5 วิธีจัดการ ปัญหาเด็กติดเกม
26 ก.ย. 65 21:22 น. /
ดู 10,861 ครั้ง /
5 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์
การเล่นเกมเป็นการผ่อนคลายความเครียดและฝึกการใช้สมองได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเล่นไม่ถูกวิธีและใช้เวลาจดจ่อมากเกินไปทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่กำลังพบกับปัญหา ลูกติดเกม วันนี้เรามี 5 วิธีจัดการปัญหาเด็กติดเกมมาแนะนำ
เด็กที่มีอาการติดเกม จะมีพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างหลากหลาย อย่างเช่น
1. ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป จนทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่น
2. มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า เมื่อไม่ได้เล่นเกม
3. มีความต้องการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกมมากขึ้น เช่น เวลาในการเล่นเกม อุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้เล่นเกม
4. มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง และสมาธิสั้น
หากพ่อแม่ท่านใดพบว่าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ ลองทำตาม 5 คำแนะนำแก้ปัญหาเด็กติดเกม ดังนี้
1. พูดคุยกับลูกมากขึ้น
สาเหตุของการติดเกม ในเด็กบางคนเกิดจากความเหงา ไม่มีอะไรทำ พ่อแม่มีภาระหน้าที่หรือใช้ชีวิตแบบปล่อยปละละเลยความรู้สึกของลูกมากเกินไป เด็กจึงมองหาหนทางที่จะช่วยแก้เหงา ซึ่งการเล่นเกมก็เป็นทางออกที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย โดยการพูดคุยกับลูกนอกจากจะเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกแล้ว ยังช่วยเพิ่มความผูกพันในครอบครัวได้อีกด้วย
2. หากิจกรรมอย่างอื่นทำร่วมกัน
นอกจากการพูดคุยแล้ว การหากิจกรรมอย่างอื่นหรือกิจกรรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นทำร่วมกัน ก็จะช่วยให้ลดความน่าเบื่อ ทำให้ลูกรู้สึกสนุกและลืมการเล่นเกมได้นานมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากกิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นอย่างง่าย เปลี่ยนจากการเล่มเกมผ่านหน้าจอ เป็นการเล่นเกมอย่างอื่น เช่น บอร์ดเกมหรือเกมกีฬา ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมอบหมายหน้าที่สักหนึ่งอย่างให้กับลูก เพื่อฝึกความมีวินัย และช่วยให้มีกิจกรรมอย่างอื่นนึกถึง นอกจากการเล่นเกม
3. ศึกษาเกมที่ลูกเล่น
หากยังแก้ปัญหาลูกติดเกม ไม่ได้ ให้ลองเอาตัวเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับลูก คือเล่นเกมเดียวกันเลย เพื่อที่จะคุยกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งพอลูกรู้สึกว่ามีคนในบ้านให้พูดคุยด้วย การพูดคุยเรื่องอื่น ๆ รวมถึงการชักจูงให้ไปทำอย่างอื่น แทนการเล่นเกม ก็ไม่ใช้เรื่องยาก
4. จำกัดเวลาการเล่น
เมื่อลูกเริ่มรับฟังบ้างแล้ว แต่ยังมีความต้องการที่จะเล่นเกมอยู่ ลองหาแนวทางร่วมกัน การจำกัดเวลาการเล่น ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้แก้ปัญหาติดเกม ได้ ซึ่งควรมีการแยกอุปกรณ์ที่ลูกใช้แล่นเกมออกจากห้องนอน เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น
5. ปรึกษาจิตแพทย์
หากลูกมีอาการติดเกม ค่อนข้างหนัก พ่อแม่ไม่สามารถจัดการเองได้ในเบื้องต้น ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์ เพื่อตัดปัญหาที่จะเกิดตามมาหากปล่อยให้ลูกติดเกมต่อไป
หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหาเด็กติดเกม เป็นเรื่องเล็ก ๆ เดี๋ยวโตขึ้นก็หายเอง แต่การปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ จะส่งผลต่อทั้งตัวเด็ก คนในครอบครัว และสังคมได้ในระยะยาว การเร่งแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ อย่าปล่อยให้เป็นจุดกำเนิดของความสูญเสียอีกมากมายที่อาจตามมา
1. ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป จนทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่น
2. มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า เมื่อไม่ได้เล่นเกม
3. มีความต้องการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกมมากขึ้น เช่น เวลาในการเล่นเกม อุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้เล่นเกม
4. มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง และสมาธิสั้น
หากพ่อแม่ท่านใดพบว่าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ ลองทำตาม 5 คำแนะนำแก้ปัญหาเด็กติดเกม ดังนี้
1. พูดคุยกับลูกมากขึ้น
สาเหตุของการติดเกม ในเด็กบางคนเกิดจากความเหงา ไม่มีอะไรทำ พ่อแม่มีภาระหน้าที่หรือใช้ชีวิตแบบปล่อยปละละเลยความรู้สึกของลูกมากเกินไป เด็กจึงมองหาหนทางที่จะช่วยแก้เหงา ซึ่งการเล่นเกมก็เป็นทางออกที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย โดยการพูดคุยกับลูกนอกจากจะเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกแล้ว ยังช่วยเพิ่มความผูกพันในครอบครัวได้อีกด้วย
2. หากิจกรรมอย่างอื่นทำร่วมกัน
นอกจากการพูดคุยแล้ว การหากิจกรรมอย่างอื่นหรือกิจกรรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นทำร่วมกัน ก็จะช่วยให้ลดความน่าเบื่อ ทำให้ลูกรู้สึกสนุกและลืมการเล่นเกมได้นานมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากกิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นอย่างง่าย เปลี่ยนจากการเล่มเกมผ่านหน้าจอ เป็นการเล่นเกมอย่างอื่น เช่น บอร์ดเกมหรือเกมกีฬา ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมอบหมายหน้าที่สักหนึ่งอย่างให้กับลูก เพื่อฝึกความมีวินัย และช่วยให้มีกิจกรรมอย่างอื่นนึกถึง นอกจากการเล่นเกม
3. ศึกษาเกมที่ลูกเล่น
หากยังแก้ปัญหาลูกติดเกม ไม่ได้ ให้ลองเอาตัวเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับลูก คือเล่นเกมเดียวกันเลย เพื่อที่จะคุยกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งพอลูกรู้สึกว่ามีคนในบ้านให้พูดคุยด้วย การพูดคุยเรื่องอื่น ๆ รวมถึงการชักจูงให้ไปทำอย่างอื่น แทนการเล่นเกม ก็ไม่ใช้เรื่องยาก
4. จำกัดเวลาการเล่น
เมื่อลูกเริ่มรับฟังบ้างแล้ว แต่ยังมีความต้องการที่จะเล่นเกมอยู่ ลองหาแนวทางร่วมกัน การจำกัดเวลาการเล่น ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้แก้ปัญหาติดเกม ได้ ซึ่งควรมีการแยกอุปกรณ์ที่ลูกใช้แล่นเกมออกจากห้องนอน เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น
5. ปรึกษาจิตแพทย์
หากลูกมีอาการติดเกม ค่อนข้างหนัก พ่อแม่ไม่สามารถจัดการเองได้ในเบื้องต้น ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์ เพื่อตัดปัญหาที่จะเกิดตามมาหากปล่อยให้ลูกติดเกมต่อไป
หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหาเด็กติดเกม เป็นเรื่องเล็ก ๆ เดี๋ยวโตขึ้นก็หายเอง แต่การปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ จะส่งผลต่อทั้งตัวเด็ก คนในครอบครัว และสังคมได้ในระยะยาว การเร่งแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ อย่าปล่อยให้เป็นจุดกำเนิดของความสูญเสียอีกมากมายที่อาจตามมา
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google