การเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ

15 ส.ค. 58 22:25 น. / ดู 5,956 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
การเลือกตั้ง

เป็นกระบวนการวินิจฉัยสั่งการอย่างเป็นทางการซึ่งประชาชนเลือกปัจเจกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นกลไกปกติที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17[1] การเลือกตั้งอาจเพื่อเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในสภานิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารและตุลาการ และสำหรับรัฐบาลภูมิภาคและท้องถิ่น กระบวนการนี้ยังใช้ในองค์การเอกชนและธุรกิจ ตลอดจนสโมสรจนถึงสมาคมและบรรษัท

โดยมีหลักคุณลักษณะดังนี้
- รักความเป็นธรรมและความเสมอภาค (Adhere to equality and justice)
- ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Use freedom based on social responsibility)
- เคารพกฎหมายและกฎกติกา (Respect law and rule)
- ใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่ (Use right without neglecting duty)
- มีภราดรภาพ และเคารพความแตกต่าง (Adhere to fraternity and respect for differences)
- เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม (Consider public interests)
- มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participate in politics)
ระบอบประชาธิปไตยยังสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้หลายทาง เช่น
      - การเลือกตั้งส.ส. ส.ว.
      - การเลือกตั้งท้องถิ่น นายกอบต. สมาชิกสภาอบตนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลนายกอบจ.สมาชิกสภาอบจ.
      - การออกเสียงประชามติ
      - ร่วมทำประชาคมให้ความเห็นชอบเรื่องต่างๆ
      - เสนอแนะแนวทางการทำงานและการแก้ไขปัญหา
      - การเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ
      - การเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
      - ติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมือง
      - ร่วมทำประชาพิจารณ์
      - ช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองหาเสียง
      - เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
      - บริจาคเงินให้ผู้สมัครและพรรคการเมือง
      - การรวมกลุ่มกันปกป้องสิทธิต่างๆ
      - การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเพื่อประท้วงหรือเรียกร้องเรื่องต่างๆ
      - ช่วยเหลือภารกิจของส่วนรวม
      - สมัครรับเลือกตั้ง
      - การถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น
- คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Think critically)
บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจะต้องได้รับข้อมูลที่เพียงพอเพื่อคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี มีทักษะในการตรวจสอบ การตีความ การสะท้อนความคิด อันนำไปสู่การสร้างความคิดเห็นของตนเอง เรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตน และพร้อมที่จะทบทวนแก้ไขความคิดเห็นของตน ตลอดจนรู้จักตัดสินใจเลือกบุคคล หรือตัดสินประเด็นทางการเมืองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


การเลือกตั้งของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย, วุฒิสภาไทย, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าเมืองพัทยา และผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเลือกบุคคลที่เห็นสมควร


คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
การเลือกตั้งจัดขึ้นภายใต้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อย่างไรก็ตาม มีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่บางประการ

1.มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
2.มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4.ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช, ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, 5.ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนหรือไม่สมประกอบ


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มี 2 ระบบ ได้แก่
ระบบบัญชีรายชื่อ
ระบบแบ่งเขต



ตัวอย่างการเลือกตั้งแบบต่างๆ

https://www.youtube.com/watch?v=1NdTF-O5xZE
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google