กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวยังโคม่า โครงการระดมเยียวยาควรมีอย่างต่อเนื่อง

31 ส.ค. 65 19:14 น. / ดู 1,171 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ไม่รู้ว่ามีใครพอจะจับสังเกตได้ไหมว่า�ตอนนี้ประเทศเราเริ่มเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น�นั่นก็เป็นเหตุมาจากที่เราเปิดประเทศหลังจากที่มีการปิดประเทศไปนานเกือบ�3�ปี�นั่นเอง
เกือบ�3�ปีที่ปิดประเทศ�มันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง�เพราะประเทศเรามีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว�ปิดประเทศแบบนี้�กลุ่มธุรกิจเดินทาง�ท่องเที่ยว�บริการต่างๆ�ที่มีกลุ่มลูกค้าหลักคือนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลักกระทบหมด�ดูอย่างพวกสนามบินสิ�ทั้งสายการบิน�ทั้งร้านที่ขายของในสนามบิน�พวกนั้นคือโดนปิดก่อนเลย�กว่าจะเปิดได้ก็เล่นเอาผู้ประกอบการเฉือนเลือดเฉือนเนื้อกันหนักน่าดู

และถึงแม้ว่าประเทศจะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแล้ว�แต่สถานการณ์ยังไม่เรียกว่าฟื้นตัว�ก็ปิดประเทศไปเกือบ�3�ปี�จะให้ฟื้นตัวภายใน�3�เดือนคงเป็นไปได้ยากมากๆ�ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกก็ไม่ได้ดี�แต่ละประเทศก็ต้องดึงนักท่องเที่ยวไปเที่ยวประเทศตัวเองทั้งนั้น�งานนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นสำหรับรัฐบาลอีกเรื่องหนึ่ง�ที่ต้องทำหน้าที่โปรโมทแคมเปญท่องเที่ยวอย่างหนักหน่วง�
และอีกสิ่งสำคัญเลยคือการเยียวยาก็จะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวได้ใกล้เถียงกับสถานการณ์ก่อนที่จะมีโควิด�คือจะต้องมีจำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อเดือน�ให้ใกล้เคียงกับ�3.5�ล้านคน�ซึ่งเป็นตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเที่ยวในปี�61-62�
ซึ่งถ้าให้นับจำนวน�นทท.�ตั้งแต่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าราชอาณาจักร�ยกเลิกระบบ�Test�&�Go�มีจำนวนผู้เดินทางจริงทางอากาศตั้งแต่วันที่�1-21�พ.ค.2565�จำนวน�367,449�คน�หรือเฉลี่ยวันละ�20,000�คน�แต่ก็ยังไม่เพียงพอหรอก�แต่มันก็ยังไม่เพียงพอที่จะกอบกู้สถานการณ์เศรษฐกิจได้�
https://www.bangkokbiznews.com/business/1006120

ดังนั้นการที่ภาครัฐให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเป็นสิ่งที่ควรที่จะต้องดำเนินต่อไป�ไม่ว่าจะเป็นการเยียวยาผู้ประกอบการภายในสนามบินของ�จาก�ทอท.�ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับตัวแทนภาครัฐเนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลสนามบิน�ที่ขยายระยะเวลาการเลื่อนการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน�ค่าเช่าพื้นที่�และค่าบริการต่างๆ�ให้กับผู้ประกอบการและสายการบินที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19�แต่ถ้ามองกันถึงมุมของผลกระทบที่สนามบินได้รับคำสั่งให้ปิดเป็นธุรกิจแรกๆ�เพราะนโยบายปิดประเทศนี่แหละ�แล้วก็ปิดมานาน�จนเพิ่งจะมาเปิดในเดือน�พ.ค.ที่ผ่านมา�มันเป็นไปไม่ได้ที่รายได้จะมีเหมือนเดิมจนทำให้สามารถที่จะจ่ายค่าเช่าหรือค่าตอบแทนในอัตราเดิมได้�ถ้าไม่มีการผ่อนปรนช่วยเหลือตรงนี้�ผู้ประกอบการอยู่กันไม่ได้แน่ๆ�
และถ้าอยู่กันไม่ได้�เท่ากับ�ทอท.�จะเสียผลประโยชน์ในระยะยาว�เพื่อให้เห็นตัวอย่างของการเสียผลประโยชน์ของ�ทอท.�ให้ชัดขึ้น�ก็จะขอยกตัวอย่างสนามบินอินชอน�เกาหลีใต้�สืบเนื่องจากที่สนามบินอินชอนได้มีการเปิดประมูลดิวตี้ฟรีในสนามบิน�ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ปริมาณผู้โดยสารที่อินชอนลดลงต่ำกว่า�7,000�ในขณะที่การจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีที่สนามบินร่วงลง�90%�เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคมและจะลดลงไปอีกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา�ก็เพราะผลกระทบจากโควิด�19�

ทำให้ดิวตี้ฟรีเจ้าใหญ่อย่าง�ลอตเต้�และชิลล่า�มองว่า�สถานการณ์นี้คือความเสี่ยงจึงได้ทำการถอนตัว��
ต่อให้มีการประมูลเกิดขึ้น�ผู้ประมูลที่รู้อยู่แล้วว่าตนเองจะเจอกับสถานการณ์อะไรในอนาคต�ก็จะมีการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ�ทำให้ทางสนามบินอินชอนก็ได้รับผลประโยชน์ที่ลดต่ำลง�เป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่สนามบินและร้านค้าปลีกผู้ให้บริการอื่นๆ�ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่คล้ายๆ�กัน��(ที่มา�shorturl.at/rxEFG)
ทาง�ทอท.�อาจจะเล็งเห็นถึงปัญหานี้ในอนาคต�จึงได้มีการออกมาตรการมาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบการในสนามบิน�อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาเท่าเดิม�ถึงจะแน่ใจแล้วว่าทุกฝ่ายเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง�




ตอนนี้ไม่มีเพียงแค่�ทอท.�เท่านั้นที่เยียวยา�กรรมการการบินพลเรือน�ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด�ก.คมนาคม�เป็นภาครัฐโดยตรง�ก็มีการร่างแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน�ปี�2565-2568�และร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญมากต่อการช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินและเศรษฐกิจ�ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน�ก็ออกมาเยียวยา�ช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบินเช่นเดียวกัน�ตามข่าวก็แบ่งออกเป็น�2�ด้าน�คือมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน�เช่นการปรับลดค่าบริการการบินของสนามบินและบริการการเดินอากาศ�ขยายเวลาชำระหนี้�และมาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบข้อบังคับ�เช่นยกเว้นมาตรการและแนวทางปฎิบัติในการขนส่งสินค้าภายในห้องโดยสารฯ�
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/884689/
จากการที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานภาครัฐโดยตรง�ได้ร่วมกันเยียวยาผู้ประกอบการสนามบิน�สายการบิน�ก็สะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้ยังคงมีภาวะโคม่า�น่าเป็นห่วงอยู่�นักท่องเที่ยวต่างชาติคือความหวังของประเทศ�ก็ได้แต่หวังว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ�ตามแผนที่คาดการณ์กันไว้�แล้วถ้าจะให้พีคยิ่งขึ้น�ก็ขอให้นักท่องเที่ยวสายเปย์อย่างประเทศจีนได้มีโอกาสกลับมาเที่ยวไทยอย่างเต็มที่�เห็นนักท่องเที่ยวมีความสุข�คนไทยก็มีความสุขไปด้วยจริงไหม?
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google