วิจารณ์ Alexander

วิจารณ์ภาพยนตร์
  • เมื่อ 8 ธ.ค. 47 20:49

    เซ็ง เสียดายตัง เสียดายเวลา หนังเกย์

  • เมื่อ 8 ธ.ค. 47 12:49

    การวิวาทะกับคุณ ML. Hist ได้ความรู้ดี ชอบครับ อาจจะใช้วาจาก่อกวนไปบ้าง ต้องขออภัยแต่ไม่มีเจตนาลบหลู่ แต่จะชอบแหย่ให้พูด
    ต้องขอแสดงความนับถือในภูมิรู้ของคุณและขอคารวะในอาวุโส(คาดว่าครับ) ผมคงต้องรอหนังเรื่องใหม่จนกว่าจะได้มาเล่นกับคุณ ML. Hist อีก
    แล้วผมจะห้อยหัวคอยใต้ต้นมะเดื่อ หากนานไปจะเมล์ไปเล่านิทานถามปริศนาคงไม่ว่านะครับ
    สุดท้ายขอฝากคำถาม ...หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นไหนจริง/เท็จ ....อะไรคือความจริง...เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นความจริง?...ความสมของเหตุผลคือความจริง?......หนังเป็นความจริง?...
    ความจริงคนซื้อตั๋วเข้าโรงต้องการอะไร?...ความจริงคนทำหนังต้องการอะไร?.... (คำตอบ. เงิน 5555).....

  • เมื่อ 7 ธ.ค. 47 19:29

    ขอบคุณ คุณ v อีกครั้ง ครั้งนี้ผมอาจจะอธิบายเป็นครั้งสุดท้ายในการวิจารณ์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ ผมเห็นประเด็นว่าผมอาจใช้ถ้อยคำไม่กระจ่างพอที่จะแสดงถึงข้อความจริงที่ผมต้องการสื่อสารได้เหมือนดังการใช้ภาษาพูด เพราะผมตั้งใจอธิบายในประเด็นหนึ่งแต่การสื่อภาษาของผมอาจสามารถตีความไปในอีกประเด็นหนึ่งได้ โดยที่ผมไม่เจตนาให้เข้าใจเช่นนั้น ( ผมเข้าใจในคำถามและข้อสงสัยของคุณ v และพยายามอธิบายด้วยภาษาเขียน แต่อย่างว่าการเขียนคงสื่อความหมายได้ไม่ดี ไม่ทันท่วงที และไม่สามารถยกภาพการอธิบายในสิ่งที่ต้องการได้เหมือนการพูด ถ้าผมมีโอกาสได้คุยกับคุณผมอธิบายเพียงนิดเดียวคุณ v จะเข้าใจที่ผมต้องการสื่อทันที แต่การอธิบายด้วยการเขียนนั้นต้องใช้ถ้อยคำมาก และอาจตีความไม่แตกจึงเข้าใจคนละอย่าง อย่างที่โบราณว่าการอ่านหนังสือต้องมีความแตกฉาน ในนิรุกติศาสตร์ คืออ่านภาษาออก อ่านความหมายได้เข้าใจ สื่อความหมายที่ผู้พูดต้องการจะบอกได้อย่างถูกต้อง เข้าใจในประเด็นที่ต้องการจะบอกให้ทราบ แต่ไม่ใช่คำตอบที่อธิบายให้รู้ ที่ผมอธิบายไม่ได้ต้องการให้เชื่อตามหรือเห็นจริงตามนั้น แต่บอกว่าคุณลองคิดดูดีๆ ซิ ประเด็นที่ผมอยากจะบอกที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือตรงนี้ต่างหาก เรื่องที่ผมอธิบายมันเป็นกระพี้ ไม่ใช่แก่น สิ่งที่เป็นแก่นคือนัยที่ผมอธิบายแล้วอธิบายอีก ซ้ำไปมา หลายหน ถ้าใช้ภาษาพูด พูดนิดเดียวเข้าใจเลย แต่ถ้าภาษาเขียนต้องอ่านสิบครั้ง บางทียังไม่เข้าใจเลยก็มี เหมือนสมัยที่คุณๆ เรียนหนังสือกันแล้วอาจารย์ให้อ่านบทความ คุณอาจเจอประโยคที่อ่านรู้เรื่องแต่แปลความไม่ออก แล้วต้องไปหาอาจารย์พออาจารย์อธิบายให้คุณฟัง คุณก็ร้องอ๋อ ว่าอพิโถ อ่านตั้งนาน ไม่เข้าใจ พออาจารย์พูดนิดเดียวก็เข้าใจ อย่างนี้แหละผมถึงว่าภาษาพูดเข้าใจง่ายกว่าภาษาเขียน เขาถึงมีรางวัลเขียนดีเกิดขึ้นเพราะเขียนแล้วอ่านง่าย อ่านเข้าใจ) แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่สำคัญคือการได้รับมุมมองความรู้จากแหล่งข้อมูลและทัศนคติของบุคคลทั่วไปเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตอบปัญหาอื่นต่อไป


