โค้งตาบาง ป่าชุมชนที่ควรไปสัมผัส

26 ม.ค. 66 15:45 น. / ดู 13,581 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ป่ากับชุมชนแม้กฎหมายจะอายุกว่า 28 ปี แต่วิถีคนกับป่ามีมาเป็นหลายร้อยหลายพันปี เมื่อเกิดสังคมเมือง คนก็เริ่มใช้ทรัพยากรจากป่าไม้เพื่อสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งการยังชีพ ไปจนถึงสร้างความสะดวกสบาย เมื่อคนเพิ่มขึ้นป่าไม้และสัตว์ป่าก็ลดลงตามความต้องการทรัพยากรอย่างไม่รู้จบจนทรัพยากรและระบบนิเวศสื่อมถอยลง
มนุษย์เราหวนคืนไปสู่ชีวิตแบบพันปีไม่ได้ แต่ภัยพิบัติต่างๆอาจทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ได้ แต่มีทางออก คือการที่มนุษย์ต้องรู้จักการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคงรักษาสภาพของทรัพยากรนั้นไว้ คือ "ป่าชุมชน"

แนวคิดป่าชุมชน  บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกฯผู้ล่วงลับ ที่เริ่มผลักดันกฎหมายป่าชุมชน ตั้งแต่ปี 2538 นับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันนี้ ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยจัดตั้งป่าชุมชนไปแล้วกว่า 11,327 แห่ง ภายใต้การดูแลอนุรักษ์กว่า 13,028 หมู่บ้าน เนื้อที่รวม 6.29 ล้านไร่ และเตรียมสานต่อให้ถึงเป้าหมาย 15,000 แห่ง รวม 10 ล้านไร่

ซึ่งแนวคิดหลักของป่าชุมชนคือการให้คนใช้ป่าในการเป็นเครื่องมือทำมาหากินควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรไม่ให้หมดไปโดยตัวอย่างที่เห็ได้ชัดอย่างโครงการ  "ป่าโค้งตาบาง" ในจังหวัดเพชรบุรี

           
  โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดกิจกรรม "Kick off ป่าชุมชนแห่งแรก สู่ตลาดคาร์บอนเครดิต" บริเวณป่าชุมชนบ้านโค้งตาบาง จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นป่าชุมชนแห่งแรกที่มีการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยผลจากการที่ชุมชนเข้ามามีบทบาทปกป้องรักษาป่าชุมชน อนุรักษ์ควบคุมดูแล ปลูกฟื้นฟูป่าชุมชนมาตลอด 7 ปี ทำให้ป่าชุมชนบ้านโค้งตาบางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า ความเสื่อมโทรมของป่า และเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน ที่มีคาร์บอนเครดิตได้รับการรับรอง 5,259 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จึงเป็นป่าชุมชนแห่งแรกของประเทศไทยที่พร้อมเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งประเทศไทยมีป่าชุมชนที่มีศักยภาพขึ้นทะเบียน T-VER อีก 16 ชุมชน ส่วนในปี 2564 - 2565

  อยู่ระหว่างพิจารณาขึ้นทะเบียน T-VER ให้กับป่าชุมชนอื่นๆ ปัจจุบันไทยมีป่าชุมชนแล้ว 12,117 แห่งทั่วประเทศ สามารถรักษาพื้นที่ป่าไม้ได้ 6.64 ล้านไร่ หากดำเนินการทุกพื้นที่รวมกันจะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไว้ได้ 42 ล้านตันคาร์บอน คาดว่า จะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 6.27 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

และที่น่าสนใจคือ มีการขายคาร์บอนเครดิตร และมีรายได้กลับไปสู่ชุมชนปีละไม่ต่ำกว่า 7 - 8 ล้านบาทต่อปีนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก โครงการนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากคนในพื้นที่ และที่ปรึกษาอย่าง ดร.ยุทธพล อังกินันท์ ที่เป็นที่ปรึกษาและเป็นคนในพื้นที่ที่ได้ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย แม้จะเป็นเพียงพื้นที่หนึ่งแต่คิดว่า ในอนาคตเราจะมีพื้นที่ชุมชนเพิ่มขึ้นตามเป้าที่ได้วางเอาไว้อีกทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติที่ยั่งยืนต่อไป
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz463257 | 26 ม.ค. 66 21:45 น.

  สุดยอด

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google