เกร็ดน่ารู้จาก Doomsday

เกร็ดน่ารู้
  • เรื่องนี้ถ่ายทำหลักในแอฟริกาใต้ ที่เต็มไปด้วยสถานที่ที่หลากหลาย ทั้งในแง่โครงสร้างและดินแดน โดยถ่ายทำกันในหน้าร้อน เดือนมกราคม เป็นเวลา 66 วัน แล้วย้ายไปถ่ายทำในสก๊อตแลนด์ 2 สัปดาห์ และถ่ายทำเพิ่มอีกในลอนดอน
  • ในแอฟริกาใต้ ทีมการผลิตมีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลเป็นอย่างดี มีการปิดใจกลางเมืองตอนบ่ายวันเสาร์เพื่อทำให้ทางเท้าโล่ง และไม่ให้มีรถวิ่ง มีการตกแต่งสวนสนุกให้เหมือนกับถ้ำของคนชั่วร้าย ใช้นักแสดงประกอบที่นั่นนับพันคน
  • ทีมงานใช้ศาลากลางเมืองเคปทาวน์ เป็นฉากภายนอกของโรงพยาบาลเซนต์แอนดรูว์ ในเมืองกลาสโกว์ เป็นระเบียงเดียวกับที่ เนลสัน แมนเดล่า มาพบปะผู้คนตอนที่ถูกปล่อยตัวออกจากคุก ทว่าผู้ชมภาพยนตร์จะได้เห็นนั้นเป็นฉากกลางคืน และที่แห่งเดียวกันนั้นกลายสภาพเป็นที่ร้าง ปกคลุมไปด้วยหญ้า กระจกที่แตกพัง และมีรถจำนวนมากเต็มถนนข้างนอก ตึกรามถูกเผาและตกแต่งด้วยใบไม้
  • เรื่องนี้ยังคงใช้ตัวแสดงแทนในฉากที่อันตราย ไม่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกเหมือนที่นิยมกันทั่วไป ไม่มีการใช้จอเขียวและไม่มีสลิง ในเรื่องมีคอมพิวเตอร์กราฟฟิกปนอยู่บ้าง แต่ผู้กำกับไม่ต้องการเน้นเทคนิคนี้
  • ผู้อำนวยการสร้าง สตีเฟ่น พอล ให้ความเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์สยองขวัญที่นิยมกันในยุค 70 ถึงต้นยุค 80 อาทิเรื่อง Escape From New York (1981), The Worriors (1979), The Omega Man and Mad Max (1971) หรือผลงานภาพยนตร์ของผู้กำกับในยุคดังกล่าวอย่าง จอห์น คาร์เพนเตอร์ และ จอร์จ มิลเลอร์
  • ในเรื่องมีนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ ของผู้กำกับ นีล มาร์แชล มาร่วมแสดงด้วยหลายคน อาทิ ชอน เพิร์ตวี, เครก คอนเวย์, เมียนน่า เบอริง และ ดาร์เรน มอร์ฟิตต์ ส่วน บ็อบ ฮอสกินส์ และมัลคอล์ม แมคโดเวลล์ ไม่เคยแสดงกับนีลมาก่อน
  • โรห์น่า มิตรา ได้รับแรงบันดาลใจจาก ลินดา ฮามิลตัน ใน Terminator (1984) และ ซิกอร์นีย์ วีเวอร์ ใน Alien (1979) ในระหว่างการถ่ายทำ และได้รับอิทธิพลจากจากนักแสดงชายสองคน คือ เมล กิบสัน และ แฮร์ริสัน ฟอร์ด
  • เรื่องนี้ต้องการตัวประกอบ 50 คนในวันแรกและเกือบพันคนในฉากต่อๆ มา ต้องใช้สถานที่ถ่ายทำหลายที่ ทั้งถนน ป่า ภูเขา วัง และในเรือ
  • ผู้กำกับ นีล มาร์แชล เลือกที่จะทำงานกับคนเบื้องหลังหลายคนที่เขาเคยร่วมงานด้วยมาแล้ว รวมถึง ผู้กำกับภาพ แซม แมคเคอร์ดี้, ผู้ออกแบบงานสร้าง ไซมอน โบว์เลส และผู้ออกแบบการแต่งหน้า พอล ฮเยตต์ เนื่องจาก นีล ชอบทำงานกับเพื่อนที่เข้าขาและรู้ใจกัน
  • หลายเดือนก่อนการถ่ายทำสำคัญจะเริ่ม คณะผู้ผลิตร่างภาพวาดและสตอรี่บอร์ดไว้ทุกๆ ฉาก โดยเฉพาะฉากแอ็กชั่น ทว่าเมื่อถ่ายทำจริง กลับไม่ได้ใช้ภาพวาดและสตอรี่บอร์ดมากนัก เพราะผู้กำกับต้องการที่จะเปิดหาแนวทางใหม่ๆ ในการถ่ายทำ และอนุญาตให้นักแสดงเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างค่อนข้างอิสระ
  • ในเรื่องมีช่วงเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกันถึงห้าแบบ ได้แก่ สก๊อตแลนด์ในยุคปัจจุบัน ลอนดอนในอีก 25 ปีข้างหน้า ซึ่งจะแยกออกเป็นอีกสองส่วน คือเมืองตำรวจที่ยากจน และที่ของนักรบแห่งอนาคต สก๊อตแลนด์ในอนาคต มีที่ของพวกมารอเดอรส์ คือกลุ่มคนทรยศ และสุดท้ายคือ ที่วังของเคนที่ผู้รอดชีวิตถูกรักษาอย่างทันสมัยในแบบยุคกลาง
