"เจน" หญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 ตำแหน่ง Mechanic
20 ส.ค. 67 16:47 น. /
ดู 1,329 ครั้ง /
2 ความเห็น /
1 ชอบจัง
/
แชร์
นางสาวเสาวลักษณ์ ณ คำพล ชื่อเล่น "เจน" ชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นสมาชิกหญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 แชมป์โลกสมัยที่ 10 และอีก 2 รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมระดับโลก คือรางวัล Best in class mobility (รางวัลนวัตกรรมสมรรถนะการขับเคลื่อนยอดเยี่ยมระดับโลก) และรางวัล Best in class Dexterity (รางวัลสมรรถนะการทำงานแขนกลยอดเยี่ยมระดับโลก เมื่อวันที่ 16-21 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ "เจน" จะอยู่ตำแหน่งที่เป็น Mechanic ของทีมหุ่ยนต์กู้ภัยจะช่วยดูส่วนของฐานการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ เพราะการออกแบบหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ต้องมีสมรรถนะการขับเคลื่อนที่ยอดเยี่ยม และทำงานได้อย่างรวดเร็ว เคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง นอกเหนือจากนั้นก็ดูแลในส่วนของการติดต่อและประสานการขอสปอนเซอร์ และช่วยเหลืองานทั่วไปในทีมค่ะ สไตล์สาวลุคสดใส ร่าเริง เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เป็นคนสบาย ๆ ชิลล์ ๆ สุดคลู สามารถพูดคุยได้กับทุกคน และผลการเรียนของ "เจน" หญิงเดียวในทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot
ก็ไม่ธรรมดาเรียนเก่งเรียนดีได้เกียรตินิยม อันดับที่ 2
"เจน" เล่าให้ฟังว่า เริ่มทำหุ่นยนต์ครั้งแรกตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล มจพ. จากการสมัครเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน โดยสอบตรงเข้าเรียน ปวช. โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และยื่นโควตาหุ่นยนต์ ในระดับปริญญาตรี จุดเริ่มต้นที่เข้ามาอยู่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยและเริ่มทำหุ่นยนต์นั้น เกิดจากในตอนนั้นมีอาจารย์เข้ามาชวนไปดูการทำงานของทีมหุ่นยนต์ของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เป็นช่วงที่พี่ ๆ เตรียมไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่เวทีนานาชาติที่สิงค์โปร์กัน "จึงได้โอกาสเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากตอนนั้นมาเรื่อย ๆ และเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในอีกหลายรายการหลังจากครั้งนั้น" ช่วงที่เข้าร่วมทีมแข่งขันหุ่นยนต์ก็ตอนเรียน ปวช. พอดีได้รับความช่วยเหลือหลายอย่างจากรุ่นพี่ในทีม iRAP Robot ทำให้ได้เห็นและได้ลองจากประสบการณ์จริง และทำงานในบางส่วนก็ตรงนั้น ๆ เลยตั้งแต่ตอนนั้น จนกระทั่งเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ก็ได้เริ่มเข้ามาทำอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกกับทีม iRAP Robot หลังจากนั้นก็เข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดจนมาถึงการแข่งขัน World RoboCup Rescue 2024 ซึ่งขณะนั้นเรียนปี 4
ประสบการณ์การแข่งขันครั้งแรกตอนปี 1 เป็นเวทีการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563 หรือ การแข่งขัน TPA ROBOT 2020 ก็จะคลุกคลีการแข่งขันหุ่นยนต์กับช่วยงานของชมรมหุ่นยนต์ iRAP มาโดยตลอด เช่น CRU robot TPA ABU ในปีต่อ ๆ มา
"เจน" บอกว่าทุก ๆ ผลงานที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมหุ่นยนต์ iRAP Robot ประทับใจและชื่นชอบทุกรายการที่ได้ทำมาตลอดค่ะ เพราะ "พวกเรานั้นเต็มที่กับงานที่ได้ทำเสมอ" และสิ่งที่ประทับใจนั้นคงเป็นบรรยากาศทั้งในตอนที่ทำงานและตอนที่เราเห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ค่ะ "เพราะคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดนั้นคือ ตัวเราเอง !!!" จากหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เราโตขึ้นทุกครั้งคงเป็นตอนที่เราทำงานพลาด ในสภาวะนั้นคือจุดที่ทำให้เรารับรู้ถึงความกดดันที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมาถ้าหากว่าเราตัดสินใจช้าเกินไป และการยอมรับความผิดพลาดของตนเองก้าวต่อไปลงมือทำให้เยอะขึ้นจะเป็นคำพูดของทีมเราเสมอ ทุกคนเป็นคนที่เต็มที่และจริงจังกันเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่นหรือเรื่องงาน
