EA ปรับโครงสร้าง "สมาร์ทบัส" กับไทยสมายล์บัส" ลงทุนเพิ่มสร้างยอดขายรถเมล์ EV

26 ก.ค. 65 03:48 น. / ดู 4,262 ครั้ง / 4 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
EA ปรับโครงสร้าง "สมาร์ทบัส"
โอนเป็นบริษัทย่อยของ "ไทยสมายล์บัส"
ลงทุนเพิ่มสร้างยอดขายรถเมล์ EV
.
.
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA ได้แจ้งมติการประชุมคณะกรรมการบริษัท กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
.
1. อนุมัติให้ บริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จํากัด (EMH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA เข้าลงทุนใน
- บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จํากัด (มหาชน) (BYD)
- บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จํากัด (ACE)
- บริษัท ไทย สมายล์ บัส จํากัด (TSB)
.
โดยการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจํากัด (Private Placement หรือ PP) ออกโดย BYD จํานวน 990,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23.63 ของทุนชําระแล้วของ BYD ภายหลังการเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 7.062 บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997,029,600 บาท
.
เพื่อได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของ EA
เนื่องจากการลงทุนในครั้งนี้ จะทําให้ EA มีโอกาสในการสร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มมากขึ้น
.
.
2. อนุมัติให้ บริษัท อี ทรานสปอร์ต โฮลดิง จํากัด (ETH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จํากัด (TSB)
โดย ETH จะรับค่าตอบแทนจากการโอนกิจการทั้งหมด ด้วยเงินสดจํานวน 6,000,000,000 บาท จาก TSB
ส่งผลให้บริษัทย่อยทั้ง 9 บริษัท และบริษัทร่วม 1 บริษัท ที่อยู่ภายใต้การถือหุ้นของ ETH สิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท
.
สำหรับบริษัทย่อยของ ETH ที่ถูกโอนไปให้ TSB มีดังต่อไปนี้
1. บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด
2. บริษัท บางกอกยูเนี่ยนเซอร์วิส 524 จำกัด
3. บริษัท ไบรท์สตาร์ซัพพลาย (1999) จำกัด
4. บริษัท มหาชนยานยนต์ จำกัด
5. บริษัท รวีโชค จำกัด
6. บริษัท สาย 25 ร่วมใจ จำกัด
7. บริษัท ธรรมนัส ทรานสปอร์ต จำกัด
8. บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จํากัด
9. บริษัท เจ้าพระยา ริเวอร์ไลน์ จํากัด
.
โดยบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด เป็นผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ ที่ได้รับใบอนุญาตเดินรถจากกรมการขนส่งทางบกในโครงการปฏิรูปรถเมล์
และมีบริษัทเดินรถรายย่อย (ลำดับที่ 2-7) มาเข้าร่วมเป็นบริษัทย่อยของสมาร์ทบัสอีกทีนึง
.
ส่วนบริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จํากัด ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้า MINE SMART FERRY ในแม่น้ำเจ้าพระยา
และถือหุ้นในบริษัท เจ้าพระยา ริเวอร์ไลน์ จํากัด ผู้ให้บริการเรือท่องเที่ยว Hop on Hop off ในชื่อ Boat 4U
.
สำหรับบริษัทร่วมอีก 1 บริษัท นั่นคือ บริษัท เบลี่ เซอร์วิส จํากัด
ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนระหว่างสมาร์ทบัสกับ NEX และมีสัญญาเหมาซ่อมบำรุงรถเมล์ SUNLONG ที่สมาร์ทบัสใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
.
.
อ้างอิงข้อมูล - เอกสารจากบริษัท EA
https://classic.set.or.th/.../1118NWS300620221842590077T.pdf
.
.
.
