น่าสนใจมากก 15 เหตุการณ์ที่คุณอาจไม่รู้ เกี่ยวกับ Oscar

19 ต.ค. 54 16:27 น. / ดู 2,372 ครั้ง / 12 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
บอกก่อนเลยว่าเราไม่ได้พิมพ์เองนะ ขอยกเครดิทให้กระทู้ในพันติ๊บ ผู้ตั้งโดย ผมชื่อ SnooKer นะครับ

สวัสดีครับ บางคนอาจจะรู้แล้วแต่เอามาแบ่งปันคนที่ยังไม่รู้ละกัน

หมายเหตุ เนื่องจากดีใจมีคนอ่านเยอะผมเพิ่มเป็น 15 เหตุการณ์ให้แล้วนะครับ ^^

1. เมื่อสาขานำหญิงแห่งปี 1968 มีผู้ชนะสองคน

      อย่างที่หลายท่านทราบว่า ออสการ์ปี 1968 ออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมนั้นผู้ชนะมีคะแนนเท่ากัน โดยตกเป็นของเจ้าแม่แคธารีน เฮ็พเบิร์น จากเรื่อง The Lion in Winter ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งที่สามแล้วในวัย 61 ปี โดยชัยชนะครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้คือเมื่อปี 1967 หรือปีที่แล้วในขณะนั้น!! ส่วนผู้ชนะอีกรายหนึ่งคือ บาร์บร่า สตรัยแซนด์ จากบทเดียวกับที่แจ้งเกิดเธอในบรอดเวย์ เรื่อง Funny Girl

      ถึงเหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในสาขานักแสดงนำชายเมื่อปี 1932 ที่วอลเลซ เบียรี่ และเฟดริก มาร์ช ต่างเป็นผู้ชนะ แต่จริงๆ แล้วเบียรี่คะแนนน้อยกว่าหนึ่งแต้ม ซึ่งออสการ์ปัดคะแนนให้ แต่ในกรณีของเฮ็พเบิร์นและสตรัยแซนด์ชนะแบบคะแนนเท่ากันเป๊ะ จึงเกิดการเม้าท์มอยกันถึงความไม่ยุติธรรมว่าเกรกอรี่ เป๊ค ซึ่งเป็นประธานของ The Academy ในขณะนั้น อนุมัติให้สตรัยแซนด์เข้าเป็นหนึ่งใน 2000 ของคณะกรรมการของออสการ์โดยไม่รอให้มีเครดิตผลงานภาพยนตร์สองปีตามกฏ ซึ่งการยกเว้นนี้คงไม่เป็นที่ครหาถ้าปีนั้นไม่บังเอิญ...สตรัยแซนด์ดันเป็นผู้ชนะด้วยคะแนนที่เท่ากันกับเฮ็พเบิร์น ซึ่งเสียงวิจารณ์คือ สตรัยแซนด์เมื่อได้สิทธิพิเศษเข้ามา แน่นอนเธอก็ต้องโหวตให้ตัวเอง และเป็นหนึ่งคะแนนที่ทำให้เธอมีคะแนนเท่ากับเฮ็พเบิร์น





2. ชนะออสการ์เพราะใกล้ตาย

        นางเอกของงานออสการ์ปี 1960 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากอลิซาเบธ เทย์เลอร์ แต่ก่อนจะถึงตรงนั้น อลิซาเบธรับบทนางทางโทรศัพท์ที่คิดจะเลิกอาชีพนี้เมื่อเธอมีโอกาสเจอคนที่ใช่ ในหนังเรื่อง Butterfield 8 ซึ่งถือเป็นผลงานที่ไม่เข้าตานักวิจารณ์เลยแม้แต่น้อย ซึ่งแม้กระทั่งตัวเทย์เลอร์เองก็ไม่ได้เก็บความรู้สีกใดๆ เกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ออกมา โดยเธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอเกลียดบทนี้ และที่ต้องรับเล่นเพราะติดสัญญากับ MGM ซึ่งเป็นสตูดิโอของเธอในขณะนั้น ไม่งั้นเธอไม่มีทางยอมรับบทเป็นอีตัวเป็นอันขาด แต่ไม่รู้เพราะความบังเอิญหรือเพราะตัวเทย์เลอร์เองที่กำลังฉาวโฉ่จากเรื่องแย่งผัเพื่อนรักอย่าง เด๊บบี้ เรย์โนลด์ ในขณะนั้น Battlefield 8 เลยกลายเป็นหนังทำเงินซะยังงั้น