คนเก่งนั้นก็สำคัญ แต่เชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นคนที่เก่งและมีความสามารถได้เสมอ สิ่งที่เราต้องการ คือ การที่เราสามารถทำงานและพูดคุยกันได้อย่างเข้าใจกัน มีความรับผิดชอบในงานของตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ได้จากการทำหุ่นยนต์และอยู่ในชมรมนี้มาตลอด 4 ปี iRAP ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นผู้คน "เจน" กล่าวท้ายที่สุด
ขวัญฤทัย ข่าว-ภาพ
ก็ไม่ธรรมดาเรียนเก่งเรียนดีได้เกียรตินิยม อันดับที่ 2
"เจน" เล่าให้ฟังว่า เริ่มทำหุ่นยนต์ครั้งแรกตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล มจพ. จากการสมัครเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน โดยสอบตรงเข้าเรียน ปวช. โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และยื่นโควตาหุ่นยนต์ ในระดับปริญญาตรี จุดเริ่มต้นที่เข้ามาอยู่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยและเริ่มทำหุ่นยนต์นั้น เกิดจากในตอนนั้นมีอาจารย์เข้ามาชวนไปดูการทำงานของทีมหุ่นยนต์ของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เป็นช่วงที่พี่ ๆ เตรียมไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่เวทีนานาชาติที่สิงค์โปร์กัน "จึงได้โอกาสเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากตอนนั้นมาเรื่อย ๆ และเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในอีกหลายรายการหลังจากครั้งนั้น" ช่วงที่เข้าร่วมทีมแข่งขันหุ่นยนต์ก็ตอนเรียน ปวช. พอดีได้รับความช่วยเหลือหลายอย่างจากรุ่นพี่ในทีม iRAP Robot ทำให้ได้เห็นและได้ลองจากประสบการณ์จริง และทำงานในบางส่วนก็ตรงนั้น ๆ เลยตั้งแต่ตอนนั้น จนกระทั่งเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ก็ได้เริ่มเข้ามาทำอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกกับทีม iRAP Robot หลังจากนั้นก็เข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดจนมาถึงการแข่งขัน World RoboCup Rescue 2024 ซึ่งขณะนั้นเรียนปี 4
ประสบการณ์การแข่งขันครั้งแรกตอนปี 1 เป็นเวทีการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2563 หรือ การแข่งขัน TPA ROBOT 2020 ก็จะคลุกคลีการแข่งขันหุ่นยนต์กับช่วยงานของชมรมหุ่นยนต์ iRAP มาโดยตลอด เช่น CRU robot TPA ABU ในปีต่อ ๆ มา
"เจน" บอกว่าทุก ๆ ผลงานที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมหุ่นยนต์ iRAP Robot ประทับใจและชื่นชอบทุกรายการที่ได้ทำมาตลอดค่ะ เพราะ "พวกเรานั้นเต็มที่กับงานที่ได้ทำเสมอ" และสิ่งที่ประทับใจนั้นคงเป็นบรรยากาศทั้งในตอนที่ทำงานและตอนที่เราเห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ค่ะ "เพราะคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดนั้นคือ ตัวเราเอง !!!" จากหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เราโตขึ้นทุกครั้งคงเป็นตอนที่เราทำงานพลาด ในสภาวะนั้นคือจุดที่ทำให้เรารับรู้ถึงความกดดันที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมาถ้าหากว่าเราตัดสินใจช้าเกินไป และการยอมรับความผิดพลาดของตนเองก้าวต่อไปลงมือทำให้เยอะขึ้นจะเป็นคำพูดของทีมเราเสมอ ทุกคนเป็นคนที่เต็มที่และจริงจังกันเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่นหรือเรื่องงาน
คนเก่งนั้นก็สำคัญ แต่เชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นคนที่เก่งและมีความสามารถได้เสมอ สิ่งที่เราต้องการ คือ การที่เราสามารถทำงานและพูดคุยกันได้อย่างเข้าใจกัน มีความรับผิดชอบในงานของตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ได้จากการทำหุ่นยนต์และอยู่ในชมรมนี้มาตลอด 4 ปี iRAP ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นผู้คน "เจน" กล่าวท้ายที่สุด
ขวัญฤทัย ข่าว-ภาพ
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google