  • ผู้ออกแบบงานสร้าง ไซมอน โบว์เลส ได้สร้างพาหนะขึ้นมาแบบหนึ่งเรียกว่า กริลเลอร์ คิลเลอร์ ที่ชอน เพิร์ตวี จะต้องแสดงด้วยการถูกแขวนไว้บนรถยกและถูกลดต่ำลงมาเหนือเปลวไฟเพื่อย่างสด มีฝูงชนเข้าแถวพร้อมจานในมือ ในฉากประกอบด้วยรถเสียๆ หัวกระโหลก รูปปั้นโลหะ กราฟฟิตี้ และเครื่องเรือนเก่าๆ มีตัวประกอบนับร้อยคน ที่ถูกจับแต่งหน้าแต่งตัวให้เป็นฝูงชนที่บ้าคลั่ง เป็นฉากที่ดูคล้ายส่วนผสมของ Moulin Rouge (2001) กับ The Wicker Man (1973)
  • ฉากที่ตัวละคร เบนต์ลีย์ และกลุ่มของเธอขับรถหนีพวกมารอเดอรส์ในเรื่องถือเป็นอีกหนึ่งฉากที่ถ่ายทำยาก ใช้กล้องในการถ่ายทำพร้อมกันถึง 10 ตัว
  • สามสัปดาห์สุดท้ายในการถ่ายทำในแอฟริกาใต้ใช้ไปกับฉากหนี เป็นสถิติการถ่ายทำหนึ่งฉากที่ยาวนานที่สุดของผู้กำกับ นีล มาร์แชล แต่ละวันของการถ่ายทำมีฉากการใช้นักแสดงแทนที่อันตราย แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บขณะการถ่ายทำเลย
  • โรห์น่า มิตรา ผู้แสดงบทนางเอกของเรื่อง ใช้เวลา 3 เดือนก่อนหน้าการถ่ายทำในยิม ฝึกหัดการต่อสู้ การขับรถ และฝึกกับนักแสดงแทน ควบคู่ไปกับการฝึกความอดทนและความแข็งแรงของร่างกาย
  • สำหรับการแต่งหน้าผู้ป่วยในเรื่อง ผู้ออกแบบการแต่งหน้า พอล ฮเยตต์ ได้สำรวจอาการทั่วไปของโรคผิวหนังหลายๆ โรคจากทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะโรคจากการติดเชื้อรา และกามโรค แล้วลองแต่งหน้าหลายๆ แบบ เพื่อมาทดสอบภาพที่ได้จากกล้อง จากนั้นให้ผู้กำกับเลือกแบบที่ชอบที่สุด มีการดึงตาลงมาให้ดูเหมือนติดเชื้อจนค่อยๆ สูญเสียเปลือกตา มีการใช้คอนแทกเลนส์เข้ามาช่วยเรื่องเทคนิคพิเศษสีเหลืองด้วย
  • การแต่งตัวของตัวละครในเรื่อง ได้รับอิทธิพลมาจากการผสมกันของกลุ่มต่างๆ อย่างหลากหลาย จากพังค์ในยุค 70 จนถึงเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน
  • เอเดรียน เลสเตอร์ ผู้รับบทเป็น จ่านอร์ตัน ได้ใช้ประโยชน์จากสายดำกีฬาเทควนโดอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ เขาเรียนจบการแสดง และเคยเล่นละครเวทีจนได้รับรางวัลนับไม่ถ้วน
  • อเล็กซานเดอร์ ซิดดิก ผู้รับบทเป็น นายกรัฐมนตรี แฮตเชอร์ เป็นชาวซูดานผู้เติบโตในอังกฤษ

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Boyhood - เอลลาร์ โคลเทรน ผู้รับบท เมสัน ตอนเริ่มเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์อายุ 7 ปี และตอนถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จอายุ 18 ปี อ่านต่อ»
  • Deliver Us from Evil - โจเอล แม็กเฮล ผู้รับบท บัตเลอร์ ใช้เวลาหลายเดือนฝึกฝนขว้างมีด และศิลปะการต่อสู้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้นักแสดงแทน เขาไม่มีบาดแผลจากการฝึกฝนหรือการถ่ายทำเลยสักแผลเดียว จนกระทั่งวันท้ายๆ ของการถ่ายทำ เขากลับมีบาดแผลเพราะใช้มีดตัดช็อกโกแลตให้ลูกชาย อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Star Wars: The Rise of Skywalker Star Wars: The Rise of Skywalker บทสรุปของตำนานอันน่าตื่นเต้นของตระกูลสกายวอร์คเกอร์ เมื่อตำนานใหม่จะถือกำเนิดและการต่อสู้ครั้งสุดท้ายเพื่ออิสรภาพกำลังจ...อ่านต่อ»