เริ่มต้นยุคทองของเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา

22 พ.ค. 65 21:48 น. / ดู 1,343 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ามีจุดเด่นในด้านของการใช้พลังงานสะอาด ลดมลพิษในอากาศซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครเมืองขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลอง ปัจจุบันแม้จะมีการเดินทางรูปแบบอื่น เช่น ถนน ทางด่วนหรือรถไฟฟ้า แม่น้ำลำคลองยังคงมีบทบาทสำคัญอยู่ด้วยรูปแบบการเดินทางที่รวดเร็วและไร้ปัญหาจราจรติดขัด ล่าสุดเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่อีกครั้งด้วยการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หากย้อนไปในปี 2020 นับเป็นปีทองของเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีบริษัทที่ให้ความสนใจนำเสนอบริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำลำคลองของกรุงเทพมากถึง 3 บริษัท ประกอบด้วย

บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม โดยจัดหาเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าพร้อมระบบโซลาร์เซลล์ จำนวน 8 ลำ เรือรองรับผู้โดยสารลำละไม่น้อยกว่า 30 ที่นั่ง เปิดให้บริการในคลองผดุงกรุงเกษมโดยมีท่าเรืออัจฉริยะรองรับการให้บริการประชาชน โดยชูจุดเด่นความเงียบสงบของมอเตอร์ไฟฟ้าและ อาคารบ้านเรือนที่สวยงามตลอดเส้นทาง

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด ได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมเปิดให้บริการเรือพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาโดยคนไทย 100% เพื่อการขนส่งผู้โดยสารและการท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยชูจุดเด่นการเชื่อมต่อการเดินทางระบบไฟฟ้าอย่างครบวงจร ทั้งระบบ เรือ รถ ราง ไร้มลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยลด PM 2.5 โดยเรือแต่ละลำรองรับเทคโนโลยีการชาร์จ DC Fast Charger ของ EA Anywhere ทันสมัยที่สุดของกลุ่ม EA สามารถชาร์จเร็วทั้งเรือและรถบัสไฟฟ้าได้ภายใน 15 – 20 นาที  ในระยะแรกจะมีการทดลองให้บริการประมาณ 20 ลำ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. หน่วยงานสำคัญด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยได้ทำการทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรกภายในงาน "E Trans E" (Electric Transportation of EGAT) ที่จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนปี 2020 เรือโดยสารไฟฟ้าที่นำมาทดสอบมีจำนวน 2 ลำ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 214 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สามารถแล่นด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 10 น็อต ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เรือโดยสารของ กฟผ. สามารถรับผู้โดยสาร 80 คน ทดสอบให้บริการในเส้นทางสาย 543ก (ท่าน้ำนนทบุรี – อู่บางเขน)

ในปี 2022 บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเรือโดยสารในประเทศไทยมายาวนานกว่า 50 ปี ได้ทำการจับมือกับบริษัทชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) สร้างสถานีชาร์จเรือไฟฟ้าในเส้นทางที่เรือของเรือด่วนเจ้าพระยาแล่นผ่าน เพื่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าและจำนวนเรือไฟฟ้าของเรือด่วนเจ้าพระยาที่จะทยอยเพิ่มขึ้นในอนาคต สถานีชาร์จแบบกระแสตรง (DC) ที่มีหัวชาร์จความเร็วสูง 360 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอร์รีจาก 10-80 เปอร์เซ็นต์ ได้ภายในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น

ที่มาของข้อมูล : energyabsolute.co.th, thanakom.co.th

ที่มาของรูปภาพ : egat.co.th

#ea
#เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า
#พลังงานบริสุทธิ์
#eaanywhere
#แม่น้ำเจ้าพระยา
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 22 พ.ค. 65 23:28 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google