อาการ และโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง

11 ต.ค. 65 16:44 น. / ดู 1,492 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

          โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง คืออาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 คืน/สัปดาห์ เป็นเวลานานมากกว่า 3 เดือน และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ โรคผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งโรคนอนไม่หลับแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ  คือ หลับยาก ,หลับแล้วตื่นและไม่สามารถหลับตามที่ร่างกายต้องการได้อีก ,ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้ และอย่างสุดท้ายคือมีหลากหลายแบบรวมกัน ซึ่งโรคนอนไม่หลับจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเกิดจากสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะมีประจำเดือน ขณะตั้งครรภ์ ขณะหมดประจำเดือน และภาวะสุขภาพ เช่น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กลั้นปัสสาวะลำบาก มีถุงน้ำที่รังไข่ และก็มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้สูงวัย สภาพแวดล้อมและการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ โดยโรคนอนไม่หลับเรื้อรังนั้นส่งผลร้ายต่อสุขภาพหลายด้านมาก ๆ จะมีด้านไหนบ้างนั้นเรามาดูกันเลยค่ะ
            โรคนอนไม่หลับเรื้อรังส่งผลเสียกับสุขภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.ซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด
2.ความจำ การเรียนรู้เสื่อมถอย
3.มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่สุข (hyperactivity) หรือก้าวร้าว
4.โรคหัวใจ
5.โรคความดันโลหิตสูง
6.โรคเบาหวาน
7.โรคสมองเสื่อม
8.อัมพฤกษ์ อัมพาต
9.โรคง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน
10.สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
11.น้ำหนักตัวเพิ่ม โรคอ้วน
12.หลับในหรือขาดสมาธิทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือขับขี่ยานพาหนะ

              อย่างไรก็ตามเนื่องจากแนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกาย สภาพจิตใจและปูมหลังของผู้ป่วย ซึ่งวิธีแก้ไขโรคนอนไม่หลับเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้ ต้องไม่พยายามนอน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพยายามจะนอนมากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดความกังวลขึ้น แล้วก็จะทำให้ขัดขวางการเข้าสู่การนอนเพิ่มขึ้น ,ปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอน แล้วตื่นนอนให้เหมาะสมกับการนอน ห้องนอนต้องไม่สว่างเกินไป ต้องมืดและเงียบ แล้วก็มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป ,สำรวจหาพฤติกรรมที่เป็นผลเสียต่อการนอน เช่น การดื่มกาแฟก่อนนอน ออกกำลังกายในช่วงเวลากลางคืน และนอนในเวลากลางวัน หากทำวิธีต่าง ๆ เหล่านี้แล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาให้ลึกและเจาะจงเข้าไปอีกเพื่อให้ได้ผลรับที่ดีที่สุดกับตัวผู้ป่วยค่ะ

#โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google