การตรวจมวลกระดูกในผู้สูงอายุ เพื่อดูความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
6 ต.ค. 66 15:42 น. /
ดู 2,360 ครั้ง /
1 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์

กระดูกจัดว่าเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ต่อร่างกายของเรา เพราะเป็นโครงสร้างหลักที่สนับสนุนร่างกาย ทำให้เราสามารถยืน, นั่ง, และเคลื่อนไหวได้ และยังทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในร่างกายของเราได้ด้วย อย่าง กระโหลกปกป้องสมอง, กระดูกหลังปกป้องไขสันหลัง, และกระดูกริบปกป้องหัวใจและปอด เป็นต้น นอกจากนี้กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุที่สำคัญต่างๆ เอาไว้มากมาย เช่น แคลเซียม,ฟอสฟอรัส และสามารถปล่อยเข้าสู่กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้เมื่อจำเป็น และกระดูกยังทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมในการเจริญเติบโตให้กับร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องดูแลสุขภาพของกระดูกให้ดี ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรไปตรวจมวลกระดูก ว่ามีปัญหาในด้านใด หรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาและดูแลได้อย่างทันท่วงที และถูกจุดค่ะ
ซึ่งค่าความหนาแน่นมวลกระดูก ที่วัดได้จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติในกลุ่มคนเฉลี่ยที่ อายุ 30 40 ปี ที่มีเชื้อชาติเดียวกัน หรือเชื้อชาติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมันจะเป็นเป็นจำนวนของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ที่เรียกว่า T- score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าในการวินิจฉัยโรค ดังนี้
ค่า T score มากกว่า -1 = ความหนาแน่นกระดูกปกติ (Normal bone)
ค่า T score ที่อยู่ต่ำกว่า -1 แต่สูงกว่า -2.5 = กระดูกบาง (Osteopenia)
ค่า T score ต่ำกว่า -2.5 = โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ช่วงวัยที่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก
โดยช่วงอายุของผู้หญิงที่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก อายุควรเริ่มตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป โดยการตรวจจะใช้เครื่องตรวจที่เรียกว่า Bone densitometer เป็นเครื่องมือการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่งซึ่ง เครื่อง Bone densitometer มีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือแบบที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner โดยตำแหน่งที่จะตรวจ คือ บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก เนื่องจากบริเวณเหล่านี้มักพบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อยค่ะ
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
1. ควรสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม, กุ้งแห้ง, ปลาตัวเล็กๆ, งาดำ, ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบร็อคโคลี่ (เป็นกลุ่มผักที่มีแคลเซียมสูง)
2. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และสม่ำเสมอ
3. งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การตรวจมวลกระดูก หรือการวัดความหนาแน่นของกระดูก ช่วยให้สามารถรู้ได้ว่า กระดูกของเรามีปัญหาหรือไม่ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนรึเปล่า เพื่อที่จะได้ทำการดูแล และรักษาให้ไวที่สุด ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายจนเกิดความเสียหายในด้านอื่น ๆ ตามมาค่ะ
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google