[ส่งงาน] สังคมไทย ไร้ความขัดแย้ง

6 ก.ย. 58 16:41 น. / ดู 5,594 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ความขัดแย้งในประเทศไทย

        ความขัดแย้งในสังคมไทยในอดีตมีมาเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ยุติลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525  ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน อันก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535

        แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง “เสื้อเหลือง” กับ “เสื้อแดง” อยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน




บทสัมภาษณ์ของนักเรียนต่อ อาจารย์นพคุณ นวมแหลม ในฐานะประชาชนของประเทศไทย
Q : คุณครูคิดว่าถ้าสังคมไทยไร้ความขัดแย้งจะส่งผลดีอย่างไร
A : คนในประเทศก็จะรักใคร่สามัคคีซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้ไม่เกิดปัญหาวุ่นวายต่างๆเหมือนในปัจจุบันนี้
Q : คุณครูคิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันเป็นยังไง
A : ตอนนี้ในสังคมไทยยังคงอยู่ในช่วงของความไม่เข้าใจกัน การแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดนี้เข้ามาดูแลแล้วก็ปรับทัศนคติของคนไทย แต้ก็ยังไม่เชื่อว่าคนไทยจะสามัคคีกันได้
Q : ในความคิดของคุณครูอยากให้สังคมไทยเป็นอย่างไร
A : อยากให้หันหน้าเข้าหากัน มีปัญหาก็พูดคุยกัน ถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งบ้าง แต่ก็ขอให้อยู่ในกติกา ไม่มีการทำร้ายบ้านเมือง ไม่มีการใช้ความรุนแรง
Q : คุณครูคิดว่าสาเหตุความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดจากอะไร
A : เกิดขึ้นจากในเรื่องของคนบางกลุ่มที่หาผลประโยชน์จากประเทศชาติเป็นการคอรัปชั่น ทำให้คนไทยโดยเฉพาะคนรากหญ้าเข้าใจผิด เกิดการทะเลาะกันในสังคม
Q : ถ้าสมมุติว่าคุณครูได้เป็นนายกรัฐมนตรีคุณครูจะจัดการกับปัญหาของสังคมไทยอย่างไร
A : อย่างแรกก็จะทุ่มไปในเรื่องของการศึกษา สถาบันครอบครัว ครูเชื่อว่าถ้าครอบครัวมีความแข็งแรงแล้ว ปัญหาก็จะเริ่มเบาบางลงแล้วก็จะคลี่คลายลงได้


ความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม
นางสาว ณัฐณิชา : แน่นอนว่าสังคมไม่ว่าที่ไหนก็ตามไม่มีใครต้องการความรุนแรงอันเกิดจากการขัดแย้งหรอกค่ะ และคงจะหายากมากที่การมีปัญหาจะนำพามาสู่การหันหน้ามาคุยกันแล้วปัญหาจะจบลงจริงๆ เพราะต่างคนต่างความคิดเหตุผลไม่เหมือนกันมันก็คือความขัดแย้งที่ยังเกิดขึ้นเสมอ แต่อย่างน้อยหากลดความรุนแรงได้ อยากให้ทุกคนไม่เห็นแก่ตัวค่ะและมีน้ำใจ เพราะความไม่เห็นแก่ตัวเป็นสิ่งสำคัญมากๆที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขและสร้างรอยยิ้มด้วยน้ำใจไมตรี

นางสาว วงเดือน : สังคมไทยกับความขัดแย้งนั้น สาเหตุหลักๆมาจากความคิดเห็นที่ต่างกันของแต่ละคนแต่ละฝ่าย จึงอาจทำให้มีการโต้เถียงกัน และอาจทำให้เกิดการประท้วงขึ้นได้ สังคมไทยถูกแบ่งเป็นฝั่งเป็นฝ่าย คนไทยเกิดแตกสามัคคีกัน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเกิดความตกต่ำหรือชลอตัวลง ภาคอุสาหกรรมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็ลดลง แล้วแบบนี้สังคมไทยจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างไร ถ้าหากคนไทยยังไม่รักกัน ยังเอาความคิดส่วนตัวเป็นใหญ่ มากกว่าความคิดส่วนรวมอยู่แบบนี้ ถ้าหากคนไทยหันมาพูดคุยเจรจากัน ปรับทัศนคติกัน ความขัดแย้งในสังคมไทยอาจลดลงก็เป็นได้

นางสาว รติรส : ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ เนื่องจากการทำงานหรือทำอะไรก็ตามที่ต้องมีส่วนร่วมซึ่งกันและกันมักจะเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเสมอ เพราะต่างฝ่ายก็ต่างมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดการถกเถียงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ดังนั้นถ้าสังคมไทยมีความรักใคร่สามัคคีกัน ฟังเหตุและผลของอีกฝ่ายมากขึ้นจะทำให้ความขัดแย้งลดลงได้ค่ะ

นางสาว ธิดาแก้ว : สาเหตุที่ความขัดแย้งในสังคมไทยยังมีอยู่นั้น มีผลมาจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของคนในสังคม มีการแบ่งพรรคแบ่งสี ทำให้มีการทะเลาะเบาะแว้งกันจึงทำให้เกิดการประท้วงขึ้น และอีกประการหนึ่งที่ดิฉันคิดคือ การคอรัปชั่นของข้าราชการ หน่วยงานรัฐต่างๆ รวมไปถึงนักการเมืองด้วย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยทะเลาะกัน คนไทยในปัจจุบันจะเอาความคิดส่วนตัวเป็นใหญ่ ใครที่คิดต่าง ก็อาจทำให้มีปากเสียงกันได้ แต่สรุปแล้ว การที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งกันนั้น มาจากความเห็นแก่ตัวของคนในสังคมมากกว่าความเห็นแก่ส่วนรวมนั้นเอง ถ้าคนไทยในปัจจุบันหันหน้ามาพูดคุยกัน ปรับความเข้าใจกัน มาร่วมมือกันเพื่อประเทศของเรา อาจจะทำให้ประเทศไทยไร้ความขัดแย้งได้นะคะ ประเทศของเราใครจะมารัก ถ้าหากคนไทยกันเองยังไม่รักกัน ประเทศจะเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างไร ขอให้คนไทยรักกันไว้เถอะค่ะ

นางสาว เพชรชนก : ฉันอยากให้ประเทศไทยมีความสงบสุข ร่มเย็นรักใึคร่สามัคคี ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันมากขึ้น ความขัดแย้งของสังคมไทยก็อาจจะลดลงได้


สรุป : ทางออกที่ดีของสังคมไทยควรจะมองในแง่บวก การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ยึดหลักประชาธิปไตยโดยใช้การเผชิญหน้าของทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกผ่านกลไกในระบบรัฐสภา อีกทั้งสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาระยะยาวด้วยการสร้างความเข้มแข้งให้ระบบพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองหลุดออกจากการครอบงำของกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆและสร้างการเรียนรู้และการเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย โดยกำหนดให้มีการบังคับเรียนเรื่องประชาธิปไตย  ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครองของไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

แก้ไขล่าสุด 6 ก.ย. 58 21:04 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google