    ในประเด็นนี้ ที่คุณ v ว่า เสนอคุณ M.L.Hist
    1.1 การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป (ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลัง
    ตรงนี้ต้องตอบจากใจจริงว่าคุณ v ไม่เข้าใจที่ผมบอก ในประเด็นหนังเรื่องนี้คุณควรเทียบหนังเรื่องนี้กับเรื่องในยุคเดียวกัน เช่นพ่อของอเล็กซานเดอร์ กษัตริย์ฟิลลิปส์ทำลายบ้านเมืองต่างๆตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ หนังอ้างอิงตรงนี้ได้ แต่สำหรับอเล็กซานเดอร์ หนังทำไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเขาได้ทำอย่างพ่อ หนังทำตามเอกสารที่มี เอกสารที่เราพบและใช้อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ย้ำตรงการ “การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม” นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะของอเล็กซานเดอร์ มันจึงเป็นประเด็นสำคัญของเขาที่มีการยอมรับตามหลักฐาน หนังเรื่องนี้ทำตามหลักฐานที่ค้นพบและอ้างอิงได้ตามประวัติศาสตร์ที่มีการศึกษากัน หนังชี้แจงไม่ได้เด่นชัดตามที่คุณบอกว่าควรจะเป็นเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นเพราะมันไม่มีหลักฐานรองรับ “เดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป(ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลัง”ประโยคนี้ถ้าตามความจริงแล้วคุณวัดไม่ได้เพราะหนังเรื่อง สุริโยทัย ไม่อ้างตามพงศาวดาร ในพงศาวดารที่เชื่อถือได้ตามหลักทางประวัติศาสตร์ไม่มี หนังทำไปตามใจของผู้สร้างที่ไม่อ้างอิงตามระบบทางประวัติศาสตร์หนังจึงสื่อได้ทุอย่างที่คุณคิดว่ามันน่าจะมี หนังเหล่านี้จึงเข้าใจง่าย เรื่องเด่นชัด เห็นตั้งแต่ต้นยันจบคลี่คลายทุกอย่าง แต่ไม่ตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้เลย แต่หนังเรื่องอเล็กซานเดอร์ ตัวหนังไม่กระจ่าง เรื่องไม่ราบเรียบคนดูดูแล้วงง ต้องมาหาความรู้เพิ่ม แต่เนื้อหาตรงกับหลักฐานที่ใช้เรียนกันอยู่บนโลกมนุษย์ หนังเรื่องนี้แสดงบทบาทได้เต็มที่ในสิ่งที่มันมีทรัพยากรข้อมูลอยู่ ผมจึงบอว่าหนังเรื่องนี้มันทำได้อย่างเต็มที่ที่จะบอกให้คนดูรู้ได้เท่าที่หลักฐานและข้อมูลที่นำมาใช้ทำหนังจะอำนวยให้ (ถ้าคุณเคยเห็นภาพ Darias ท้ารบกับอเล็กซานเดอร์ คุณจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้ลอกแบบภาพการแสดงบทบาทมาจากภาพเขียนนั้นเลย จึงขอย้ำว่าหนังเรื่องนี้ทำตามหลักฐานและทรัพยากรความรู้ที่เกี่ยวกับอเล็กซานเดอร์ อย่างเต็มที่แล้ว ถ้ามากว่านี้ หรือชัดเจนกว่านี้นั่นคือการบิดเบือนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ประกอบการสร้างภาพยนตร์)
    และถ้าคุณจะเทียบคุณต้องเทียบจากบริบทยุคเดียวกัน แนวความคิดเดียวกัน ไม่ใช่เอายุทธวิธีของสุริโยทัย และ สามก๊กที่คุณเข้าใจ ไปเทียบการยุทธวิธีของอเล็กซานเดอร์ ซึ่งวิธีที่เขาทำในยุคนั้นยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดบอกว่าใครได้ทำอย่างเขา แม้แต่แม่ทัพเอกที่แบ่งแยกดินแดนของอเล็กซานเดอร์เป็นสามส่วน ยังไม่ใช้ยุทธวิธี “การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม”ที่คุณ v ว่านี้เลย