ข้อควรปฎิบัติหากคุณไม่อยากเป็นโรคหัวใจ
25 ต.ค. 66 17:27 น. /
ดู 1,849 ครั้ง /
1 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์

โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ แบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง
ไม่ควรสูบบุหรี่
อย่าให้ความดันโลหิตสูง
อย่าให้มีไขมันในเลือดสูงเกินไป
หากเป็นโรคเบาหวานควรควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
อย่าปล่อยให้มีภาวะโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินปกติ
ไม่ควรเครียด
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว
สตรีที่ทานยาคุมกำเนิด
ไม่ควรรับประทานอาหารเค็มจัด
กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็มักจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจตามไปด้วย
อายุ โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
สัญญาณเตือนอาการเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเวลาเดินเร็วๆ จะหายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา หรืออาจจะเป็นขณะออกกำลังกาย หากใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งอาการโรคหัวใจจะเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก หรืออาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ขา และเท้าจะบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ
การป้องกันและการรักษาโรคหัวใจ
ทั้งนี้เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ด้วยตนเอง จากการเปลี่ยนแปลงการใชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรที่จะต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรที่จะต้องตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ส่วนในด้านการรักษาโรคหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและระดับความรุนแรง รวมถึงการรับประทานยา การผ่าตัด หรือการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ
สรุป
การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นควรเฝ้าสังเกตอาการตนเองให้ดี ๆ ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจไหม หากรับรู้ได้เร็ว ก็จะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพไปมากกว่านี้ ก็ควรที่จะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคุณเองด้วย อย่างเช่น การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือดีต่อหัวใจ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ เป็นต้น เพื่อสุขภาพที่ดีปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ค่ะ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/heart-attack-early-diagnosis.php
แก้ไขล่าสุด 25 ต.ค. 66 17:27 |
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google