#AOT รายได้หดเพราะการเยียวยาผู้ประกอบการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในระยะยาว ผิดด้วยหรือ?

16 มิ.ย. 65 02:35 น. / ดู 6,207 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
hashtag: #aot
AOT รายได้หดเพราะการเยียวยาผู้ประกอบการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในระยะยาว ผิดด้วยหรือ?
การที่ ทอท. ตัดสินใจเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบิน ก็เป็นเพราะว่าสถานการณ์โควิดที่มีคำสั่งปิดประเทศจากรัฐบาล ดังนั้นจึงทำให้สนามบินไม่มีผู้โดยสารมาใช้บริการจนทำให้ผู้ประกอบการที่มีสัญญาการเช่าพื้นที่ หรือมีสัญญาสัมปทานไม่สามารถหารายได้ได้เหมือนเดิม ทอท. ในฐานะที่ต้องบริหารจัดการพื้นที่ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนดำเนินงาน บริหารงานให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ ให้เป็นธรรมมากที่สุด โดยที่ผู้ประกอบการก็ยังคงอยู่รอด และ ทอท.เอง ก็ยังต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศด้วยเช่นกัน
การที่ ทอท. ออกมาเยียวยา ก็เหมือนกับเป็นตัวแทนของภาครัฐ ที่ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการภายในสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นผู้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ (เช่าขายของ ขายอาหาร) หรือผู้ที่ประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรีมาก็ดี ที่พวกเขาได้รับผลกระทบจากการปิดประเทศของไทยเป็นระยะเวลาก็ 2 ปี เพิ่งจะมาเปิดประเทศได้เมื่อประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา
และเนื่องจากนโยบายการปิดประเทศทำให้ไม่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการสนามบิน ธุรกิจในสนามบินไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างปกติ และถ้า ทอท. ไม่ได้ช่วยเหลือ สิ่งที่จะตามมาก็คือ "สนามบินร้าง" เพราะร้านต่างๆ ก็อาจจะต้องถอนตัวกันหมด

จากนั้น ทอท.เองก็ต้องขาดรายได้ ทอท.เล็งเห็นแล้วว่า ควรที่จะรักษาพวกเขาเหล่านั้นไว้ เพื่อให้ทุกฝ่ายยังสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ ไว้ประเทศกลับมาเปิดให้เดินทางได้อย่างเต็มที่เมื่อไหร่ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาประมูล หรือทำสัญญากันใหม่อีก
และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นประเด็นกันมาอย่างยาวนานคือสัญญาสัมปทานของดิวตี้ฟรี


มีการยกเลิกสัญญา ทอท.ก็เสียผลประโยชน์เหมือนกัน
เพราะก่อนที่จะมีโควิด ได้มีการประมูลดิวตี้ฟรีกันมาโดยผู้ที่ชนะ คือผู้ที่บอกว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับ ทอท. ด้วยตัวเลขที่สูงที่สุด และมากขึ้นกว่าเดิม แต่ในรายละเอียดการประมูลนั้น ทาง ทอท.เอง ก็ได้มีการประมาณการผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้บริการในสนามบิน
ถ้า ทอท. ไม่ได้มีตัวเลขสัญญานี้ไม่งั้นผู้ประมูลคงไม่สามารถที่จะประเมินการจ่ายผลตอบแทนสัมปทานได้หรอก
ในเมื่อเกิดเคสการระบาดโควิด ที่ทุกฝ่ายไม่เคยเจอมาก่อน ปิดประเทศจนตัวเลขผู้ใช้บริการสนามบินก็ลดลง นักท่องเที่ยวต่างชาติแทบจะไม่ต้องพูดถึง มีจำนวนเป็น 0 กินเวลาเป็นขวบปี คนที่ทำธุรกิจในนั้นจะไปหารายได้จากไหน
แล้วยังจะให้ยึดการจ่ายผลประโยชน์เหมือนเดิม จนผู้ที่ชนะประมูลไม่สามารถจ่ายอัตราเท่าเดิมได้ เท่ากับว่าต้องออกไป
ทอท. ต้องเดินหน้าทำสัญญาใหม่ ในสภาวการณ์เช่นนี้การทำประมูลใหม่ ใครจะอยากเข้ามาประมูลเพื่อลงทุน ถ้ามีคนเข้ามาประมูล ผลตอบแทนที่สัญญาว่าจะให้ ก็คงไม่ได้เยอะเท่ากับเจ้าเดิม

ทอท. คงเล็งเห็นแล้วแหละ ว่าต้องมีการเยียวยา อย่างน้อยก็ให้พ้นวิกฤตไปในช่วง 2-3 ปีนี้ก่อน ทุกเจ้ายังอยู่กับ ทอท. เหมือนเดิม เมื่อทุกอย่างคลี่คลายลง สามารถเปิดประเทศมีผู้โดยสารกลับมาใช้บริการได้อย่างเดิม ก็เท่ากับว่า ทอท. ก็มีโอกาสที่จะกลับมารับผลตอบแทนในสัญญาเดิม อย่างที่ไม่เคยมีผู้ประมูลจากเจ้าไหนให้มาก่อน
มันก็เป็นเหตุให้ ทอท. หรือ AOT มีรายได้ที่ลดลง เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รายได้ลดมันก็ลดหมด สถานการณ์เงินเฟ้อ เศรษฐกิจย่ำแย่ทั่วโลก นักท่องเที่ยวก็หดหาย จะให้ไปอู้ฟู่เหมือนเมื่อก่อนจะเป็นไปได้ไหมเล่า ฝากไว้ให้คิด
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | _uwu_ | 22 ก.ค. 65 16:19 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google