รายงานเพิ่มเติมระบุว่า "ไทยสมายล์บัส" เป็นผู้เดินรถเอกชนที่นำรถเมล์ไฟฟ้า (EV) มาให้บริการในเส้นทาง
เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ในสาย 35 (สามแยกพระประแดง-สายใต้ใหม่)
.
โดยเฟสแรกได้ลงทุนให้กับบริษัทรายย่อย 8 รายที่ได้รับใบอนุญาตเดินรถ (สัมปทาน) จากกรมการขนส่งทางบกในโครงการปฏิรูปรถเมล์ เพื่อเข้ามาเปลี่ยนรถใหม่ และจัดการเดินรถแทน ปัจจุบันเดินรถแล้ว 8 เส้นทาง ได้แก่สาย 6, 7, 35, 39, 56, 80, 120, 133
.
ส่วนเฟสที่ 2 เป็นสายที่ TSB ได้รับใบอนุญาตเดินรถโดยตรง จำนวน 71 เส้นทาง
จากเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบก ให้เวลาเตรียมบรรจุรถภายใน 180 วัน คาดว่าจะเริ่มเดินรถได้ภายในเดือนตุลาคม 2565 นี้
.
.
ในด้านของ "สมาร์ทบัส" เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2562
ในสาย 104 (ปากเกร็ด-หมอชิต 2) และสาย 150 (ปากเกร็ด-บางกะปิ)
.
ปัจจุบันมีสายที่ได้รับใบอนุญาตเดินรถโดยตรง จำนวน 31 เส้นทาง
ได้แก่สาย 9, 28, 29, 38, 40, 43, 48, 51, 52, 69, 85, 89, 104, 108, 110, 113, 115, 123, 124, 126, 127, 147, 150, 167, 504, 507, 538, 545, 547, 554, 558
.
และสายที่มีบริษัทเดินรถรายย่อยที่ได้ใบอนุญาตเดินรถ โอนกิจการให้สมาร์ทบัสเข้ามาลงทุนและเดินรถแทน จำนวน 6 เส้นทาง
ได้แก่สาย 25, 42, 30, 122, 187, 524 (ขณะนี้เหลือแค่สาย 25 และ 42 ที่ยังใช้รถของบริษัทเดิมเดินรถอยู่)
.
นอกจากนี้ยังได้รับสัมปทานจ้างเดินรถรับ-ส่ง ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU POP BUS เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565-2568 อีกด้วย
.
.
ปัจจุบันทั้ง "ไทยสมายล์บัส" และ "สมาร์ทบัส" มีการรวม Call Center ของทั้งสองบริษัท มาใช้เบอร์โทรเดียวกันคือ 0-2113-1019
มีการใช้เนื้อหาและรูปแบบ content ของสื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกัน
และบางสายของสมาร์ทบัส ก็มีการนำตั๋ว TSB GO ของไทยสมายล์บัส มาใช้แทนบนรถแล้ว
.
ในฐานะผู้โดยสาร สิ่งหนึ่งที่หลายคนรอและหวังจากการร่วมกันของทั้ง 2 บริษัทนี้ นั่นคือ "บัตรโดยสารร่วม" หรือถ้ามีทุนก็ขายบัตรเหมารายสัปดาห์/รายเดือน (แบบที่ ขสมก. ทำอยู่ก็ได้) เพื่อแบ่งเบาภาระค่าโดยสารของประชาชน
เนื่องจากปัจจุบันอัตราค่าโดยสารเรทรถใหม่ 15, 20, 25 บาท ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดนั้น เป็นอัตราที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเรทค่ารถรุ่นก่อนๆ และเป็นปัญหา pain point อย่างหนึ่งเมื่อพูดถึงโครงการปฏิรูปรถเมล์ (นอกจากเรื่องเลขสายใหม่ ที่กรมขนส่งดึงดันจะใช้เลขสายใหม่ให้ได้ โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชน)
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz464615 | 31 ก.ค. 65 03:20 น.

สุดยอดเลยครับ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย iPhone

#2 | sz382025 | 31 ก.ค. 65 23:19 น.

รถเมล์เยอะๆ จะได้ไม่รอนาน

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz457901 | 2 ส.ค. 65 02:05 น.

พลังงานบริสุทธิ์นี้ผลักดันพลังงานได้ดีเลย ถ้ามีบริษัทเอกชนสนันสนุนและร่วมด้วยเยอะ อนาคตไม่ไกลเราจะเห็นรถเมลล์ไฟฟ้าที่จะช่วยลดเรือนกระจกได้ด้วย

เป้นการปรับโครงสร้างเพื่อให้เกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของ EA
เพราะการลงทุนนี้จะทําให้ EA มีโอกาสในการสร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าEVเพิ่มขึ้น

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google