ตามหลักฐานที่อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน ผมถึงบอกว่าประเด็นสำคัญที่ผมตอบคุณ v ว่าทำไม อเล็กซานเดอร์กุมใจคนไว้ได้จึงเป็นกุศโลบายนี้ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ชี้ว่าบุคคลในยุคนั้นนอกเหนือจากอเล็กซานเดอร์ทำ แม้แต่พ่อเขายังไม่ทำเลย หนังยังบอกว่ากษัตริย์ฟิลลิปส์ โหดเหี้ยม ไร้ความปราณี จึงกุมอำนาจได้ แต่อเล็กซานเดอร์มีความปราณีต่อบุคคลอื่นๆ จึงกุมใจคนได้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้ และหนังก็ทำตามหลักฐานที่อ้างได้เท่านั้น เกินกว่านี้ไม่ได้เพราะไม่มีข้อมูลยืนยัน เหมือนว่ากษัตริย์ฟิลลิปส์ในเรื่องจะไม่โหดร้ายไปกว่านั้นอีกแล้ว เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้อ้างอิงในการสร้างหนังนั้น บันทึกว่ามีความโหดร้ายเท่านั้น โหดกว่านี้ไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลรองรับ อเล็กซานเดอร์ก็ดุจเดียวกัน ตรงนี้ผมไม่รู้ว่าคุณ v จะเข้าใจอย่างที่ผมต้องการบอกหรือเปล่า อาจไม่ตรงคำถามของคุณ แต่นี่คือสิ่งที่ผมอยากบอกให้คุณทราบว่าศักยภาพของหนังเรื่องนี้เป็นไปตวามฐานข้อมูลที่อ้างอิงได้ หนังดี หรือไม่ดี ไม่ใช่ประเด็นของผมเลย อเล็กซานเดอร์จะเป็นไบ เป็นเกย์ ผมไม่เคยกล่าวถึง ยังมีประเด็นอื่นอีกมากที่ผมไม่ต้องการจะสื่อ ผมเพียงอยากสื่อว่าคนที่ดูหนังเรื่องนี้ และจำเป็นต้องดูภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องต่อๆไปพึงไตร่ตรองด้วยวิจารณว่า“ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เป็นแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์แต่มิใช่ประวัติศาสตร์ จงอย่าพึงนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบอกแก่ใจตัวเองว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราพึงเข้าใจ” เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ตกอยู่ในห้วงปรัชญาที่ว่า “มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ” และ
    "การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร" หนังเรื่องนี้ทำได้เท่าที่มันทำแล้วและเราๆ ท่านก็ได้ประจักษ์และอาจระลึกได้ว่าเราเคยดูหนังเรื่องหนึ่ง หรือเคยมีหนังเรื่องหนึ่งสร้างภาพหนึ่งให้เราเห็นมันอาจสร้างความสุขใจ ความสงสัย ความใคร่รู้ ข้อเปรียบเทียบ มุมมอง ทัศนวิจารณ์ในสังคมยุคหนึ่ง และเป็นความทรงจำครั้งหนึ่งของคุณที่เคยรู้จักอเล็กซานเดอร์ผู้หลับไหล และ M.L.Hist ผู้กำลังจากไป จนกว่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องใหม่ที่มีคุณค่าน่าสัมผัสจะยั่วยวนใจให้ M.L.Hist กลับมาร่วมในทัศนวิจารณ์กับคุณ v ที่น่ารักและเปรื่องปัญญา หามุมมองที่น่าคลี่คลาย ประหนึ่งการแสดงทัศนในภูมิปัญญาของเวตาลและพระวิกรมาทิตย์ แห่งเวตาลปัญจวีสติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) คุณ v เลือกเอาว่าจะเป็นเวตาลหรือพระวิกรมาทิตย์ดี ผมอาจจะต้องเป็นเวตาลไปตลอดห้วงชีวิตเพื่อสร้างมุมมองทางประวัติศาสตร์ให้แก่เด็กยุคใหม่ที่ต้องอยู่ในสังคมอุดมปัญญาที่คนในยุคเราต่างวาดฝันกันไว้ M.L ย่อมาจาก ม.ล. Hist มาจาก History ก็ตามนั้นครับ จาก M.L.Hist “ml_hist@msn.com”

