ก๊อต - จิรายุ ตันตระกูล

ระบบการศึกษา
ต้องมีการควบคุมหลักสูตร
โดยต้องมั่นใจว่าหลักสูตรจะต้องไม่ทำให้คนฉลาดเกิน
และมีอิสรภาพทางความคิดจนควบคุมยาก
ในขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่า
เมื่อคนออกจะระบบไปแล้ว
จะต้องมีชุดความคิดแบบชนชั้นแรงงาน
ชนิดที่ฝังลึกอยู่ในตัวจนยากจะเอาออก
ลักษณะของผู้ที่ผ่านระบบนี้ออกมา:
• เชื่อคำลวงง่าย
• คิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างผิวเผิน
• กลัวผิดพลาด
• ขาดความสามารถในการนำตนเอง

เพราะหากหลักสูตรใดทำให้คนฉลาดเกินไป
พวกเขาจะเริ่มตั้งคำถามต่อระบบ
และมองเห็นความไม่ยุติธรรมที่แฝงอยู่
และนั่นจะทำให้ชนชั้นนำควบคุมหรือหาประโยชน์จากแรงงานได้ยากขึ้น

นี่คือเหตุผลที่หลักสูตรต้องถูกควบคุม
และผลลัพธ์ของหลักสูตรที่ถูกควบคุมก็ประจักษ์ชัดในสังคมทุกวันนี้

คำว่า “ระบบ”กับ“การศึกษา”: สองสิ่งที่แตกต่าง
อย่าได้เข้าใจผิดว่าข้อความนี้ปฏิเสธ “การศึกษา”
แท้จริงแล้วมันชี้ให้เห็นว่า “ระบบ” กับ “การศึกษา” เป็นคนละสิ่ง
• ระบบ คือ โครงสร้างที่ควบคุมจากต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
• การศึกษา คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การทดลอง การคิดวิเคราะห์ และการตระหนักรู้

เมื่อระบบถูกนำมาเชื่อมกับการศึกษา
มันไม่ได้ต้องการให้คนฉลาดขึ้น
แต่ต้องการให้คนเชื่องขึ้น

การศึกษาที่แท้จริง ควรเป็นการศึกษานอกระบบ
ที่ไม่ถูกควบคุมด้วยหลักสูตรที่สร้างมาเพื่อผลิตชนชั้นแรงงาน
แต่ป็นการศึกษาที่มีแรงขับมาจากความต้องการภายในหรือความชื่นชอบส่วนตัว #ความไว้ใจต่อระบบจะมีก็ต่อเมื่อคนไม่รู้เจตนาของระบบ #คอมเม้นอย่างผู้เจริญ

โพสต์เมื่อ
7 พ.ค. 68 - 10:10:37
ถูกใจ
5,807 คน
ความคิดเห็น
48 ข้อความ