PM2.5 กระทบปัญหาสุขภาพ รัฐทำยังไงเมื่อปัญหาหมอกควันลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน

29 เม.ย. 65 16:02 น. / ดู 1,907 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
นอกจากปัญหาโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ระบาดอยู่แล้ว ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องกับฝุ่น PM 2.5 โดยเมื่อวันที่ 14 เม.ย.65 จากการจัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศทั่วโลก ผ่านแอปแพลิเคชั่น IQAir พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยเป็นเมืองที่คุณภาพอากาศแย่อันดับ 1 ของโลก โดยค่าฝุ่นอยู่ที่ 176 สาเหตุส่วนหนึ่งมากจากฝุ่นควันข้ามแดน จากการเผาในที่โล่งฝั่งประเทศลาวและพม่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.65 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศลาวเกิดจุดความร้อนเป็นจำนวนมาก

รัฐบาลรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า "ปลัดกระทรวง ทส. ในฐานะคณะกรรมการภายใต้รัฐมนตรีประเทศภาคีต่อข้อตกลงอาเซียนว่า ด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ได้แจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียน ให้ประเทศในอนุภูมิภาคแม่โขงยกระดับการดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอย่างเร่งด่วน       
นอกจากนี้ได้แจ้งปัญหาต่อนายกรัฐมนตรีในการประชุม ครม. ที่ผ่านมา พร้อมขอความร่วมมือกระทรวงการต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอีกทางหนึ่ง โดยหวังว่าการยกระดับความร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยเร็ว และยังระบุเพิ่มเติมว่า จำนวนจุดความร้อนในอนุภูมิภาคแม่โขงปี 2565 ดีขึ้นกว่าปี 2564  โดยจำนวนจุดความร้อนสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. จนถึงปัจจุบันลดลงถึงร้อยละ 38
เนื่องจากก่อนหน้านั้นนายวราวุธฯ ได้เดินทางไปเป็นประธานมอบนโยบายแก้ปัญหาไฟป่าในภาคเหนือ โดยเน้นนโยบาย "ชิงเก็บ" เช่นเดียวกับปี 2564 ที่ผ่านมา"


ด้านศูนย์แก้ไข ปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) คาดการณ์ว่าสถานการณ์ PM2.5 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ หลังวันที่ 14 เม.ย.65 ไปจนถึงวันที่ 19 เม.ย. 2565 เนื่องจากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่เอื้อต่อการระบายอากาศ เมื่อพิจารณาการผลักดันการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ปี 2565 ปัญหาฝุ่น PM2.5 จะไม่รุนแรงเหมือนปี 2564 แต่มาตรการแก้ปัญหาตามวาระแห่งชาติการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือที่ยังเกิดจุดความร้อนจากการเผาป่าอยู่ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ที่สำคัญประเด็นที่สะท้อนว่ารัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหาก็คือ การปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ยรายปีและเฉลี่ยรายวัน 24 ชม. ให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก (WHO Interim Target-3) ซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" พบว่าในการประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.65 ที่ผ่านมาได้เห็นชอบให้ปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 รายปีกำหนดที่ 15 มคก./ลบ.ม. ภายในปี 2565 ทั้งที่ตามแผนฯ กำหนดให้ดำเนินการภายในปี 2564 ขณะที่ค่ามาตรฐานฝุ่นเฉลี่ยราย 24 ชม.ที่ตามแผนฯ กำหนดไว้ที่ 37.5 มคก./ลบ.ม. ได้เห็นชอบให้ดำเนินการภายในปี 2567 แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ จัดทำร่างประกาศค่ามาตรฐาน PM2.5 โดยให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดเงื่อนเวลาการบังคับใช้ค่ามาตรฐาน และให้นำเสนอร่างประกาศในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป นั่นหมายถึง การเลื่อนการปรับค่าฝุ่นออกไปอย่างไม่มีเหตุอันควร ทั้งๆ สามารถทำได้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวตาม
ส่วนการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดจากการขนส่งทางถนน ล่าสุดกรมควบคุมมลพิษ ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด พ.ศ. 2564 กำหนดค่าความทึบแสงไม่เกินร้อยละ 30 จากเดิมไม่เกินร้อยละ 45 และค่ากระดาษกรองไม่เกินร้อยละ 40 จากเดิมไม่เกินร้อยละ 50 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 13 เม.ย. 2565 และได้ออกตั้งตั้งจุดตรวจควันดำในพื้นที่ต่าง ๆ

ทั้งนี้ คพ.รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 - 11 เม.ย. 2565 มีการตรวจควันดำทั่วประเทศ โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ ตรวจสอบ 164,560 คัน เกินมาตรฐาน 46,176 คัน สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดตรวจสอบ 82,096 คัน เกินมาตรฐาน 1,165 คัน ซึ่งการตรวจควันดำถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากยังไม่มีการปรับมาตรฐานเชื้อเพลิงในรถยนต์ตามมาตรฐานยูโร, การติดตั้งระบบบำบัดไอเสีย เช่น อุปกรณ์กรองเขม่าในเครื่องยนต์ดีเซล (DPF) ไม่คืบหน้า, นโยบายห้ามรถเก่า 20 ปีเข้าพื้นที่เมืองหรือกำหนดเขตมลพิษต่ำไม่มีรูปธรรม ฯลฯ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 30 เม.ย. 65 14:03 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz463257 | 12 พ.ค. 65 03:45 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google