สาวกคริปโตต้องรู้ ขุดคริปโตทำให้โลกร้อน
31 พ.ค. 65 11:11 น. /
ดู 2,862 ครั้ง /
3 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์


คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเฉกเช่นเดียวกันกับสกุลเงินทั่วไป แตกต่างเพียงแค่คริปโตฯ ไม่สามารถจับต้องได้ โดยมีหลักการทำงานอยู่บนแทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้วยการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะบันทึกข้อมูลลงในกล่อง (Block) และนำมาต่อกันเรื่อยๆ คล้ายสายโซ่ (Chain) จะไม่สามารถย้อนกลับได้ ทำให้ยากต่อการแก้ไข ปลอมแปลงหรือทำลาย บล็อกเชนจะประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบ "กระจายศูนย์" (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่ปราศจากการควบคุมโดยตัวกลางอย่างธนาคารหรือรัฐบาล ดังนั้นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ จึงมีความปลอดภัย โปร่งใส และน่าเชื่อถือ และแม้ว่าคริปโตฯ จะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ตามกฎหมายได้เหมือนสกุลเงินอื่นทั่วไป แต่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ประชาชนกลับให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น

การขุดคริปโตฯ ในแต่ละครั้งนั้น รู้หรือไม่ว่าเราจะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาล Bitcoin ใช้พลังงานมากที่สุดในปี 2020 และสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 59.9 ล้านตันในเวลาเพียงหนึ่งปี และเพื่อที่จะชดเชยคาร์บอนที่ปล่อยไป โลกเราจำเป็นต้องปลูกต้นไม้ถึง 299.6 ล้านต้น
ลำดับที่ 2 คือ Ethereum ใช้พลังงานในธุรกรรมแต่ละครั้ง 62.56 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 42.5 กิโลกรัมต่อธุรกรรม ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพที่ดีมากกว่า Bitcoin แต่มีการทำธุรกรรมต่อวันถึง 1.328 ล้านครั้ง ทำให้มีต้นทุนพลังงานที่สูงและก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 16.6 ล้านตัน (ตัวเลขปี 2020) เราจะต้องปลูกต้นไม้ถึง 83.4 ล้านต้นเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในครั้งนี้
ลำดับที่ 3 คือ Bitcoin Cash ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 12.8 กิโลกรัมต่อธุรกรรม
ลำดับ 4 คือ Litecoin ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 12.6 กิโลกรัมต่อธุรกรรม
ลำดับที่ 5 คือ Cardano ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 372.7 กรัมต่อธุรกรรม
อัพเดตล่าสุด เมื่อเดือน มี.ค.2022 พบว่ามีคริปโต 18,465 สกุล โดยไม่นับคริปโตที่ "ตาย" ไปแล้วจำนวนมาก จะเหลือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 10,363 สกุล ถือว่ายังมีมากอยู่ดี และมีผู้ใช้สกุลเงินคริปโตมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกร้องให้นักลงทุนคริปโตจะต้องจ่ายภาษีสีเขียว เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาโลกร้อน เฉกเช่นเดียวกับการใช้รถยนต์บางประเทศต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากทำการปล่อยมลพิษจำนวนมาก
.
ด้านองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่นำโดย Greenpeace USA คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ Earthjustice ได้ยื่นความเห็นต่อทำเนียบขาวในเดือนนี้ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไบเดน ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เช่น Bitcoin และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเมินว่า การขุด Bitcoin ในปัจจุบันใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ชาวอเมริกันใช้ในการจ่ายไฟให้กับหลอดไฟและโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเสียอีก และยังมากกว่าไฟฟ้าที่ประเทศโปแลนด์และสวีเดนทั้งหมดใช้ในหนึ่งปี The Environmental Working Group (EWG) จึงชี้ว่า "การลดการปล่อยมลพิษจากการขุดคริปโตจะมีความสำคัญ หากเราต้องบรรลุเป้าหมายของฝ่ายบริหารในการต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ"

สำหรับประเทศไทยมีกลุ่มผู้ใช้คริปโตอยู่จำนวนมากด้วยเช่นกัน แต่อย่าลืมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทย ในการประชุม Cop26 ไว้ว่า "ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 หรือก่อนหน้านั้น ด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงิน และเทคโนโลยี อย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถ จากความร่วมมือระหว่างประเทศและกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญา ผมมั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็น 0 ได้ภายในปี 2050" เราคงต้องติดตามว่าต่อจากนี้ประเทศไทยจะมีมาตรการ หรือกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมการขุดคริปโตหรือไม่อย่างไร
.
แก้ไขล่าสุด 31 พ.ค. 65 11:14 |
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย MacOS
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google