เกร็ดน่ารู้จาก ปืนใหญ่จอมสลัด

เกร็ดน่ารู้
  • ผู้กำกับ อุ๋ย - นนทรีย์ นิมิบุตร สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ในโอกาสที่เขาทำงานในวงการภาพยนตร์มาครบ 10 ปี คือตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา
  • ใช้ทุนสร้างกว่า 200 ล้านบาท ด้วยฝีมือของทีมงานเกือบพันชีวิต
  • ผลงานการเขียนบทภาพยนตร์ครั้งแรกของนักเขียน 2 รางวัลซีไรต์ วินทร์ เลียววาริณ
  • ผู้กำกับ อุ๋ย - นนทรีย์ นิมิบุตร เลือก วินทร์ เรียววาริณ มาเขียนบทเรื่องนี้ เนื่องจากชื่นชอบหนังสือของ วินทร์ มานานแล้ว และคิดว่า วินทร์ เหมาะกับงานเขียนที่ต้องนำข้อมูลประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์ อีกทั้ง วินทร์ เคยศึกษาด้านภาพยนตร์มาก่อนด้วย ซึ่ง วินทร์ ใช้เวลาเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรกของเขานี้ 1 ปีเต็ม
  • เลื่อนวันเข้าฉายจากวันที่ 12 สิงหาคม 2551 เป็นวันที่ 9 ตุลาคม 2551 เพื่อวันเข้าฉายเดิมเป็นช่วงเวลาฉายที่ใกล้เคียงกับฉายภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งใจเดียวกัน ที่ทาง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงตั้งใจสร้าง
  • การกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งของ เอก โอรี นับจากเรื่องล่าสุด เยาวราช ในปี พ.ศ. 2546
  • ถ่ายทำที่ทะเลหลายแห่งในเมืองไทย ถ่ายฉากหมู่บ้านชาวเลที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ถ่ายฉากสงครามบนกำแพงวังที่บ้านฉาง จังหวัดระยอง ถ่ายทำฉากถ้ำบนเกาะอีกาดำในถ้ำสระยวนทอง จังหวัดกระบี่ และถ้ำลูกเสือ จังหวัดพังงา นอกจากนี้ยังต้องสร้างฉากภายในพระราชวังลังกาสุกะ และเรือหลายรูปแบบที่สามารถใช้ได้จริง
  • ฉากที่ใช้เวลาถ่ายทำนานที่สุด คือฉากกำแพงวังลังกาสุกะ
  • ฉากถ้ำอีกาดำถ่ายทำฉากภายในที่ถ้ำลูกเสือ จ.พังงา และถ่ายทำฉากภายนอกที่ถ้ำสระยวนทอง จ.กระบี่ โดยใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนในการจัดฉากทั้งหมด
  • เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี ที่ดัดแปลงมาจากตำนานการเสียสละเพื่อแผ่นดินของราชินี 3 พระองค์แห่งลังกาสุกะ พร้อมทั้งสะท้อนวิถีชีวิตของชนเผ่าชาวเลและโจรสลัด
  • แผนกฉากสร้างกระโจมที่พักที่สามารถใช้อยู่ได้จริงขึ้นที่บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อใช้เป็นฉากที่ เจ้าชายปาหัง ซึ่งรับบทโดย ติ๊ก - เจษฎาภรณ์ ผลดี ถูกโจรสลัดพยายามลอบสังหาร
  • วิชาดูหลำซึ่งมีอยู่จริงนั้น เป็นวิชาหาปลาของชาวเล แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นวิชาที่ใช้ต่อสู้และควบคุมจิตใจของตน เมื่อฝึกได้ 3 ขั้นแรกจะสามารถฟังเสียงปลาได้ จนหยั่งรู้อากาศและกระแสน้ำ 3 ขั้นที่ 2 จะทำให้ควบคุมปลาได้ 3 ขั้นสุดท้ายที่ผู้ฝึกจะต้องละกิเลสทุกอย่างจนจิตใจว่างเปล่า จะทำให้หายใจใต้น้ำได้อย่างปลา
  • ผู้กำกับ อุ๋ย - นนทรีย์ นิมิบุตร อธิบายแนวคิดหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า มนุษย์เราทุกคน ตั้งแต่ราชินีจนถึงคนธรรมดา ล้วนมีทั้งด้านดำและด้านขาวปนกันอยู่ในตัว ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกหยิบด้านไหนของชีวิตมาใช้ สัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงแนวคิดนี้ในเรื่อง คือปลากระเบนราหู ที่ด้านบนเป็นสีดำด้านล่างเป็นสีขาว
  • แผนกออกแบบเครื่องแต่งกายส่งคณะวิจัย 6 คน กระจายกันไปหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากแหล่งต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นนำแบบที่หามาได้มาแก้ไขปรับปรุงอีกเป็นเวลา 6 เดือน แล้วก็ออกแบบเพิ่มเติมจากลักษณะของตัวละคร รวมเวลาออกแบบทั้งหมดประมาณ 1 ปี และลงมือตัดเย็บอีก 1 ปี
  • ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย น้ำผึ้ง โมจนกุล และ ชาติชาย ไชยยนต์ แบ่งเครื่องแต่งกายสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พวกลังกาสุกะ มีเสื้อผ้าหรูหราแบบชาวเมืองและชาววัง พวกโจรสลัด มีเสื้อคล้ายเกราะที่เย็บจากหนังปลาต่างๆ และพวกชาวเล นุ่งผ้าเตี่ยวที่ลงทะเลได้สะดวก ไม่ใส่เสื้อ
  • เรื่องนี้เป็นการแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีของ เปิ้ล - จารุณี สุขสวัสดิ์
  • อุ๋ย - นนทรีย์ นิมิบุตร เลือก เปิ้ล - จารุณี สุขสวัสดิ์ มารับบท ราชินีฮีเจา เพราะคิดว่าคนที่เป็นราชินีในคาบสมุทรมลายูในช่วงนั้นน่าจะดูไม่เหมือนคนไทยแท้ แต่เป็นลูกครึ่งนิดๆ ส่วน แจ๊คกี้ - แจ็คเกอลิน อภิธนานนท์ และ แอนนา รีส ได้มารับบท เจ้าหญิงบิรู และ เจ้าหญิงอูงู ตามลำดับ เนื่องจากหน้าตาคล้าย เปิ้ล จึงเหมาะจะแสดงเป็นพี่น้องกัน
  • ผู้กำกับ อุ๋ย - นนทรีย์ นิมิบุตร แบ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ออกเป็นส่วนต่อสู้และส่วนแฟนตาซี นักแสดงที่เป็นตัวนำในบทต่อสู้ คือ เดี่ยว - ชูพงษ์ ช่างปรุง ที่รับบท ยะรัง ผู้มีรูปแบบการต่อสู้แบบคาบสมุทรมลายู ส่วนนักแสดงตัวนำของบรรยากาศแฟนตาซี คือ อนันดา เอเวอริงแฮม ในบท ปารี เนื่องจากรูปลักษณ์ หุ่น และหน้าตาดูคมแปลก ต่างจากคนไทยทั่วไป
  • เทคนิคพิเศษด้านภาพกว่า 1,000 ช็อต ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นฝีมือของบริษัทผู้สร้างงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก บลูแฟรี่ ซึ่งเคยฝากผลงานไว้ในภาพยนตร์เรื่อง ปักษาวายุ (2004)
  • ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ผู้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้เครื่องดนตรีมลายูผสมผสานในงานของเขาด้วย เช่น กำมะลันของอินโดนีเซีย เครื่องเคาะของมาเลเซีย เครื่องปี่ของภาคใต้ของไทย ดังที่จะได้ยินในเพลง อภินิหาร ธีมของตัวละคร ปารี ซึ่งรับบทโดย อนันดา เอเวอริงแฮม นอกจากนี้ยังมีเพลงประสานเสียงภาษาบาฮาซาร์ ซึ่งเป็นภาษาใหม่ที่เพิ่งสร้างขึ้นโดยไม่ได้กำหนดความหมาย ในเพลงปลุกใจที่ชื่อ ลังกาสุกะธีม