        ถึงแม้บทของเทย์เลอร์ดูจะอ่อนกว่าผู้เข้าชิงรายอื่นในสาขาของเธอมาก แต่เธอก็ยังได้เข้าชิงเป็นปีที่สามติดต่อกัน แต่พอใกล้เวลาประกาศผลผู้ชนะ เทย์เลอร์กลับเป็นต่อคู่แข่งคนอื่น เหตุผลแรกคือ สองครั้งที่เข้าชิงก่อนหน้าเธอแพ้ทั้งที่น่าจะชนะไปแล้ว ส่วนสาเหตุที่สองคือ หนึ่งเดือนก่อนประกาศผู้ชนะ เทย์เลอร์เกิดล้มป่วยถึงขั้นต้องไปรักษาตัวในโรงพยาบาลลอนดอนหนึ่งเดือนเต็มๆ และในช่วงหนึ่งหมอถึงขณะต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิตเธอเลยทีเดียว โดยขณะนั้นมีข่าวออกมาว่าเธอจะตายเมื่อไหร่ก็ได้

        เมื่อวินาทีประกาศผล แม้กระทั่งคู่แข่งเทย์เลอร์อีกสี่คนยังคิดตรงกันว่าเทย์เลอร์ต้องชนะแน่นอน และก็เป็นเช่นนั้น จึงเกิดคำครหาว่า เทย์เลอร์เป็นคนเดียวที่ชนะออสการ์เพราะใกล้ตาย แต่ไม่ใช่ทุกคนสงสัยในความสามารถทางการแสดงของเทย์เลอร์ เพียงแต่ไม่น่าใช่ Battlefield 8 เท่านั้น ฮอลลีวู้ดเห็นใจเทย์เลอร์ขณะไหนเห็นได้จาก แม้กระทั่งเรย์โนลด์ส ที่ถูกเทย์เลอร์แย่งสามีไป ยังบอกในภายหลังว่า หนึ่งในคะแนนที่โหวตให้เทย์เลอร์ชนะในคืนนั้น...มาจากเธอ




3.ผู้ชนะออสการ์ที่ดังที่สุดในปี 1945

      ผู้ชนะที่ดังที่สุดในออสการ์ปี 1945 คงหนีไม่พ้น เจ้าแม่ โจน ครอว์ฟอร์ด ที่ได้รับออสการ์จากบทแม่ผู้ถูกลูกสาวแย่งคนรักใน Mildred pierce ซึ่งถือเป็นโปรเจกต์แจ้งเกิดให้ครอว์ฟอร์ดอีกครั้ง และยังเป็นออสการ์ที่เจ้าตัวรอคอย และกว่าบทนี้จะตกมาเป็นของเธอบทนี้ก็เคยถูกบอกปัดโดยเบตตี้ เดวิส มาแล้ว อันที่จริง ผู้กำกับไมเคิล เคอร์ติซไม่อยากจะร่วมงานกับครอว์ฟอร์ดด้วยซ้ำ แต่ก็ยอมร่วมงานหลังจากครอว์ฟอร์ดยอมทดสอบบทให้ แถมยังเป็นฝ่ายชื่นชมครอว์ฟอร์ดในภายหลังอีกด้วย ครอว์ฟอร์ดอยากได้ออสการ์ขนาดไหนเห็นได้จาก เธอถึงขนาดจ้างประชาสัมพันธ์เพื่อประโคมข่าวเธอนับตั้งแต่เริ่มถ่ายทำยันเข้าชิง สุดท้ายครอว์ฟอร์ดก็เป็นผู้ชนะโดยที่เจ้าตัวกลัวแพ้ถึงขนาดล้มป่วยและขอนอนฟังผลอยู่บ้าน โดยผู้กำกับเคอร์ติสเป็นคนขึ้นไปรับรางวัลแทนและนำออสการ์ไปมอบให้ครอว์ฟอร์ดถึงบ้าน โดยมีนักข่าวไปมากมาย
      ในเช้าวันรุ่งขึ้นหลังงานออสการ์ ภาพที่ปรากฏในทุกสื่อไม่ใช่ภาพภายในงานแต่เป็นภาพคนป่วยที่แต่งหน้าจัดและเซ็ทผมเข้าที่นั่งฉีกยิ้มอยู่บนเตียงในบ้าน...พร้อมออสการ์นำหญิงยอดเยี่ยมในอ้อมกอด


