ผู้นำยานยนต์ทั่วโลก เร่งกำลังผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากกขึ้น

17 เม.ย. 65 19:40 น. / ดู 3,034 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

หลังจากที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการเปลี่ยนถ่ายจากการใช้แรงงานคนมาใช้เครื่องจักรแทน กลายเป็นระบบอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ ไม่ว่าเป็นด้านการขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตร การคมนาคม โดยนำถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องจักรไอน้ำ และโรงผลิตไฟฟ้า รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงฟอซซิล ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นและสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง จนนำไปสู่การเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
ปัญหาโลกร้อนจึงกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศ ทุกคนจะต้องให้ความร่วมมือและหาทางแก้ไข จนเกิดเป็นพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นในปี ค.ศ.1997 และความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี ค.ศ.2015 โดยขอความร่วมมือในการรักษาอุณหภูมิโลไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส (เทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) แต่เป้าหมายคือ 1.5 องศาเซลเซียส นับแต่นั้นมาวิถีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้านยานยนต์ รูปแบบการผลิตไฟฟ้าก็ได้เปลี่ยนไป โดยหันมาให้ความสำคัญและคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก และนำพลังงานสะอาดเข้ามาแทนที่


พลังงานสะอาด หรือพลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเกิดมลภาวะน้อยที่สุดในทุกๆกระบวนการ ตั้งแต่การผลิต แปรรูป การนำไปใช้งาน และการจัดการของเสีย เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานเชื้อเพลิงชีวมวล และอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีแรงสนับสนุนจากรัฐบาล ประชาชนหันมาให้ความสนใจและกังวลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับในไทยปีนี้คือ คนไทยหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ข้อดีคือประหยัดด้านค่าบำรุงรักษา ลดมลพิษทางอากาศ และตอนนี้ผู้นำยานยนต์ทั่วโลกต่างหันมาใช้พล้งงานสะอาดด้วยเช่นกัน


ประเทศเยอรมนี ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ รัฐบาลให้การผลักดันและสนับสนุนในการใช้พลังงานสะอาด โดยจัดตั้งหน่วยงาน NPE ข้ึ้นร่วมกับบริษัทเอกชน องค์กรต่างๆ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้า ในการร่วมพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในโครงการที่จัดตั้งขึ้นคือ Lighthouse project โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นที่เป็น User มาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าจริง และส่งผลตอบรับกลับไปยังผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ว่าควรจะพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับระบบนิเวศที่ใช้งานจริงของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลเยอรมันตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะมีการแบนไม่ให้รถยนต์ดีเซลที่ยังคงใช้งานอยู่ในประเทศ


ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีการศึกษาด้านพลังงานทางเลือกมาตั้งแต่ปี 1991 จนกระทั่งจีนเข้าสู่องค์การการค้าโลก จึงทำให้จีนต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีสำหรับการใช้ยานยนต์พลังงานทางเลือกอย่างรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเริ่มโครงการ Ten cities, Thousand Vehicles คือให้ 10 เมืองนำรถ EV จำนวน 10,000 คันมาใช้งาน และส่วนกลางจะจัดตั้งงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ใช้รถดังกล่าว จุดประสงค์เพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า และแก้ไขปัญหาด้านมลพิษ จนปี 2017 จีนมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพรถ EV เรียกว่า New Energy Vehicles : NEV ไม่เพียงแต่ครอบคลุมเรื่องการผลิตรถ EV เท่านั้น แต่รวมไปถึงพลังงานทางเลือกอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการหันมาเอาใจใส่ในเรื่องมาตรฐานการผลิต ควมคุมการปล่อยคาร์บอนตามที่รัฐบาลดำหนด เป็นการยกระดับมาตรฐานด้านการผลิตรถยนต์พลังงานทางเลือกอีกด้วย โดยจีนตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2020 จะต้องมียอดขายรถ NEV ประมาณ 10% ของยอดขายรถทั้งหมดให้ได้ หรือคิดเป็นประมาณ 20 ล้านคันต่อปี
ต้องบอกว่าตอนนี้พลังงานสะอาด หรือพลังงานทดแทน ได้เริ่มมีบทบาทอย่างเป็นจริงเป็นจังแล้ว ไม่ว่าจะในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ พลังงานสะอาด จะกลายมาเป็นพลังงานหลักของแต่ละประเทศอย่างแน่นอน หากเป็นเช่นนั้นเราจะช่วยเซฟโลกได้มากขึ้นเลยทีเดียว
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 23 เม.ย. 65 13:42 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz453987 | 24 เม.ย. 65 19:37 น.

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz382025 | 27 เม.ย. 65 22:11 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google