ระบบ SMART Patrol ตัวช่วยในการดูแลสิ่งแวดล้อม
1 ส.ค. 65 15:08 น. /
ดู 4,337 ครั้ง /
3 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์

ศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol Monitoring Center) เริ่มขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ.2560 โดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้สั่งการให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ทุกแห่ง ทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ต่อมาในปี พ.ศ.2561 จึงจัดตั้งศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ที่ชั้น 5 อาคารศูนย์ปฏิบัติการป่าไม้ และในปี พ.ศ.2563 นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ฯ แห่งใหม่ บริเวณชั้น 11 อาคารสืบ นาคะเสถียร เพื่อใช้รองรับการพัฒนาและขยายผลการใช้ระบบ SMART Patrol
ต่อมาเมื่อ 25 ธันวาคม 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ฯ แห่งใหม่ พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนะกุล,นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ นายสมปอง ทองศรีเข้ม ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ณ อาคารสืบ นาคะเสถียร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กทม.
SMART Patrol Monitoring Center หรือการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ คือ ระบบการเดินลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการป้องกัน ปราบปราม และการจัดการพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้ เพื่อวางแผนลาดตระเวน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ประมวลผลในมาตรฐานเดียวกันทุกที่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชุดลาดตระเวนเก็บข้อมูลจากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพนี้ เช่น
-การเก็บร่องรอยการกระทำความผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การทำไม้
-การล่าสัตว์ เก็บหาของป่า และปัจจัยทางระบบนิเวศต่างๆ นำมาผสานกับเทคโนโลยี เพื่อระงับ หยุดยั้ง ป้องกันการทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อีกทั้งยังใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน กำหนดนโยบาย วางแผนบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หน้าที่หลักของศูนย์ฯ แห่งนี้คือ พัฒนาระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประสานงาน ประเมินผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมในการสร้างเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน รวบรวม วิเคราะห์ และรายงานผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำกับดูแลศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพในระดับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์และสาขา รวม 21 แห่ง ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ใช้ระบบ SMART Patrol ดังนี้
ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 120 แห่ง
ปีพ.ศ. 2562 จำนวน 204 แห่ง
ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 213 แห่ง
ผลงานจากการใช้ระบบ SMART Patrol คือพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง ที่ใช้ระบบมากว่า 10 ปีแล้ว พบว่าปัจจัยการคุกคามสัตว์ การตัดป่าไม้ การหาของป่า ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และในพื้นที่มรดกโลกแห่งนี้มีจำนวนเสือโคร่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ปี พ.ศ.2551 พบจำนวน 46 ตัว และในปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาพบเป็น 79 ตัว SMART Patrol เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานด้านลาดตระเวนมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานกันอย่างหนักและเข้มข้น ทำให้ผลลัพธ์ออกมาในเชิงประจักษ์เช่นนี้
SMART Patrol Monitoring Center หรือการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ คือ ระบบการเดินลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการป้องกัน ปราบปราม และการจัดการพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้ เพื่อวางแผนลาดตระเวน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ประมวลผลในมาตรฐานเดียวกันทุกที่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชุดลาดตระเวนเก็บข้อมูลจากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพนี้ เช่น
-การเก็บร่องรอยการกระทำความผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การทำไม้
-การล่าสัตว์ เก็บหาของป่า และปัจจัยทางระบบนิเวศต่างๆ นำมาผสานกับเทคโนโลยี เพื่อระงับ หยุดยั้ง ป้องกันการทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อีกทั้งยังใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน กำหนดนโยบาย วางแผนบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หน้าที่หลักของศูนย์ฯ แห่งนี้คือ พัฒนาระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประสานงาน ประเมินผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมในการสร้างเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน รวบรวม วิเคราะห์ และรายงานผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำกับดูแลศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพในระดับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์และสาขา รวม 21 แห่ง ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ใช้ระบบ SMART Patrol ดังนี้
ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 120 แห่ง
ปีพ.ศ. 2562 จำนวน 204 แห่ง
ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 213 แห่ง
ผลงานจากการใช้ระบบ SMART Patrol คือพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง ที่ใช้ระบบมากว่า 10 ปีแล้ว พบว่าปัจจัยการคุกคามสัตว์ การตัดป่าไม้ การหาของป่า ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และในพื้นที่มรดกโลกแห่งนี้มีจำนวนเสือโคร่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ปี พ.ศ.2551 พบจำนวน 46 ตัว และในปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาพบเป็น 79 ตัว SMART Patrol เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานด้านลาดตระเวนมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานกันอย่างหนักและเข้มข้น ทำให้ผลลัพธ์ออกมาในเชิงประจักษ์เช่นนี้
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย MacOS
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google