(ครอว์ฟอร์ด)


4. In Which We Serve หนึ่งในหนังที่ดีสุดในโลก ที่ถูกออสการ์หักหลัง

ในปี 1942 หนังสงครามโลกจากเกาะอังฤษ เรื่อง In Which We Serve ซึ่งได้รับการขนานนามว่า เป็นหนึ่งในหนังี่เยี่ยมที่สุดที่โลกภาพยนตร์เคยสร้างมากลับหลุดวงโคจรออสการ์ไปอย่างไม่ควรจะเป็น

    สาเหตุเป็นเพราะว่า ยูไนเต็ด อาร์ติสท์วางกำหนดเปิดตัวหนังเอาไว้ในสัปดาห์แรกของมกราคม 1943 ซึ่งนั่นแหละทำให้เกิดปัญหา เพราะจู่ๆ ออสการ์ปี 1942 ก็ขอเปลี่ยนกฏใหม่สามสัปดาห์ก่อนสิ้นปี โดยบอกว่าหนังที่จะได้รับการพิจารณาจะต้องเปิดตัวภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ไม่ใช่ 12 มกราคมเหมือนอย่างที่เคยเป็น ในเมื่อยูไนเต็ด อาร์ติสท์ไม่สามารถหาโรงฉายได้ทัน In Which e Serve จึงไม่ได้ข้องเกี่ยวกับออสการ์ 1942 แม้แต่รางวัลเีดียว ออสการ์ก็รู้ตัวว่าผิดถึงขนาดประกาศให้ โนเอล โคเวิร์ด ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างของ In Which We Serve เป็นเจ้าของออสการ์เกียรติยศในปีต่อมา แต่เจ้าตัวแค้นและไม่ยอมมาร่วมงานแต่อย่างใด...






5. ผู้ชนะที่ได้รับทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่ไล่

      ในปี 1977 (ปีที่ Annie Hall ได้ Best pic) ขณะที่ผู้ชนะรางวัลสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก Julia วาเนซซ่า เร็ดเกรฟ กล่าวบนเวที เรดเกรฟสร้างความอึดอัดให้ทั้งผู้จัดงานและแขกในงานเป็นอย่างมากจากการดึงประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวในออสการ์ โดยเธอกล่าวถึงกลุ่มชาวยิวกลุ่มหนึ่งที่เธอคิดว่าทำให้ชาวยิวส่วนใหญ่เสื่อมเสีย จริงๆแล้วไม่ผิดที่เธอจะคิดเช่นนั้น แต่เธอกับใช้สิทธิในการพูดอย่างไม่ถูกกาละเทศะ เธอจึงเจอทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่ไล่จากคนในงาน โดยแพ็ดดี้ ชาแยฟสกี้ ผู้ประกาศรางวัลต่อจากรางวัลของเธอถึงขณะกล่าวตำหนิเธอบนเวทีว่า "ชัยชนะของคุณเร็ดเกรฟไม่ใช่เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ ดังนั้นแค่กล่าวคำว่า...ขอบคุณ ก็น่าจะพอแล้ว" หลังจากชาแยฟสกี้พูดจบ เขาก็ได้รับเสียงปรบมือดังกึกก้องจากผู้ที่เห็นด้วย






6. เวทีที่ไร้ผู้ชนะ

    ถือเป็นดราม่าประจำปีของงานออสการ์ปี 1970 เพราะผู้ชนะสาขาหลักนั้นแทบไม่มีใครมางานเลย !!!

      เริ่มจาก ออร์สัน เวลส์ ผู้ได้รับรางวัลออสการ์เกียรติยศกรทำงานดีเด่น วัย 55 ที่หายไปอยู่กองถ่ายที่ไหนซักแห่ง ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทำงานแต่อย่างใด (อาจจะเจ็บแค้นสมัย Citizen Kane 5555+)

      คนต่อมาคือเจ้าของออสการ์นำหญิง เกลนด้า แจ๊คสัน นักแสดงอังกฤษวัย 33 ด้วยเหตุผลที่ไม่มางานว่า  ในเมื่อยูนิเวอร์แซลเจ้าของหนัง Women in Love ไม่มีปัญญาซื้อตั๋วเครื่องบินให้เธอ แล้วเธอจะไปเอาเงินจากไหนมาซื้อตั๋ว !!

