สัตวแพทย์ ย้ำระบบการเลี้ยงปลาทับทิมมีมาตรฐาน ปลอดภัย ใสใจสัตว์-ผู้บริโภค-สิ่งแวดล้อม
4 ก.ย. 66 09:31 น. /
ดู 12,687 ครั้ง /
1 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์

"ปลา" ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารชั้นเลิศ เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย อุดมด้วยกรดไขมันชนิดดี แร่ธาตุ และวิตามินที่สำคัญ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับความต้องการบริโภคอาหารที่ดีเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดตามเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรผู้เลี้ยงมีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการเลี้ยงตามระบบมาตรฐาน คำนึงถึงสุขภาพสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ อาทิ นวัตกรรม In-Pond Raceway System (IPRS), Recirculating aquaculture systems (RAS) หรือ Biofloc system ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงปลาในระบบปิด มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้พื้นที่ ลดข้อจำกัดด้านการจัดการคุณภาพน้ำ การให้อาหาร การควบคุมโรค การจัดการของเสีย รวมถึงการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาในประเทศไทยสู่ตลาดโลก
ในการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงปลาต้องได้รับอนุญาตจากกรมประมง และปฏิบัติตามระบบมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) เพื่อให้ระบบการเลี้ยงมีความยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมประมง และ/หรือ มกอช. มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานประกอบไปด้วย 1) สถานที่ต้องมีความเหมาะสม 2) การจัดการฟาร์มที่ดี ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3) อาหาร วิตามิน ต้องปราศจากการปนเปื้อนของยาและสารต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กระบวนการถูกสุขอนามัยปลอดภัยต่อสัตว์น้ำและผู้บริโภค 4) เกษตรกรต้องมีความรู้และเข้าใจเมื่อเกิดปัญหาการติดเชื้อในสัตว์น้ำ สามารถจัดการลดความรุนแรงโรคได้ 5) ให้ความสำคัญในการจัดการสุขอนามัยฟาร์ม ด้านการปนเปื้อนเชื้อจากขยะสิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายที่อาจปนเปื้อนลงสู่บ่อเลี้ยงได้ 6) การจับและการขนส่งที่ดีจะช่วยทำให้สัตว์น้ำมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย 7) มีการเก็บข้อมูลการเลี้ยง การให้อาหาร การตรวจสุขภาพ การใช้ยาและสารเคมีอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องให้ความสำคัญในทุกระบวนการตั้งแต่การเลี้ยง การจัดการฟาร์ม การขนส่ง การทำให้เสียชีวิต รวมถึงการจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ที่มีความสำคัญอย่างมากในวงการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน เช่น มีพื้นที่กว้างขวางพอที่สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมอย่างอิสระ ให้อาหารอย่างเพียงพอ มีการควบคุมป้องกันโรคไม่ให้สัตว์เจ็บป่วย ไม่เครียด ในอีกแง่มุมผู้เลี้ยงควรมองว่า สัตว์ที่เราเลี้ยงนั้นให้คุณประโยชน์มากมาย นอกจากสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้มนุษย์เราได้ดำรงชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่า จึงต้องให้ความสำคัญ ตระหนัก ใส่ใจสุขภาพสัตว์ที่เราเลี้ยงอย่างดีที่สุด
สุดท้ายอยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าระบบการเลี้ยงปัจจุบันมีมาตรฐาน ระบบการจัดการฟาร์มที่มีการควบคุม ตรวจติดตาม ทำให้มั่นใจในคุณภาพเนื้อได้ว่าปราศจากยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค รวมถึงให้ความใส่ใจครอบคลุมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือของเสียที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างแน่นอน
Cr.https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-886025
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google