาถามได้ อยากได้ที่ติดต่อหาวัตถุดิบ หาแหล่งช่างฝีมือ ก็ถามมาได้ ผมพยายามให้คนอื่นเดินตามมา อยากให้มาเลียนแบบวิธีการทำงานที่ผมไปทดลองมาแล้ว" ชัยวัฒน์ทิ้งท้าย
Horoscarf แบรนด์ผ้าพันคอ 12 นักษัตร เอาใจสายมูเตลู

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องราวความเชื่อโชคลาง หรือที่คนสมัยนี้นิยมเรียกว่า 'มูเตลู' คือ สิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจและเชื่อถือไม่มากก็น้อย เช่นเดียวกับ 'แนท' ดร.ณัฐธิดา ภู่จีบ อาจารย์สอนศิลปะ ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเจ้าของแบรนด์ 'Horoscarf' ผู้หยิบยกหลักความเชื่อโหราศาสตร์เกี่ยวกับปีนักษัตรมาละเลงผ่านปลายพู่กันลงบนผ้าผันคอ จนกลายเป็นงานศิลปะและผลิตภัณฑ์ชั้นยอดที่วางขายอยู่ในศูนย์การค้า คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ท่ามกลางความสนใจจากทั้งคนไทยและต่างชาติ
ดร.แนทเล่าให้เราฟังถึงความตั้งใจด้านสายงานศิลปะมาตั้งแต่เด็ก โดยเธอมุ่งมั่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา (Art Education) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ตอนแรกครอบครัวจะตั้งใจให้ทำงานในสายราชการ หลังจากเรียนจบ ได้เริ่มต้นการเป็นครูสอนศิลปะ ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งควบคู่ไปกับเรียนปริญญาโทด้านการบริหารพร้อมกัน ทว่าชีวิตการทำงานในวัย 35 ปี ของเธอกลับไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เมื่อระบบโครงสร้างวิชาชีพครูไม่เอื้อต่อคนผลิตงานศิลปะ ทำให้สุดท้ายเธอตัดสินใจลาออกมาทำในสิ่งที่ตัวเองหลงรักด้วยการเป็นครีเอทีฟอาร์ต
"เพราะว่าปีต่อไปจะเป็นปีแพะ เราเลยตัดสินใจทำลายผ้าพันคอปีมะแมออกมา ตามคอนเซ็ปต์ที่เราอยากให้มันเป็นผ้าพันคอเสริมดวงด้วย สวยด้วย"
หลังตัดสินใจมุ่งสู่สายงานครีเอทีฟอาร์ต เวลาได้ล่วงเลยถึงปี 2557 ที่ตรงกับปีนักษัตรมะเมีย ขณะเดียวกันยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ผ้าพันคอ Horoscarf เมื่อดร.แนทต้องการหาของขวัญสักชิ้นให้กับญาติผู้ใหญ่และอาจารย์ที่นับถือ ก่อนจะมาลงเอยกับผ้าพันคอที่เธอใช้จินตนาการวาด 'แพะ' สัตว์ประจำปีนักษัตรมะเมียตามปีลงไป แต่ด้วยความบังเอิญที่โรงงานผลิตผ้าพันคอไม่สามารถผลิตได้ปริมาณน้อย ทำให้เธอตัดสินใจนำผ้าพันคอที่เหลือโพสต์ขายลงบนเฟซบุ๊ก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีและขายหมดเพียงแค่สองวัน สุดท้ายเธอจึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ผ้าพันคอ โดยความแตกต่างของเธอกับงานผ้าพันคอเจ้าอื่น คือทุกชิ้นใช้วิธีการวาดแฮนด์เมดอย่างประณีต

อย่างไรก็ดี เธอเผยเพิ่มเติมถึงจุดเริ่มต้นของการนำลายนักกษัตรมาใส่บนผ้าพันคอ Horoscarf ว่าเอาเข้าจริงเธอฉุกคิดได้มาสักพักก่อนจะเริ่มโปรเจ็กต์ลายมะเมียแล้ว
"ไอเดียที่เกิดขึ้น ตอนเราไปแก้ชงแล้วได้รับคำแนะนำให้ใส่สร้อยคอที่เป็นปีฮะกับเรา (ปีนักษัตรที่เกื้อหนุนกับปีเกิด) ตามความเชื่อของคนจีน แต่พอเราซื้อสร้อยเส้นนั้นมาเรากลับไม่หยิบมาใส่เลยเพราะว่ามันไม่แฟชั่น เราเลยฉุกคิดไอเดียว่าถ้ามันจะใส่แก้ชงมันก็ต้องใส่แล้วสวยควบคู่ด้วยสิ เราเลยลงมืออ่านหนังสือหาเคล็ดลับสีมงคลของแต่ละปี โดยทุกอย่างเราอิงตามหลักโหราศาสตร์ ส่วนลายสัตว์อื่นๆ ที่วาด นอกจะเป็นสัตว์มงคล เรายังอิงเรื่องของหลักฮวงจุ้ยทั้งหมด"
ล่าสุดนอกจากออกแบบลาย 12 นักษัตรลงบนผ้าพันคอ ดร.แนทยังมีสินค้าใหม่ เช่น เสื้อคลุม และหน้ากากอนามัยมาวางขาย ซึ่งยังคงยืนยันคอนเซ็ปต์สายมู นับได้ว่าเป็นสินค้ายอดฮิตของชาวต่างชาติที่เข้ามายัง คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี แถมความนิยมยังถึงขั้นส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิงคโปร์ จีน และไต้หวัน
สุดท้ายเรื่องราวของทั้ง 3 แบรนด์ อาจสะท้อนได้เป็นนัยๆ ว่า ความชอบ ความมุ่งมั่น และความเชื่อในสิ่งที่ทำ คือจุดเริ่มต้นที่ส่งไปถึงความสำเร็จในอนาคต ท่ามกลางโลกที่หมุนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความชอบของผู้คนที่มักให้ความสนใจกับการนำสิ่งรอบข้างมาประยุกต์ผสมผสาน ขณะเดียวกันเรื่องของการสนับสนุนชุมชน และส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านแบรนด์ธุรกิจ ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้แก่ประเทศไทยในระดับโลก เฉกเช่นเดียวกับที่ King Power ให้ความตั้งใจเสมอมา รวมถึงทำให้รับรู้ได้ว่า ฝีมือคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ ถ้าตั้งใจ
ขอบคุณเนื้อหาจากเว็บไซต์ THE MOMENTUM : https://themomentum.co/brandedcontent-king-power-thai-power/
แก้ไขล่าสุด 20 มี.ค. 65 23:10 |
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google