      คนต่อมานี่เจ๋งจริง คือนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จอร์จ ซี สก๊อตต์ จาก Patton โดยก่อนหน้านี้ สก๊อตต์ก็ขึ้นชื่อเรื่องความหัวแข็งอยู่แล้ว โดยเห็นได้ชัดจากปีนี้ทั้งที่เจ้าตัวก็น่าจะรู้ว่าเป็นผู้ชนะรางวัลอย่างแน่นอน แต่เลือกที่จะไม่ไปร่วมงาน แล้วเลือกที่จะนอนดูการแข่งขันฟุตบอลอยู่ที่อพาร์ตเมนท์ในแมนฮัตตัน โดยไม่คิดจะเปิดไปดูการถ่ายทอดสดงานออสการ์ด้วยซ้ำ (สก๊อตต์ถือเป็นผู้ชนะนำชายคนแรกที่ไม่มาร่วมงาน)

      นอกจากนี้ภายในงานนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ผุ้ที่ไม่มารับรางวัลอีกได้แก่ ผู้เขียนบทหรือแม้กระทั่งผู้กำกับยอดเยี่ยม !!


ต่อในคอมเม้น
แก้ไขล่าสุด 19 ต.ค. 54 16:34 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | บริทหนี้_สะเพลีย | 19 ต.ค. 54 16:30 น.

7. เมื่อชาวฮอลลีวู้ดให้อภัย อิงกริด เบิร์กแมน

    ในค่ำคืนงานประกาศรางวัลออสการ์ปี 1956 ไม่มีรางวัลไหนได้รับการปรบมือ โห่ร้องแสดงความยินดีไปมากกว่า รางวัลนักแสดงนำหญิงที่ตกเป็นของ อิงกริด เบิร์กแมน จาก Anastasia ในวัย 41 ปี (สำหรับ จขกท คิดว่าดารายุคเก่าที่สวยที่สุดคือ อิงกริดนี่แหละ ส่วนผู้ชายคือ พอล นิวแมน ตอนหนุ่มๆ หล่อ มว๊ากกกก) อดีตเจ้าหญิงแห่งวงการบันเทิง เอ๊ย ! เจ้าหญิงแห่งฮอลลีวู้ด ตลอดยุค 1940 โดยก่อนหน้าเคยคว้าออสการ์มาแล้วในปี 1944 จาก Gaslight แต่พอมาถึงปี 1950 กลับกลายเป็นนางฟ้าตกสวรรค์ เพราะดันมาเบนโล (เอ๊ะ คุ้นๆ) กับผู้กำกับโรแบร์โต้ รอสเซลลินี่ ขณะถ่ายทำ Terra di Dio ทั้งๆ ที่ทั้งสองฝ่ายก็มีครอบครัวอยู่แล้ว เมื่อข่าวแพร่ออกไป เบิร์กแมนถึงขนาดต้องหนีไปปารีสและแทบจะหมดสิทธิ์กลับฮอลลีวู้ด จนกระทั่งชัยชนะในครั้งนี้ถึงแม้เจ้าตัวจะไม่พร้อมมารับได้ด้วยตนเอง  แต่เสียงปรบมือหลังจากชื่อเธอถูกประกาศโดยมีเพื่อนรักอย่างแครี่ แกรนต์ ขึ้นมารับแทน ก็ทำให้รู้ว่า...เธอได้รับการอภัยแล้ว





8. โหว โรแมนติกอ่ะ ไม่รู้จะตั้งชื่อหัวข้อว่าไร 555

      หนึ่งในช่วงเวลาที่ประทับใจที่สุดของงานออสการ์ปี 1986  คือช่วงประกาศผลนักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม โดยผู้ประกาศคือ วิลเลี่ยม เฮิร์ต ผู้ชนะนำชายปีก่อนหน้านั้น ใช้สัญญาณมือประกาศชื่อมาร์ลี แมตลิน นักแสดงใบ้ วัย 21 จากการขึ้นจอครั้งแรกใน Children of a Lesser God ซึ่งเขาเป็นพระเอกและคู่รักของเธอในขณะนั้นเป็นผู้ชนะไป วินาทีที่ทั้งสองกอดและจูบกันบนเวทีถือเป็นหนึ่งในวินาทีประทับใจตลอดกาลของออสการ์เลยทีเดียว





9. ตายเพราะไม่ได้ไปงานออสการ์

      หลังจากพ่ายแพ้ให้กับโจแอน วู้ดเวิร์ด ในสาขานักแสดงหญิงในปี 1957 ได้ 10 วัน ลาน่า เทอร์เนอร์กลับมาเป็นข่าวใหญ่ยิ่งกว่า เมื่อหลังจากเทอร์เนอร์ถูกสามีมาเฟีย จอห์นนี่ สตอมพานาโต้ทำร้ายร่างกาย ทุบตี มาหลายครั้ง(หนึ่งในนั้นคือค่ำคืนวันงานออสการ์ จากการที่เทอร์เนอร์ไม่ยอมพา สตอมพานาโต้ไปงานออสการ์ด้วย) ในค่ำคืนนั้นเมื่อเทอร์เนอร์ถูกทุบตีอีกครั้ง สตอมพานาโต้ถูกเชอรีลลูกสาววัย 15 ของเทอร์เนอร์กับสามีเก่าแทงตาย เชอรีลรอดพ้นจากการรับโทษเพราะทำไปเพื่อปกป้องแม่ ... แต่ทุกวันนี้ยังมีเรื่องเม้าท์ักันอยู่ว่า จริงๆ แล้ว คนที่แทงสตอมพานาโต้ คือเทอร์เนอร์ต่างหาก!!





10. ชาร์ลี แชปปลิน ตำนานแห่งโลกภาพยนตร์

      ในปี 1971 ชาร์ลี แชปปลิน ในวัย 81 ปีกลับมาเยือนฮอลลีวู้ดอีกครั้ง หลังจากอัปเปหิตัวเองไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์นานกว่า 20 ปี หลังจากในปี 1951 มีคนกล่าวหาว่าเค้าเป็นคอมมิวนิสต์

        โดยเมื่อถึงวินาทีที่แชปปลินขึ้นรับออสการ์เกียรติยศ ซึ่งนับเป็นออสการ์ตัวเดียวในชีวิตของเค้า ผู้คนในงานต่างลุกขึ้นยืนปรบมือให้เค้ากว่า 5 นาที !! เพื่อแสดงความรักและความเคารพที่มีต่อแชปปลิน โดยไม่มีใครจำอดีตอันเลวร้ายของแชปปลิน เพราะถ้าจะนึกถึงแชปปลินจริงๆ ฮอลลีวู้ดเลือกจะนึกถึงความยิ่งใหญ่ในฐานะนักแสดงเจ้าของฉายา The Little Tramp

        ความประทับใจอยู่ตรงที่ นี่ถือเป็นการปรากฏตัวในช่วงบั้นปลายตัวเป็นๆ และไร้เมกอัพ พูดได้ว่าสร้างความอึ้งให้ทั้งชาวฮอลลีวู้ดและคนทางบ้าน ยิ่งเมื่อแจ๊ค เลมม่อนผู้ทำหน้าที่มอบรางวัลได้มอบหมวกกับไม้เท้าประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของแชปปลิน เสียงโห่ร้องกับยิ่งกระหึ่มขึ้น





11. ผู้โดดเด่นที่สุดในงานออสการ์ โดยไม่ต้องแม้แต่เข้าชิง

      เป็นที่รู้กันว่า เบตตี้ เดวิส และโจน ครอว์ฟอร์ด ทะเลาะกันถึงขั้นลงไม้ลงมือในกองถ่ายภาพยนตร์ What Ever Happened to Baby Jane ? โดยแม้กระทั่งผู้กำกับก็เอาไม่อยู่

      และแล้วจุดแตกหักก็มาถึงเมื่อเดวิสได้เข้าชิงออสการ์สาขานำหญิง ส่วนครอว์ฟอร์ดถูกออสการ์เมินไม่เสนอชื่อให้เข้าชิง ครอว์ฟอร์ดจึงทำทุกทางเพื่อจะหักหน้าและได้รับความโดดเด่นกว่าเดวิส โดยเธอติดต่อไปยังผู้เข้าชิงสาขาเดียวกับเดวิสและขอขึ้นไปรับรางวัลแทนถ้าพวกเธอชนะแต่ไปรับรางวัลไม่ได้และโชคก็เข้าข้างครอว์ฟอร์ดเมื่อ แอนน์ แบนคอฟต์ ผู้เข้าชิงจาก The Miracle Worker ไม่สามารถมาร่วมงานได้

        ในคืนวันประกาศรางวัล ขณะที่เดวิสกำลังเตรียมตัวจะรับออสการ์ตัวใหม่ของเธอ เธอก็ต้องผิดหวังแทบกระอัก เพราะผู้ชนะดันเป็นแบนคอฟต์ ครอว์ฟอร์ดผู้ไม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงด้วยซ้ำกับได้ก้าวขึ้นสู่เวทีและรับรางวัลต่อหน้าต่อตาเดวิส !!