  • เมื่อ 7 ธ.ค. 47 13:27

    เสนอคุณ M.L.Hist
    1.1 การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป(ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลัง
    1.2 การแต่งงานกับชนพื้นเมือง ข้อนี้ยอมรับ แต่ 1) ไม่ได้แต่งกับทุกเมือง 2) หนังน่าจะบอกว่า อะไรทำให้เชื้อพระวงศ์บาบิโลนยอมขนาดนั้น เพราะอเล็กซานเดอร์ ยกทัพมาจึงทำให้พระเจ้า Darius สิ้น ซึ่ง อเล็กซานเดอร์ มีส่วนไม่มากก็น้อย
    - ผมไม่ได้สงสัย ประเด็นมองอดีตในสายตาคนปัจจุบันเลยสักนิด และไม่ได้สงสัยเรื่อง “มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ” แต่มองว่า หนังมีหน้าที่ สื่อสารเนื้อหา(จุดนี้ผมเห็นต่างจากคุณM.L.Hist )เพื่อสร้างอารมณ์บันเทิงและความสนุก แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้สื่อสารเพียงพอถึงเหตุผลที่คุณM.L.Hist อธิบาย (ถ้าอธิบายเพียงพอ ผู้ชม(ส่วนใหญ่)ควรเข้าใจ ไม่ต้องตั้งคำถามหรือกลับมาอ่านตำราอ้างอิง) ตัวอย่างเช่น predator เอาอเล็กซานเดอร์มายังโลกให้ปกครองโลก (จุดนี้ผมไม่ว่า แล้วแต่ใครจะผูกเรื่อง หรือ ตีความประวัติศาสตร์) สุดท้ายอเล็กซานเดอร์โดนเด็กเอาอุนจิเขวี้ยงตาย โดยหนังไม่ได้บอกว่า เด็กคนนั้นคือ อาราเล่แห่งหมู่บ้านเพนกวินที่ชกทีโลกแตก (ผมติตรงจุดที่หนังไม่ได้บอกนี้ต่างหาก)
    สรุป ประเด็นในข้อที่หนึ่งคือ หนังนำเสนอเหตุผลไม่ชัดเจน จนคนดูเกิด Cognitive Dissonance เกิดความไม่ราบเรียบมาขัดอารมณ์ความบันเทิง
    หนุกดีอะคับ คุณ M.L.Hist มาตอบกันอีกนะครับ (ขอตีปริศนานิดนึงนะครับ M.L. = ม.ล. และ Hist = History แม่นบ่ครับ)

  • เมื่อ 6 ธ.ค. 47 22:39

    เพื่อนที่ดูด้วยกันยังไม่คิดนะว่าหนังนำเสนอให้ Alexander เป็นเกย์(อย่างน้อยก็ไบฯ) ... แต่หนังก็ดีนะ มีอะไรคม ๆ ให้เก็บบ้างเหมือนกัน แต่เหมือนกับว่ามันไม่ค่อยกระชับเท่าไร แล้วการขยายความในบางช่วงก็ดูน้อยเกินไปหน่อย แบบว่าดูแล้วต้องถามตัวเองว่าใช่มั๊ย ... -_-"

    มุมมองใหม่ที่อาจเคยเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ได้ ... เพราะมันคืออิงประวัติศาสตร์ ...

  • เมื่อ 5 ธ.ค. 47 19:54

    มีคนบอกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องทีเชื่อไม่คอยได้(มีข้อยกเว้นสำหรับบางเรื่อง) เพราะว่าผู้ชนะจะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าอเล็กซานเดอร์นั้นเป็นเกย์จริงหรือไม่ แต่ในการทำหนังเรื่องนี้ไม่ดีอยู่ 1 อย่าง คือเน้นบทเรื่องความรักของอเล็กซานเดอร์กับชายด้วยกันมากเกินไป แต่ก็๋จริงที่บอกว่าสมัยนั้นการทีชายรักชายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกก็จริง
    สุดท้ายขอบอกว่าสนุกมากๆเลยคะสำหรับหนังเรื่องนี้

  • เมื่อ 4 ธ.ค. 47 23:58

    M.L.Hist ในวันนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ในวันข้างหน้า ทำไมเราจึงไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าคนในอดีตคิดอย่างไง เพราะคนก็คิดเหมือน ๆ กัน คนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน

