ศูนย์บริการอมรเพรสทีจ กับ "ความต่างของการ การเสียภาษีกับ พรบ"

10 พ.ค. 65 23:45 น. / ดู 1,407 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
หลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่า "เครื่องหมายการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี" และ "พ.ร.บ." เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้วกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เราจะพาไปไขข้อข้องใจว่าทั้งสองสิ่งนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
เครื่องหมายการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี

เป็นป้ายสี่เหลี่ยมขนาดเท่าฝ่ามือที่ระบุหมายเลขทะเบียนรถ, ยี่ห้อ, วันสิ้นอายุภาษี เพื่อแสดงว่ารถคันนั้นได้มีการชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากไม่ดำเนินภายในระยะเวลา 1-3 ปี จำเป็นต้องเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน แต่หากไม่ชำระติดต่อกันนานเกิน 3 ปี จะมีโทษรุนแรงถึงขั้นระงับทะเบียนในทันที

พ.ร.บ.

คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกำหนดให้รถทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบเหตุจากรถ ทั้งผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้าที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต, ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ

เห็นไหมว่าทั้งสองสิ่งนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีทุกครั้ง จำเป็นจะต้องซื้อ พ.ร.บ. ควบคู่กันไปด้วย เว้นแต่กรณีกรมธรรม์เดิมมีความคุ้มครองคงเหลือมากกว่า 90 วัน ก็สามารถใช้เพื่อชำระภาษีได้เช่นกัน

โทรนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้ารับบริการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร 02-513-9555
LINE : @Amornprestige หรือคลิก https://lin.ee/mqQIcWQ

#BMWAmornPrestige #AmornPrestigefamily
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz444161 | 11 พ.ค. 65 16:19 น.



ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google