12. พี่น้องคู่อริแห่งฮอลลีวู้ด

      โจน ฟอนเทน และ โอลิเวีย เดอ  ฮาวิลแลนด์ ถือเป็นคู่พี่น้องคู่สำคัญของประวัติศาสตร์แห่งฮอลลีวู้ด เพราะถือเป็นนางเอกแถวหน้าของฮอลลีวู้ดในสมัยนั้นด้วยกันทั้งคู่ และเป็นด้วยความที่ไม่ถูกกันมาตั้งแต่เด็ก....

      และเหมือนโชคชะตาก็เล่นตลกเมื่อทั้งคู่เข้าชิงออสการ์ครั้งเดียวกันและสาขาเดียวกันในปี 1941 โดยเป็นสาขานำหญิง ฟอนเทนเข้าชิงจาก Suspicion ส่วนเดอ ฮาวิลแลนด์เข้าชิงจาก Hold Back the Dawn ผลคือฟอนเทนชนะไปในค่ำคืนนั้น ด้วยความที่เดอ ฮาวิลแลนด์เข้าวงการมาก่อน แต่กับเสียหน้าแพ้ให้กับน้องสาวที่ไม่ถูกกัน สร้างความแค้นให้กับเดอ ฮาวิลแลนด์เป็นอย่างมาก

      ต่อมาถึงคราวเดอ ฮาวิลแลนด์ก็ถึงคราวเป็นผู้ชนะนำหญิงปี 1946 จาก The Each His Own  ฟอนเทน(ค่ำคืนนั้นเธอไม่ได้เข้าชิง)หลังจากทำหน้าที่ประกาศรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปีเสร็จ จะเข้าไปแสดงความยินดีกับพีสาวหลังเวที แต่ไปๆ มาๆ พี่กับน้องแทบจะฆ่ากันตาย แถมไม่รู้ว่าโชคร้้ายหรือดี ที่มีนักข่าวเก็บภาพขณะนั้นไว้ได้ด้วย ... ผลสรุปในวันรุ่งขึ้นแทนที่ข่าวงานออสการ์จะดังกลายเป็นสองศรีพี่น้องคู่นี้ซะงั้นทีเป็นดาวเด่นไป

      ที่ตลกคือในขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นต่างเสียชีวิตกันไปหมดแล้วแต่สองศรีพี่น้องกับยังอยู่ยงคงกระพันจนถึงทุกวันนี้ด้วยกันทั้งคู่โดยทั้งคู่ไม่เคยพูดกันอีกเลยหลังจากปี 1975 อันที่จริงแม้กระทั่งตอนที่แม่ของพวกเธอตาย เดอ ฮาวิลแลนด์ ไม่เชิญฟอนเทนมาร่วมงานด้วยซ้ำ





13. ชายแขนด้วนผู้ชนะสองออสการ์ในปี 1946

      ปี 1946 ถือเป็นปีแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่น่าแปลกใจใดๆ ที่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจะตกเป็นของ The Best Year of Our Lives หนังที่เล่าถึงการใช้ชีวิตหลังสงครามของนายทหารที่พึ่งกลับมาจากสงคราม

      หนึ่งในนักแสดงคนสำคัญในภาพยนตร์คือ แฮโรลด์ รัสเซลล์ที่เคยเป็นทหารพลร่มในสงครามโลกครั้งที่สองแต่โชคร้ายเมื่อลูกระเบิดระเบิดคามือและต้องเสียมือทั้งสองข้างไป เมื่อหลังจากรักษาตัวและใส่เหล็กที่มือทั้งสอง รัสเซลล์มีโอกาสเล่นสารคดีทหารและไปเข้าตาผู้กำกับวิลเลี่ยม ไวเลอร์จึงได้กลายมาเป็นทีมผู้แสดงหลักของหนัง The Best Year of Our Lives โดยเขียนบทให้รัสเซลล์โดยเฉพาะ ผลปรากฏว่ารัสเซลล์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาสมทบชาย แต่ในขณะนั้นเนื่องจากคู่แข่งของรัสเซลล์ีมีแต่มืออาชีพ และเค้าเป็นแค่มือสมัครเล่น ออสการ์จึงคิดว่ายังไงเค้าก็คงไม่มีทางได้รางวัล จึงชิงมอบออสการ์เกียรติยศให้ก่อนจัดงาน แต่ในที่สุด เป็นรัสเซลล์นั้นแหละที่ชนะออสการ์สมทบชายปีนั้น ...กลายเป็นว่าปีนั้นรัสเซลล์ได้ออสการ์กลับบ้านไปถึง 2 ตัว

รู้หรือไม่ : ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจ ออสการ์ถึงขนาดต้องทำสัญญาห้ามผู้ชนะนำรางวัลไปขายเด็ดขาด !!