  • เมื่อ 4 ธ.ค. 47 23:33

    เหอะ ๆ ช่วงนี้รู้สึกโคลินจะเล่นบทที่เป็นเกย์เยอะนะ ที่ดูมาตอนนี้ [ที่กำลังฉายอยู่] ก็ 2 เรื่องละ 1.a home at the end of the world 2. alexander

  • เมื่อ 4 ธ.ค. 47 17:57

    ถึงคุณ Alexandess บางครั้งหนังไม่ได้ได้จำเป็นเสมอไปที่จะต้องดูเอาสนุก การที่จะดูหนังให้สนุกนั้นมีหลายมุมมอง ซึ่งเราคิดว่าคุณคงมองไม่เห็นถึงองค์ประกอบหลายๆสิ่ง ความจริงหนังทุกเรื่องนั้นก็มีทั้งฉากดีและไม่ดี เป็นไปไม่ได้หรอกว่าจะมีหนังเรื่องไหนสร้างออกมาได้ Perfectทุกฉาก บางครั้งการดูหนังถ้าเราหัดคิดให้ลึกๆมองให้กว้างๆ ถึงแม้จะเป็นหนังคุณภาพต่ำขนาดไหนก็อาจดูสนุกได้

  • เมื่อ 4 ธ.ค. 47 15:04

    ขอขอบคุณ คุณ v อีกครั้งหนึ่งในการเข้ามาอ่านประเด็นที่ผมยกเป็นกรณีตัวอย่างต่างๆ ให้ได้เห็นเป็นสังเขป ในการวิจารณ์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ
    ผมคงต้องขออนุญาตอธิบายมูลเหตุบางประการเพื่อคลี่คลายใน 2 กรณีที่ยังคงเป็นสิ่งค้างคาในระบบคิดของคุณ v อีกคำรบหนึ่ง ส่วนการอธิบายของผมจะสมเหตุ สมผล ประการใดนั้นคงขึ้นอยู่กับวิจารณของบุคคลผู้รับรู้ข้อมูลและไตร่ตรองตามกระบวนวิธีคิดของแต่ละบุคคล
    ในกรณีที่คุณ v กล่าวว่า “ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Alexander กำอำนาจไว้ตลอดช่วงเวลานั้น” ผมคงอธิบายตามเนื้อหาของภาพยนตร์ที่แสดงไว้อย่างเด่นชัด ดังนี้
    1. เหตุที่ อเล็กซานเดอร์ สามารถมีพระราชอำนาจปกแผ่กับบุคคลในบังคับบัญชาทั่วไปนั้นในภาพยนตร์ได้แสดงอย่างเด่นชัดในกุศโลบายแห่งการขยายอำนาจและทำให้อำนาจนั้นคงอยู่กับพระองค์ในช่วงต้นรัชกาล คือ
    1) พระองค์จะไม่ทำลายบ้านเมืองที่พระองค์ไปท้ารบแล้วยอมศิโรราบแต่โดยดี คุณจะเห็นได้จากการอธิบายของหนังว่า “แม้ กษัตริย์ Darias ที่ 3 ยอมศิโรราบแก่พระองค์พระองค์ก็จะไว้ชีวิต” คุณจะเห็นว่าราชวงศ์บาบิโลน ของ Darias ที่ 3 อยู่กันครบถ้วนโดยเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ที่เจ้าหญิงแห่งกุหลาบพันดอกแห่งบาบิโลนทรงขอชีวิตไว้ อเล็กซานเดอร์จะไม่ทำอันตรายต่อบุคคลผู้ยอมสยบแก่พระองค์ ตรงประเด็นนี้ผู้คนที่ดูหนังอาจเข้าไม่ถึง มองเห็นเป็นประเด็นที่ไม่แปลกอะไร แต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อธิบายไว้ในสาระสำคัญอันดับต้นเลยทีเดียว ดังนั้นหนังจึงอธิบายไว้อย่างชัดเจน ชัดเจน เสียจนกระทั่ง ขุนศึกในฝ่ายมาซิโดเนียต่างพากันร้อนรุ่ม กลุ้มใจ พาลขัดเคืองกับฝ่ายที่สวามิภักดิ์อเล็กซานเดอร์จนต้องออกมาห้ามทัพกันหลายครั้ง
    2) กุศโลบายสำคัญของอเล็กซานเดอร์ในหลักฐานการบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่หนังได้นำมากล่าวจนกระจ่างชัด แต่บุคคลทั่วไปหาได้ทราบในประเด็นนี้ไม่ (ด้วยอาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ที่ไปดูไม่ได้คาดหวังว่าต้องตีความทางประวัติศาสตร์อะไรมากมาย แต่ถ้าคุณเป็นนักประวัติศาสตร์ คุณจะมีความรู้พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในข้อมูลมากขึ้น ) คือการที่หนังแสดงให้เห็นถึงการที่อเล็กซานเดอร์ต้องแต่งงานกับบุคคลที่ต่างเชื้อชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม ทั้งๆที่ พระนางโอลิมเปียทรงทัดทานอย่างที่สุด หรือทหารหาญของมาซิโดเนียต่างพากันไม่พอใจในการที่จะต้องถ่ายเทความเป็นอารยของมาซิโเนีย และความรุ่งเรืองของอารยธรรมเฮเลนิสติคไปยังคนป่า คนดง โดยการแต่งงาน พระองค์ไม่ได้แต่งเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่ยังจัดการสมรสหมู่ให้แก่ชาวมาซิโดเนียกับชนพื้นเมืองด้วย คุณจะเห็นประเด็นนี้ได้ในตอนที่กองทัพเกิดความแตกแยกในช่วงที่อเล็กซานเดอร์ข้ามฮินดูกูชไปเมืองนิเกียเพื่อท้ารบกับพระเจ้า Porus แห่งอินเดียซึ่งได้ระดมช้างห้าร้อยเชือกมาทำสงคราม ทหารม้าของ อเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยรบกับช้างจึงสู้ข้างไม่ได้ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็สู้กับกองทัพช้างอย่างเต็มความสามารถ เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลากว่า 15 ปีที่กองทหารหอก (phalanx) อันเปี่ยมไปด้วยระเบียบวินัยของพระองค์เจ็บจนบ้าเลือด บุกตะลุยไปทั่ว การรบในวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บ ล้มตายกันทั้งสองฝ่าย ด้วยช้างก็คะนอง ม้าก็บังคับไม่อยู่ (ทุกคนคงเห็นฉากนี้แล้ว และหลายคนก็วิจารณ์กันอย่างสนุกสนาน) ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นงานการศึกษาประวัติศาสตร์ที่รู้กันมาตั้งโขปี ในวงการประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์ชั้นต้น ต้องทำความเข้าใจกับอารยธรรมตะวันตกก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์กุมใจคนด้วยความอลุ้มอล่วยอย่างที่สุด (ในฉากที่บอกแก่แม่ทัพมาซิโดเนียว่า แม้พวกท่านทั้งหลายไม่ไปกับข้า ข้าก็จะไปกับคนเถื่อนพวกนี้เอง) ในหนังคุณจะเห็นตลอดว่าเชื้อพระวงศ์ของบาบิโลนคอยสนับสนุนพระองค์ตลอดมา รวมทั้งแว่นแคว้น ในหุบเขาที่พระองค์ไปเกี่ยวดองไว้ แม้กระทั่งเจ้าต่างๆในแคว้นแถบชมพูทวีปที่ต้อนรับพระองค์ มีแต่แม่ทัพบางส่วนที่อดรนทนไม่ได้กับการกระทำของพระองค์เยี่ยงนั้นต้องถูกประหาร หรือยืนอยู่คนละด้านกับอเล็กซานเดอร์ แต่คนในเผ่าพันธุ์ และแว่นแคว้นอื่นๆ ในหนัง กลับอยู่ข้างอเล็กซานเดอร์ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่หนังเรื่องนี้ชี้อย่างชัดเจน จนคุณๆทั้งหลายไม่ต้องไปอ่านบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอเล็กซานเดอร์เลย เพราะผู้สร้างแทบจะลอกคำพูดทุกคำมาจากบันทึกของปโตเลมีเลยทีเดียว เพียงแต่คนดูหนังอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่เคยแม้จะรู้จัก หรือได้อ่านบันทึกดังกล่าว เพราะว่าท่านทั้งหลายไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ที่ต้องพากเพียรหาคำตอบนั้นจาการดูหนังเพียงเรื่องเดียวแล้วต้องคิดไปทั้งชีวิตของท่าน (ดูจะลงทุนเกินไปสำหรับคอหนังแนวนี้ ไว้ผมมีโอกาสอันควรก็อาจนำเกร็ดต่างๆในประวัติศาสตร์ที่พึงจะรู้ได้ นำมาถ่ายทอดเป็นกรณีๆ ไปก็แล้วกัน) ผมถึงบอกไว้ในการตอบครั้งก่อนๆ ว่า คนดูหนังเรื่องนี้พึงเข้าใจว่าเราไม่สามารถตัดสินคนยุคก่อนได้โดยใช้บรรทัดฐานของคนยุคปัจจุบันเพราะเราไม่มีสติปัญญาพอในการรับรู้และเข้าถึง ดังที่นักประวัติศาสตร์ อย่างที่ทราบกันในใจโดยทั่วว่า "การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร"
    ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อจะบอกว่าหนังเรื่องนี้ได้ชี้ประเด็นตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกและนักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็ยอมรับเป็นตำราว่าอเล็กซานเดอร์ที่เราดูกันอยู่นี้ได้ปฏิบัตพระองค์เช่นนั้นจึงทรงครองใจคนในยุคนั้นได้โดยดุษฎี แต่เป็นเพราะคนดูอาจเข้าไม่ถึงหรือไม่ได้เตรียมใจที่จะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ และก็ไม่มี Plot เหล่านี้อยู่ในความคิด เพราะหนังไม่จำเป็นต้องมา”โพนทนาว่า ดูตรงนี้นะ ข้อนี้ ฉากนี้แหละที่บอกว่า อเล็กซานเดอร์ เรืองอำนาจ หรือว่าฉากนี้นะ อเล็กซานเดอร์เป็น Homosexual แต่หนังได้อ้างตามเอกสารที่เราถือว่าเป็นตำราที่นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปได้ศึกษาและใช้อ้างอิงกันอยู่ คุณๆ ลองไปอ่านงานของ Tarn,William W. Hellenistic civilisation.London : Edward ,1974 หรือ งานของ Renautt,Many.Fire form heaven.London : Longman,1970 ถ้าไม่อยากอ่านภาษาอังกฤษให้ปวดเศียร เวียนประสาท ก็งานของ ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล. อารยธรรมตะวันตก ภาคที่ 1.กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล .2543 เอกสารเหล่านี้อาจจะสร้างมุมมองที่ท่านทั้งลายที่ไม่เคยเยี่ยมกรายเข้าสู่ความทรงจำในหน้าประวัติศาสตร์ ให้ได้เห็นโลกทัศน์ และความรู้ในการใช้วิจารณกับการชมภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องต่อๆไป
