อาการเบื้องต้นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรวมถึงการป้องกันและการรักษา
26 พ.ค. 65 17:15 น. /
ดู 1,693 ครั้ง /
1 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์
hashtag:
#หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลายจนเสียหาย จากการได้รับบาดเจ็บ หรือ กระดูกเสื่อม ส่งผลให้หมอนรองกระดูกแตกและกระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูกจะทำให้มีอาการปวดเฉพาะที่ โดยอาการเบื้องต้น คือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยจะมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด , ปวดคอ คอแข็ง ปวดร้าวลงมาที่มือ หรือมีอการปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดร้าวลงมาที่แขน ขาข้างใดข้างหนึ่ง จนมีอาการปวด ชา ไม่มีแรง ขยับตัวลำบาก เป็นต้น ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
1.รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
2.กายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
3.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
4.การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดธรรมดาจากแผล 5 - 8 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 - 3 เซนติเมตรจึงทำให้ฟื้นตัวเร็วและเจ็บน้อย
5.การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
แต่ทั้งนี้เราสามารถป้องกันการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ โดยเริ่มจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ลดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูก , ระมัดระวังในการใช้งานหลัง โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานหรือผู้ที่ต้องยกของหนักบ่อย ๆ โดยท่ายกของจากพื้นที่เหมาะสมคือ การย่อเข่า โดยหลังตั้งตรงหรือเอนมาด้านหน้าเล็กน้อย งดการใช้ท่าก้มหลังโดยเข่าเหยียดตรง เพราะจะมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกได้ง่าย , การออกกำลังเวทเทรนนิ่ง ไม่ยกน้ำหนักที่มากเกินกำลัง และควรใช้อุปกรณ์รัดพยุงหลัง เพื่อช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ , งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกเกิดความเสียหายได้นั่นเองค่ะ
#หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google