14. อันนี้มาแบบสั้นๆๆ เกี่ยวกับผู้หญิงที่ชื่อ ... แคธารีน เฮ็ปเบิร์น

        คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเจ้าแม่แห่งฮอลลีวู้ดตัวจริงเสียงจริงคงหนีไม่พ้น แคธารีน เฮ็ปเบิร์น ถ้าจะเรียกว่าแปลกก็ได้เพราะเธอไม่เป็นตามพิมพ์นิยมของชาวฮอลลีวู้ดซะเลย ทั้งบุคลิกการแต่งตัวค่อนข้างห้าว(การให้สัมภาษณ์หลายครั้งเธอมักจะใส่สูทผู้ชายมาให้สัมภาษณ์) โทนเสียงที่ต่ำกว่าสาวปกติ และความเย่อหยิ่งที่จะรับแต่บท"นำ"เท่านั้น แต่จากการชนะ 4 ออสการ์และเข้าชิง 12 ครั้งและเป็นแบบนำหญิงทั้งหมดคงถือเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าเธอนี่แหละตัวจริง

      แต่ถึงจะชนะและเข้าชิงมากขนาดนั้นแต่คุณก็จะไม่มีทางหารูปเธอบนเวทีขนาดถือออสการ์ได้เลย เพราะตลอดชีวิตการแสดงเธอเคยไปงานออสการ์แค่ครั้งเดียว !! และไม่ได้ไปในฐานะผู้ชนะหรือผู้เข้าชิงแต่ไปแนะนำเพื่อนของเธอ ลอว์เรนซ์ วีนการ์เต็นซึ่งได้รับรางวัลเกียรติยศในปี 1974

      เมื่อเธอขึ้นไปบนเวทีผู้คนต่างลุกปรบมือใ้ห้เธอ จึงอดคิดไม่ได้ว่าตลอดชีวิตของ เธอได้รับการยืนปรบมือในงานออสการ์แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

รู้หรือไม่ : ทั้งๆ ที่ชนะถึง 4 ออสการ์ และเข้าชิง 12 ครั้ง แต่เฮ็ปเบิร์นเข้าชิงลูกโลกทองคำในสาขาภาพยนตร์เพียง 7 ครั้ง และไม่เคยชนะเลยแม้แต่ตัวเดียว !!

ปล. อย่างงเรื่องลักษณะรางวัลบนโพเดี่ยมในรูปนะครับ มันเป็นรางวัลพิเศษชื่ออะไรยาวๆๆ ซักอย่างครับ แหะๆๆ





15. My Fair Lady ของออเดรย์ เฮ็พเบิร์น

      ถึง My Fair Lady จะเป็นสุดยอดภาพยนตร์แห่งปี 1964 แต่นักแสดงนำหญิงอย่างออเดรย์ เฮ็พเบิร์น กลับไม่ได้รับการยอมรับเช่นนั้น
      ย้อนกลับมาตั้งแต่การเลือกนักแสดงเพื่อรับบทอีไลซ่า ดูลิตเติ้ล ฮอลลีวู้ดต่างคาดหวังว่าน่าจะเป็น จูลี่ แอนดรูวส์ ผู้รับบทนี้ในฉบับบรอดเวย์ แต่ถึงยังงั้น เจ้าพ่อแจ๊ค วอร์เนอร์กลับมองไปที่ เฮ็พเบิร์นเพราะมองเห็นศักยภาพความเป็นนางเอกหนังทำเงินในตัวเฮ็พเบิร์นมากกว่าเรื่องฝีมือ