    ผมจะยกตัวอย่างเป็นบทสรุปในคำตอบ ข้อที่1 นี้ (ควรใช้วิจารณในการับรู้ข้อมูล) ว่ว คนส่วนใหญ่ที่ดูภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์นั้นมักจะมี Plot หรือภาพร่างในความคิดอย่างคร่าวๆ อยู่ในหัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะรับรู้มาแต่ดั้งเดิม หรือโดยญาณวิถีใด อาทิเคยรู้มาเลาๆว่า อเล็กซานเดอร์เป็น Homosexual หรือทรงเป็นมหาราชนี่นา หรืออคิลลิสในทรอยเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ (ทั้งที่เป็นวรรณกรรมในมหากาพย์อีเลียด ที่ใช้เป็นแนวบรรทัดฐานสังคมใยยุคหนึ่ง ประหนึ่งไตรภูมิพระร่วงของสมัยสุโขทัยที่ใช้เป็นแนวทางในพุทธศาสนิกชนยุคนั้น) หรือสุริโยทัยเป็นวีรสตรีที่รบเพื่อชาติ หรือนายจันหวดเขี้ยวเป็นคนกล้าแห่งบางระจัน เป็นต้น Plot เหล่านี้ทำให้คนดูหนังถูกจำกัดด้วยระบบคิดที่เคยรับรู้มาแต่ก่อน การที่จะรับข้อมูลใดเพิ่ม ไม่ว่าเหมือนหรือแตกต่างจากความรู้เดิมที่มี จึงมีกระทบกันในระบบข้อมูล กว่าจะประมวลผลออกมาก็ทำใจหนักเอาการระหว่าง ความจริง ความเชื่อ เหตุผล ประโยชน์ การเมือง อำนาจ ฯลฯ และอีกสารพัด ดังกรณีเรื่องสุริโยทัยที่เราทั้งหลายทราบกันในยุคนี้ (เล่าคร่าวๆ และกัน เล่ายาวไม่ไหว พิมพ์ไม่เก่ง) ว่าเป็นวีรสตรีที่อาจหาญ รบเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน ดังที่หนังได้ชี้ให้ทุกคนเห็นในยุคนี้ แต่ถ้าคุณลองย้อนไปในความทรงจำที่เคยมีอยู่ในสมัยประถมและมัธยม คุณคงมีข้อมูลที่ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงนำทัพไปประยุทธกับพระเจ้าแปรโดยมีพระสุริโยทัยตามเสด็จด้วย เมื่อช้างศึกปะทะกันช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที พระสุริโยทัยจึงเข้าขวางช้างพระเจ้าแปร จึงถูกพระแสงของ้าวพระเจ้าแปร สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง (ตรงนี้พูดอย่างชาวบ้านก็ว่าเห็นผัวได้รับอันตรายก็เลยเข้าไปกันด้วยความเป็นห่วง มิได้คิดใดอื่น) แต่ปัจจุบันประวัติศาสตร์เรื่องนี้ถูกพลิกจากการเข้าไปช่วยพระสวามีกลายเป็น รบเพื่อชาติโดยไตร่ตรองไว้ก่อนดังที่หนังได้ดำเนินเนื้อหามาตลอดเรื่อง (จะไม่ขอกล่าวในรายละเอียด ยกเป็นประเด็นเท่านั้น) จนทุกวันนี้ทุกคนในชาติได้รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนั้น ความแปรเลี่ยนในการตีความประวัติศาสตร์ชั่วระยะ 10 ปี กลับกลายไปอย่างอัศจรรย์ ถามเด็กๆก็รู้ไดว่าสุริโยทัยเป็นวีรกษัตรีแห่งชาติ แต่พอจะอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขึ้มากลับหาไม่เจอว่าอยู่ฉบับไหน (ในฉบับ เยเรเมียส ฟลานฟลีท [วัน วลิต] เป็นคนร่วมสมัยกับเหตุการณ์ก็ไม่ได้บันทึก ) หรือจะพบชื่อพระสุริโยทัยก็ในพงศาวดารฉบับหลาวงประเสริฐอักษรนิติ์ ก็จะมีสัก 5 บรรทัด เรื่องศรีสุดาจันทร์บันทึกไว้ตั้ง 2 หน้า อย่างนี้เราผู้เป็นชนรุ่นหลังจะเชื่อถือในสิ่งใด ระหว่าง ความจริง ความเชื่อ เหตุผล ประโยชน์ การเมือง อำนาจ ฯลฯ นี่แหละผมจึงต้องย้ำอีกว่า “ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เป็นแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์แต่มิใช่ประวัติศาสตร์ จงอย่าพึงนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบอกแก่ใจตัวเองว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราพึงเข้าใจ” เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ตกอยู่ในห้วงปรัชญาที่ว่า “มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ” และ
    "การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร"
    ขอตอบข้อ 1 ของคุณ v ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ไว้มีโอกาสคงได้ประสบพบกันทางความคิด

