ยางกินใน ปัญหาที่ทำให้เกิดอันตรายในการขับขี่รถยนต์

12 มี.ค. 66 14:26 น. / ดู 2,708 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ยางกินในเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้การขับขี่นั้นอันตรายเป็นอย่างมากเพราะการทำงานของระบบเบรก และระบบกันสะเทือนของช่วงล่างของรถยนต์ มีผลต่อประสิทธิภาพของ ยางรถยนต์ ของคุณ เพราะหน้าสัมผัสของยางรถยนต์ได้รับการออกแบบให้สัมพันธ์กับขนาดและน้ำหนักของรถของคุณ เมื่อเกิดปัญหายางกินใน หรือหน้ายางด้านในสึกหรอนั้นจะทำให้หน้าสัมผัสดอก ยางรถ ที่สัมผัสกับพื้นถนนจะลดลง จึงทำให้การควบคุมพวงมาลัยเกิดประสิทธิภาพด้อยลง และระยะการเบรกจะเพิ่มขึ้น การขับขี่จึงเกิดอันตรายมากขึ้นนั่นเอง
ป้องกันอันตรายจากการขับขี่รถยนต์ที่มีปัญหายางกินในหรือหน้ายางสึกหรอไม่สม่ำเสมอได้เพียงแค่ดูแลและเช็คยางอย่างสม่ำเสมอ

1. โดยการเกิดอาการ ยางกินใน ก็จะมีสาเหตุมาจาก
สาเหตุหลักของ ยางกินขอบใน ทักจะมาจากปัญหาจากการตั้งศูนย์ล้อที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดมุมล้อที่ดึงไปด้านใดด้านหนึ่งผิดปกติ และทำให้เกิดการสึกหรอ สาเหตุถัดมาก็จะมักจะมาจากชิ้นส่วนของระบบกันสะเทือนสึกหรอ หรือโค้งงอผิดปกติ หรือมาจากการเกิดสนิมสะสมระหว่างโรเตอร์เบรคดิสก์ และดุมล้อ มาจากล้อคดงอเสียหายหรือแบริ่งล้อแตก มาจากล้อดุมล้อสึกหรอ ทำให้มุมแคมเบอร์ของล้อ ผิดปกติและเกิดการสึกหรอของยางรถผิดปกติ

2. การป้องกันการเกิดยางกินใน
แนะนำว่าผู้ขับขี่ควรจะเข้าทำการตั้งศูนย์ล้อโดยเฉพาะศูนย์บริการมาตรฐานอย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งสลับ ยางรถ ทุก ๆ 6 เดือน หรือทุก ๆ 8,000 กิโลเมตร และหลีกเลี่ยงนิสัยการขับรถ เบรกที่กระชากรุนแรง และจะต้องคอยสังเกตการสั่นสะเทือนของรถ ในขณะที่รถวิ่งในระดับความเร็วปานกลางบนท้องถนนเป็นระยะ ๆ เพื่อสังเกตและตรวจจับความผิดปกติ รวมถึงตรวจสอบ ล้อและยางอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน

เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะช่วยเรื่องปัญหายางกินในเราสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการตรวจยางอย่างเป็นประจำ สร้างความปลอดภัยในการขับขี่ให้กับคุณและผู้โดยสารได้มากขึ้น รวมทั้งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย อย่าลืมว่าปัญหา ยางกินใน นั้น ในที่สุดแล้วก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลและแก้ม ยางรถยนต์ โค้งงอ ซึ่งจะนำไปสู่การระเบิดได้ และจะกลายเป็นปัญหาที่เป็นอันตรายสร้างความเสียหายอย่างใหญ่ แนะนำให้คุณป้องกันและเลือกยางรถยนต์ราคายางรถยนต์ที่ถูกใจเสียตั้งแต่วันนี้
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 13 มี.ค. 66 23:51 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google