      อันที่จริงแล้วแม้กระทั่งตัวเฮ็พเบิร์นเองก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับบทนี้ ทั้งเรื่องเธอไม่มีประสบการณ์ร้องเพลง (ในภาพยนตร์เธอลิปซิงค์เสียงของ มาร์นิ นิกสัน) และอายุของเธอที่น่าจะมากเกินกว่าจะรับบทตัวละครนี้ได้ แต่กระนั้นเธอก็ยังถูกยืนกรานให้รับบทนี้อยู่ดี
        แม้กระทั่ง เร๊กซ์ แฮร์ริสัน ผู้ร่วมแสดงในเรื่องของเธอยังบอกว่า ถึงเฮ็พเบิร์นจะเป็นนางเอกคนโปรดของเขา แต่เค้าก็รู้สึกว่าเป็นการเลือกที่ผิดพลาดที่ให้เฮ็พเบิร์นมารับบทนี้
      เมื่อภาพยนตร์เข้าฉายคำวิจารณ์เป็นไปอย่างหลากหลาย และผลสุดท้ายเธอก็ไม่ได้เข้าชิงออสการ์ในปีนั้น และไม่รู้ว่าเป็นความบังเอิญอย่างไร ผู้ชนะออสการ์นำหญิงในปีนั้นกลับเป็น จูลี่ แอนดรูวส์ ที่เคยเป็นว่าที่นางเอก My Fair Lady มาก่อน โดยแอนดรูวส์ได้ออสการ์จาก Mary Poppins เมื่อผลออกมาเช่นนี้ สื่อเลยพยายามที่จะเล่นข่าวเกี่ยวกับสงครามของสองนางเอก
      แต่ดูเหมือนว่าทั้งคู่มีน้ำใจนักกีฬาพอ(จากรูปคงยืนยันได้ดี) เพราะนอกจากทั้งคู่จะปฏิเสธข่าวดังกล่าว เฮ็พเบิร์นยังส่งดอกไม้ไปแสดงความยินดีกับแอนดรูวส์อีกด้วย


รู้หรือไม่ : ผู้ชนะที่พูดบนเวทีนานที่สุด คือ เกรียร์ การ์สัน ในสาขานำหญิงจากเรื่อง Mrs. Miniver ในปี 1942 โดยใช้เวลาเกือบ 6 นาทีพูดไปเรื่อยอย่างไม่รู้จะจบตรงไหน สร้างความอึดอัดให้คนในงานเป็นอย่างมาก (และนั่นอาจเป็นสาเหตุให้การ์สันไม่เคยชนะออสการ์อีกเลย 5555)





เครดิทงามๆ อีกทีคุณ ผมชื่อ SnooKer นะครับ Pantip

แก้ไขล่าสุด 19 ต.ค. 54 16:35 | ไอพี: ไม่แสดง

#2 | MeganFox | 19 ต.ค. 54 17:39 น.

ขอบคุณมากๆ ค่ะ เป็นไม่กี่กระทู้ที่เราอ่านจนจบ
ขำดีค่ะ อ่านแล้วเพลินดี

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | Watchmen_Since_1985 | 19 ต.ค. 54 18:48 น.

ว้าว กระทู้นี้  สาระ จัด แหะ


อยากไป ร่วมงาน ออสการ์ ถึงที่ จริงๆ สักครั้ง จัง    คงเป็นประสบการณ์ที่ วิเศษ สุดๆๆ สำหรับ คอหนัง

แก้ไขล่าสุด 19 ต.ค. 54 19:29 | ไอพี: ไม่แสดง

#4 | yerblues | 19 ต.ค. 54 19:05 น.

ตายเพราะไม่ได้ไปงานออสการ์ 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | kinim | 19 ต.ค. 54 19:09 น.

ชอบข้อ8 สงสัยต้องไปหาหนังมาดูซะแล้ว 

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | `หมาเป็ดดูโอ้ว. | 19 ต.ค. 54 19:39 น.

เจ๋งงงงงงคะ ปกติไม่ค่อยคอมเม้นทู้บอร์ดนี้ ( เล ว ) แต่ทู้นี้ต้องโพสซํกหน่อย 

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | timeless;3 | 19 ต.ค. 54 19:45 น.

แปะๆสาระเยอะจริงอ่านก่อนนๆ

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | `ด.ช.อีชางซอน? | 19 ต.ค. 54 22:02 น.

แปะๆๆๆ>o< เดี๋ยวมาอ่านตอนเช้า เย้ !

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | `เหมียวง่าว. | 20 ต.ค. 54 20:58 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | ชื่นใจ (ไม่เป็นสมาชิก) | 20 ต.ค. 54 21:23 น.

ขอบคุณจ้า 

ไอพี: ไม่แสดง

#12 | KOPoom_13 | 21 ต.ค. 54 15:10 น.

แปะๆนคะ ขอบคุณค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google