มีทั้งหมด 66 วิจารณ์ หน้าที่ 2 [ก่อนหน้า] 1 2 3 4 5 6 7 [ถัดไป]
เขียนวิจารณ์
จะต้องลงชื่อเข้าใช้ระบบก่อน จึงจะเขียนวิจารณ์ได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google+ หรือ Facebook ก็ได้
Facebook | Google+

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • A Millionaire's First LoveA Millionaire's First Loveเข้าฉายปี 2007 แสดง Hyun Bin, Lee Yeon-Hee, Lee Han-Sol
  • LockoutLockoutเข้าฉายปี 2012 แสดง Guy Pearce, Maggie Grace, Peter Stormare
  • Blood and ChocolateBlood and Chocolateเข้าฉายปี 2007 แสดง Agnes Bruckner, Hugh Dancy, Olivier Martinez

เกร็ดภาพยนตร์

  • Entertainment - ถ่ายทำฉากส่วนใหญ่ที่ประเทศไทย โดยนักแสดง อักเชย์ กุมาร ผู้รับบท อัคคีล เคยใช้เวลาหลายปีอาศัยอยู่ในประเทศไทย อ่านต่อ»
  • 22 Jump Street - เคิร์ต รัสเซลล์ กล่าวว่า ไวแอตต์ รัสเซลล์ ลูกชายของเขาปฏิเสธบทในภาคต่อ The Hunger Games เพื่อรับบท ซุก ในภาพยนตร์เรื่องนี้ อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

The Art of Racing in the Rain The Art of Racing in the Rain หมาแสนรู้ที่ชื่อว่า เอ็นโซ (เควิน คอสต์เนอร์) กับเรื่องราวชวนประทับใจของมิตรภาพระหว่างมันและเจ้านายที่รัก เดนนี สวิทต์ ...อ่านต่อ»