ประเด็นการแก้สัมปทานเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบิน
24 เม.ย. 65 15:54 น. /
ดู 5,656 ครั้ง /
3 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์

เริ่มมีการพูดถึงประเด็นการแก้สัมปทานเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบินกันอีกครั้ง แล้วก็คิดว่าไม่น่าจะหายไปจากสังคมได้ง่ายๆ แน่ คนทั่วไปส่วนใหญ่ก็อาจจะมุ่งเป้าไปยังดิวตี้ฟรี จนลืมคิดไปว่าในสนามบินนั้นก็มีผู้ประกอบการอีกหลายเจ้า ที่ได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ขายอาหาร เปิดบริการในด้านต่างๆ ให้กับผู้โดยสารในสนามบิน มิได้มีการเอื้อเพียงแค่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้จึงมีอดีต รมว.คลัง เคยทำหนังสือถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับเอกชน โดยปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนที่ภาครัฐพึงได้รับจากการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. อาจถือเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้รัฐเสียหายหรือไม่

"การดำเนินงานแก้ไขสัญญาสัมปทานดังกล่าวนี้ อาจก่อให้เกิดผลผูกพันทรัพย์สิน หรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ
ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของเรื่องต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 มาตรา 7 นอกจากนี้ ในมาตรา 27 ยังกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องต้องจัดทำแผนบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย รวมทั้งแหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และผลประโยชน์ที่จะได้รับ เสนอให้ที่ประชุม ครม. อนุมัติกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการด้วย"
ทาง สำนักรัฐฯ จึงขอให้ ทอท. ดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักรัฐฯ ทราบด้วย
https://thaipublica.org/2022/01/state-audit-commission-examined-aot-amend-concession-contract/

ทาง ทอท. โดยนายนิตินัย ศิริสมรรถการ ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า
"ทอท.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจโดยใช้งบประมาณของตนเอง มิได้รับจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ การจัดทำงบประมาณของ ทอท.เป็นไปตามข้อบังคับ ทอท. ข้อ 54 (3) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 รวมถึงพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2561
ทอท.จึงมีความเห็นว่า การพิจารณากำหนดมาตรการเพื่อพยุงสถานะทางธุรกิจของสายการบินและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ทอท.ที่จะพิจารณาดำเนินการได้
เนื่องจากเป็นการกระทำโดยสุจริตโดยอำนาจบริหาร และยังเป็นการดำรงไว้ซึ่งรายได้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารธุรกิจ โดยได้มีการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ) อย่างครบถ้วน และพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ"
นอกจากนี้ ทอท.ได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณา และได้รับการยืนยันจากหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ แล้วว่า กรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ.2561
https://www.thansettakij.com/business/512831
เมื่อฟังความจากทาง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ตั้งข้อสงสัย และฝ่ายที่ตอบคำถามแล้ว ก็เข้าใจถึงเหตุผลที่ทาง ทอท. ได้มีการปรับเปลี่ยนสัญญา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปรับเปลี่ยนสัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดอายุสัมปทาน เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้น ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไว้ว่าทุกอย่างจะโอเคขึ้นในปี 2566 เมื่อถึงเวลาที่การเดินทางกลับมาคึกคักเหมือนเดิม ทอท.เองก็จะกลับไปใช้สัญญาเดิม เก็บค่าตอบแทนเท่าเดิมตามที่ได้ประมูลกันมา เป็นเหตุผลเป็นผลที่ยังทำความเข้าใจได้ง่ายอยู่
ของแบบนี้ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเรื่องพิสูจน์ ดังนั้นมันอยู่ที่การบริหารจัดการของรัฐบาลแล้วว่าจะทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้เร็วที่สุดได้เมื่อไหร่ เร่งฟื้นตัวให้ครบทุกมิติ และมีแผนฟื้นตัวระยะยาวเถอะครับ แล้วทุกอย่างมันก็จะกลับมาดีขึ้น
https://pantip.com/topic/41290641
#เศรษฐกิจ
#ทอท
#สนามบิน
#สุวรรณภูมิ
#aot
#ดิวตี้ฟรี
#เยียวยา
#ธุรกิจ
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google