"ลูกนอนกรน" เสี่ยง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

24 มิ.ย. 64 01:39 น. / ดู 839 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เด็กนอนกรนอาการนอนกรนในเด็ก…เมื่อลูกนอนหายใจติดขัดอาจหยุดหายใจ
คุณพ่อ คุณแม่ บางท่าน อาจสังเกตเห็นลูกนอนกรน, ลูกนอนหายใจติดขัด, ลูกนอนหายใจเสียงดัง,ลูกกรนเสียงดังซึ่งการที่ เด็กนอนกรนนั้น  เสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกว่า ทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบแคบ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในขณะนอนหลับ จึงส่งผลให้ขาดออกซิเจนขณะหลับ และเกิดการทำงานอย่างหนักของระบบหัวใจและหลอดเลือด



หากมีอาการนอนกรนในเด็กร่วมกับมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  (Pediatric obstructive sleep apnea ; OSA) อาจทำให้มีความผิดปกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ทำให้เติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซุกซนมากผิดปกติ (Hyperactive) บางรายอาจปัสสาวะรดที่นอน และส่งผลให้การเรียนแย่ลง หรือมีปัญหาการเข้าสังคมตามมาได้

นอกจากนี้ถ้าเป็นรุนแรงมากอาจเป็นสาเหตุและความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้ด้วย ภาวะเด็กนอนกรนในไทยมีการทำวิจัยพบว่ามีอาการนอนกรนเป็นประจำราวร้อยละ 10 และในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 1 ของเด็กก่อนวัยเรียนและช่วงประถม พบได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายในอัตราส่วนเท่าๆ กัน

​​

ลูกนอนกรนอย่านิ่งนอนใจ สังเกตอาการเด็กนอนกรนแบบไหนที่ควรพาไปพบแพทย์
อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และควรไปพบแพทย์ ในกรณีที่ลูกนอนกรนดังเป็นประจำ ลูกนอนหายใจติดขัด ลูกนอนหายใจเสียงดังลูกกรนเสียงดังหรือนอนกระสับกระส่าย หายใจลำบาก คัดจมูกเป็นประจำต้องอ้าปากหายใจ มีอาการสะดุ้งตื่นหลังเด็กนอนกรนปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ เหงื่อออกง่าย ช่วงตอนกลางวันเด็กมีอาการง่วงนอน หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมซุกซนมากกว่าปกติ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ความจำไม่ดี ผลการเรียนแย่ลง ซึมเศร้า ไม่เข้าสังคม เติบโตช้ากว่าวัย ท่านควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการเด็กนอนกรนเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม



เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร ?
สาเหตุของอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการเด็กนอนกรนสาเหตุที่พบบ่อยและสำคัญที่สุดในเด็กคือ การมีต่อมทอนซิล และหรือต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของจมูกโตผิดปกติ ซึ่งพบมากที่สุด ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ หรือภาวะอ้วนก็เช่นกัน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น โครงหน้าผิดปกติ เช่น ตลอดจนโรคทางพันธุกรรม ที่พ่อหรือแม่ของเด็กมีอาการนอนกรนอยู่แล้ว ส่งผลให้ลูกนอนกรนด้วย หรือโรคทางสมองและกล้ามเนื้อที่มีผลต่อการหายใจ เป็นต้น

เมื่อลูกนอนกรน : ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย นอนกรนในเด็ก
การที่เด็กนอนกรนไม่ว่าจะเป็น เด็กทารกนอนกรน เด็กเล็กนอนกรน การวินิจฉัยที่ต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกายตั้งแต่บริเวณศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก และช่องปาก การตรวจปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การตรวจเพิ่มเติม เช่น การ X-ray บริเวณศีรษะด้านข้างเพื่อดูความกว้างของทางเดินหายใจ เด็กที่นอนกรนควรได้รับการตรวจการนอนหลับ(Sleep test)เพื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำในโรงพยาบาล หรือที่บ้านตามความเหมาะสม

แนวทางการรักษา เด็กนอนกรนลูกนอนหายใจติดขัดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก
1. การดูแลปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อลดอาการนอนกรนในเด็ก ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน เช่น ใช้เวลานอนพักผ่อนให้พอเพียง ในรายที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ต้องลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. การรักษาด้วยยาเช่น การให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล ซึ่งเลือกใช้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับเด็กนอนกรนในแต่ละราย
3. การรักษาด้วยการผ่าตัดปัจจุบันวิธีที่เป็นมาตรฐานและได้ผลดีมากที่สุด คือการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์(Adenotonsillectomy) เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง แต่มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่ำ และไม่มีผลต่อภูมิต้านทานหรือการติดเชื้อภายหลังน้อยมาก อย่างไรก็ตามท่านต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน หู คอ จมูก ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดผู้ป่วยเด็ก ในบางรายการผ่าตัดช่วยให้อาการเด็กนอนกรนหายดี แต่ไม่ได้ช่วยให้การหายใจดีขึ้น และสภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก  (Pediatric obstructive sleep apnea ; OSA) อาจไม่หายไปด้วย ดังนั้น หลังการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนอนกรนในเด็กควรที่จะพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการทดสอบอีกครั้ง นอกจากนี้ควรดูแล และรักษาสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้
4. การรักษาอื่น ๆเช่น การรักษาโรคร่วม การใช้เครื่อง CPAP ตลอดจนการจัดฟัน ซึ่งอาจเป็นทางเลือกกรณีรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ซึ่งต้องพิจารณาจากอาการเด็กนอนกรนเป็นราย ๆ ไป

ลูกนอนกรน หาหมอที่ไหนดี ?
พ่อแม่ผู้ปกครองค่อนข้างมีความกังวลใจกับ อาการนอนกรนในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ เด็กทารกนอนกรน ซึ่งสามารถนำเด็กไปตรวจรักษาได้ที่โรคพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลที่มีแผนกกุมารเวช หรือตามคลินิกทั่วไป ที่มีเครื่องมือช่วยรักษาอาการนอนกรนในเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันคลินิคที่ให้การเปิดให้บริการรักษาอาการเด็กนอนกรนโดยเฉพาะแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กท่านใดที่มีข้อกังวลในอาการดังกล่าว จึงสามารถพาเด็กๆ ในปกครองของท่านไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาได้

อาการเด็กนอนกรน ลูกนอนหายใจติดขัดลูกนอนหายใจเสียงดังลูกกรนเสียงดังและภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก เป็นโรคที่มีความสำคัญเนื่องจากมีผลเสียต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาของเด็ก อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวนี้สามารถรักษาและได้ผลดีมาก หากได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างชัดเจน และช่วยคลายความกังวลของผู้ปกครองได้ไม่มากก็น้อย



นอนกรนในเด็ก ไม่ใช่เรื่องปกติ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ควรละเลย หมั่นสังเกตการนอนของลูกว่ามีภาวะเด็กนอนกรนหรือไม่ ดังนั้นหากพบว่ามีอาการลูกนอนกรนควรไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจวินิจฉัยนอนกรนในเด็ก และทำการรักษาต่อไป

Cr. https://www.vitalsleepclinic.com/pediatric-sleepapnea/
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 25 มิ.ย. 64 16:26 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google