สัญญาณเตือนถึงการเป็นโรคอื่น ๆ เมื่อมีอาการปวดฉี่บ่อย

10 มิ.ย. 65 15:49 น. / ดู 1,511 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

              อาการปวดฉี่บ่อย หรือปัสสาวะบ่อย อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะคุณอาจจะกำลังเผชิญอยู่กับภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ที่เกิดจากการรับรู้ของกระเพาะปัสสาวะที่เร็วกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งในตอนกลางวัน และกลางคืน ไม่ว่าจะดื่มน้ำในปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม ทำให้เกิดความรำคาญ ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ตั้งแต่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานช่วงอายุ 30 – 40 ปี และพบมากในผู้สูงวัยช่วงอายุตั้ง 50 ปีขึ้นไปซึ่งมันส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของคุณในระยะยาวได้ โดยอาการที่เป็นสัญญาณเตือนถึงการเป็นโรคอื่น ๆ ได้มีดังนี้
              สัญญาณเตือนถึงการเป็นโรคอื่น ๆ ได้เมื่อมีอาการปวดฉี่บ่อย

1.ขนาดกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ โดยปกติแล้วกระเพาะปัสสาวะจะเก็บน้ำได้ราว ๆ 300-500 ซี.ซี. จึงจะรู้สึกปวดถ่าย ทว่าในบางคนอาจมีขนาดกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่านั้น ซึ่งอาจกักเก็บน้ำได้น้อยกว่า 300 ซี.ซี. ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนอื่นได้

2.ตั้งครรภ์ ปัสสาวะบ่อย กับการตั้งครรภ์มีเหตุผลที่รองรับกันอยู่ โดยระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ จะไปทำให้ไตขยายตัวขึ้นประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่งผลให้มดลูกและกระเพาะปัสสาวะขยายตัวออก เป็นสาเหตุทำให้เกิดความรู้สึกแน่นท้อง และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกตินั่นเอง

3.ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือมีนิ่วในไต การมีสิ่งที่ก่อความระคายเคืองหรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในปัสสาวะอาจทำให้รู้สึกอยากฉี่บ่อยครั้งขึ้น โดยหากมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยร่วมกับรู้สึกเจ็บหลังหรือบริเวณสีข้างอาจเป็นเพราะนิ่วในไต

4.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้จะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า

5.โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน ภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ทำให้รู้สึกปวดฉี่บ่อยกว่าปกติ

6.ยาบางชนิด ยาชนิดน้ำหรือยาในกลุ่มขับปัสสาวะ รวมทั้งยาในกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก เช่น ยากลุ่มประสาทและยาคลายเครียด อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ได้

7.โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้ไตทำงานหนักและอาจขับน้ำตาลส่วนเกินนั้นมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกปวดฉี่บ่อย ๆ ได้

8.ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ โดยมากมักจะเกิดกับผู้สูงอายุหรือวัยกลางคนที่ทำงานหนัก ๆ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมประสิทธิภาพ ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดรัดตัว และยังส่งผลให้ความยืดหยุ่นของกระเพาะปัสสาวะเสียไป จึงรู้สึกปวดถ่ายปัสสาวะบ่อย

9.ไตเสื่อม ปัสสาวะบ่อย ๆ อาจเกิดจากภาวะไตเสื่อมก็เป็นได้ เนื่องจากหากไตทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ระบบคัดกรองเสื่อมประสิทธิภาพลง น้ำในร่างกายอาจตกหล่นมาที่กระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกปวดฉี่บ่อย

10.ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก พบบ่อยที่สุดคือโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งอาจไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองจนต้องขับปัสสาวะออกมาถี่กว่าเดิม แต่ปริมาณปัสสาวะจะออกแบบกะปริบกะปรอย

11.สโตรกและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท  จากปัญหาสุขภาพในส่วนนี้อาจทำให้ระบบประสาทในส่วนที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลงด้วย ซึ่งก็แน่นอนว่าอาจทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ๆ หรือบางรายอาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้เลย

12.อ้วนเกินไปแล้ว น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเพิ่มแรงดันให้กระเพาะปัสสาวะมากขึ้นไปด้วย จุดนี้จึงทำให้คนที่มีน้ำหนักเกินปวดฉี่บ่อยกว่าคนที่มีรูปร่างดียังไงล่ะ

13.เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ  เนื้องอกชนิดนี้อาจเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ร้ายก็ได้ ทว่ามักพบมากกับเพศชายที่สูบบุหรี่ โดยเนื้องอกจะเข้าไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการปัสสาวะติดขัด มีเลือดปนมากับปัสสาวะได้

              ทั้งนี้อาการปวดฉี่บ่อยมันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ควรต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหาสาเหตุ ดังนั้นหากรู้สึกได้ว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยเกินไป ก็ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ อย่าปล่อยไว้เลยดีกว่า รวมทั้งควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายของตัวเอง และรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปัสสาวะให้ดีด้วย

#อาการปวดฉี่บ่อย
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 13 มิ.ย. 65 23:42 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz458678 | 15 มิ.ย. 65 11:12 น.

ขอบคุณสำหรับข้อมูลฮะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google