  • แม้ผู้ออกแบบงานสร้าง เอก เอี่ยมชื่น จะค้นคว้าข้อมูลที่มีอยู่จริง เช่น สถาปัตยกรรมของมลายู มาอ้างอิงในการออกแบบต่างๆ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มุ่งเน้นความถูกต้องตามประวัติศาสตร์อย่างสมบูรณ์ แต่นำของจริงมาปรับให้ดูหวือหวาขึ้น ตามรูปแบบของภาพยนตร์แนวแฟนตาซี เช่น ช่องลมภายในพระราชวังที่เป็นทรงกลมซึ่งซ้อนอยู่ในสี่เหลี่ยมอีกทีนั้น ไม่ได้มีอยู่จริงตามประวัติศาสตร์
  • ทุกวันที่ เอก - สรพงษ์ ชาตรี ผู้รับบท กระเบนขาว ต้องเข้ากล้อง เขาจะต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อมาเตรียมแต่งหน้าแต่งตัว โดยเอาโฟมมาแต่งหน้าให้มีโหนกนูน และมีหน้าผาก ติดหนวดเครา และทำให้ร่างกายดูมีกล้ามเนื้อ จากนั้นก็สวมเครื่องแต่งกาย และลงสีผิวตัว กระบวนทั้งหมดนี้จะเสร็จสิ้นประมาณหลังเที่ยง
  • เอก - สรพงษ์ ชาตรี เล่าว่าการติดหนวดเครา เพื่อรับบทเป็น กระเบนขาว นั้น ทำให้คันและอ้าปากไม่เต็มที่ จนกินข้าวไม่สะดวก ส่วนเสื้อผ้าที่สวมเข้าฉากก็ทำให้ลำบากเช่นกัน เพราะต้องให้คนช่วยใส่ช่วยถอด แต่งเองไม่ได้ แม้กระทั่งตอนที่จะเข้าห้องน้ำ
  • เอก - สรพงษ์ ชาตรี ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนรับบท กระเบนขาว โดยเขาต้องลดน้ำหนักจาก 75-76 กิโลกรัม เหลือ 71 กิโลกรัม
  • เอก - สรพงษ์ ชาตรี เล่าว่าฉากที่แสดงยากสำหรับเขาคือ ฉากที่ถ่ายในสระ เพราะต้องดำน้ำด้วยท่าทางชำนาญโดยไม่มีเครื่องช่วยหายใจ แล้วยังต้องลืมตาในน้ำ เพื่อมองหาเครื่องหมายที่ทีมงานทำไว้ใช้กำกับการแสดง อีกทั้งยังต้องแต่งตัวแต่งหน้ามาก ซึ่งทำให้การแสดงยากขึ้นไปอีก
  • นักแสดงทุกคนที่ต้องเข้าฉากใต้น้ำ มีเวลาเรียนดำน้ำ 2 สัปดาห์ก่อนถ่ายทำ

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • แฝดแฝดเข้าฉายปี 2007 แสดง มาช่า วัฒนพานิช, วิทยา วสุไกรไพศาล, รัชนู บุญชูดวง
  • ขุนแผนขุนแผนเข้าฉายปี 2002 แสดง วัชระ ตังคะประเสริฐ, อภิชัย นิปัทธหัตถพงศ์, บงกช คงมาลัย
  • Wrath of the TitansWrath of the Titansเข้าฉายปี 2012 แสดง Sam Worthington, Liam Neeson, Ralph Fiennes

เกร็ดภาพยนตร์

  • Entertainment - ถ่ายทำฉากส่วนใหญ่ที่ประเทศไทย โดยนักแสดง อักเชย์ กุมาร ผู้รับบท อัคคีล เคยใช้เวลาหลายปีอาศัยอยู่ในประเทศไทย อ่านต่อ»
  • 22 Jump Street - เคิร์ต รัสเซลล์ กล่าวว่า ไวแอตต์ รัสเซลล์ ลูกชายของเขาปฏิเสธบทในภาคต่อ The Hunger Games เพื่อรับบท ซุก ในภาพยนตร์เรื่องนี้ อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Toy Story 4 Toy Story 4 วูดดี (ทอม แฮงก์ส) มักมั่นใจในจุดที่เขาอยู่ในโลกใบนี้ และสิ่งสำคัญอันดับแรกของเขาคือการดูแลเด็กๆ ของเขา ไม่ว่าจะเป็นแอน...อ่านต่อ»